AMD Ryzen 400 Series ที่ใช้ Codename ว่า Renoir นั้นเพิ่งเปิดตัวและวางจำหน่ายไปไม่ถึงปี ตอนมันมาก็ยอมรับว่ามี Impact ที่สามารถกระตุ้นตลาดของ Notebook กลุ่ม Thin and Light ไปได้พอสมควร เนื่องจากประสิทธิภาพและจำนวน Core/Thread ที่ให้มานั้น เป็นมาตรฐานใหม่ของโน๊ตบุ๊คบางและเบาเลยทีเดียวครับ .. แต่แม้จะเพิ่งเปิดตัวไปไม่นานเท่าไหร่ เราก็ได้เห็น Intel มีการเปิดตัว Processor Codename ว่า Tiger Lake หรือ Gen 11 ของฝั่ง Notebook เข้ามา ซึ่งประสิทธิภาพก็จัดว่าทำได้น่าประทับใจเช่นเดียวกัน ตอนนี้เราจึงได้เห็น AMD วางแผนแก้เกมด้วยการเอา Renoir มา Refresh เปิดตัว 5000 Series ฝั่ง Notebook รหัส U มากระตุ้นตลาดอีกรอบ
โดย Codename ของ Processor รุ่นที่ว่านี้น่าจะเป็น Lucienne และล่าสุดเราก็ได้เห็นคะแนน Benchmark โผล่ออกมาแล้วด้วยเช่นกัน .. หลักๆรายละเอียดก็จะมีอยู่ว่า มันเป็น CPU 8 Core 16 Thread เหมือนกันกับ Gen ก่อนหน้า มีค่า L3 Cache ที่ 8MB ซึ่งถ้าจะให้ดูแบบง่ายๆเหมือนกับการเอา 4700U มาเปิด SMT หรือไม่ก็เอา 4800U มาแก้ไขนิดหน่อยนั่นแหละครับ แต่ยังไงก็ตาม มันยังคงเป็น Processor สำหรับ Notebook กลุ่ม Thin and Light ที่มีค่า TDP แค่ 15w เท่านั้น
ใน Twitter ชายผู้เป็นนักปล่อยข่าวมืออาชีพคนเดิม อย่าง TUM_APISAK ก็ได้ Tweet ผลคะแนนของ Ryzen 5700U ที่มีค่า Base Clock 1.8GHz ที่เทียบเท่ากับ 4800U แต่น้อยกว่า 4700U อยู่ 200MHz อย่างไรก็ตามค่า Boost Clock นั้นจะสูงกว่ารุ่นพี่ Renoir อยู่เล็กน้อย
ทางด้านชิพกราฟฟิคภายในก็เหมือนจะมีการอัพเกรดขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับ Intel IRIS Xe โดย AMD จะอัพค่า Frequency จาก 1,750MHz ใน Renoir มาเป็น 1,900MHz ซึ่งมากกว่าเดิม 8.6% .. ถึงแม้จะดูไม่มาก แต่อย่างน้อยก็อัพมากกว่าเดิมแหละนะ
ผลการทดสอบของมันก็ทำออกมาได้ที่ 1,172 และ 6,595 ในแบบ Single และ Multi Core ตามลำดับ .. ในขณะที่ 4800U ทำได้ที่ 1,031 และ 5,848 ตามลำดับ นั่นทำให้ 5700U มีประสิทธิภาพในส่วนของ Single Core มากขึ้น 13.7% และ 12.8% มากขึ้นในส่วน Multi-Core
การตั้งชื่อ Processor รุ่นใหม่นี้อาจทำให้เราสับสนอีกครั้ง โดย AMD 5000 Series ในฝั่ง Desktop นั้นจะเป็นพื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen ใน Generation ที่ 3 แต่ 5000 Series ของฝั่ง Notebook Thin-and-Light ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ มันเป็น Zen 2 เหมือนกับ Renoir รหัส 4000 .. ใครที่ซื้อแล้วไม่ได้หาข้อมูลก่อน อาจจะคิดว่ามันพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเหมือนกับ Zen 3 ของคอมประกอบ แต่แท้จริงแล้ว มันไม่ใช่อย่างนั้นหน่ะสิครับ
ข้อมูล : Tom's Hardware