สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน อีกหนึ่งปัจจัยที่จะเสริมประสิทธิภาพและการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นคืนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในส่วนที่ติดตั้งระบบปฎิบัติการและโปรแกรมในการใช้งานต่างๆนั้นเอง ซึ่งในสมัยก่อนที่ยังไม่มีโซลิดสเตตไดรฟ์กัน ก็มักจะนิยมนำฮาร์ดดิสก์นั้นมาเชื่อมต่อ RAID เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้อ่าน ,เขียน และ เข้าถึงข้อมูลได้ดีมากขึ้น ซึ่งวันนี้กับโจทย์ของเรากับการเลือกซื้อโซลิดสเตตไดรฟ์ในงบ 1,000 บาท ซึ่งจะทอน 1 บาท หรือ 100 บาท มันก็ยังอยู่ในช่วงงบประมาณของเรานะครับ อย่างที่ทราบกันดีกว่าโซลิดสเตตไดรฟ์ในยุคแรกนั้นมีราคาสูงมาก ก็อาจะเป็นที่เกินตัวไปสำหรับหลายคน แต่ในยุคสมัยของปี 2019 ด้วยเทคโนโลยีและกำลังการผลิต Nand Flash ที่ออกมาทั้ง TLC และ QLC ที่เป็นปัจจัยทำให้ราคาของ โซลิดสเตตไดรฟ์ หรือ SSD นั้นจับต้องได้ง่ายมากขึ้น ถึงกับว่าซื้อ SSD มาทำ External Storage นั้นคงไม่ใช่เรื่องเกินตัวแต่อย่างใด ที่วันนี้เราจะมาพบกับ SSD ในราคาที่ไม่เกิน 1,000 บาท แน่นอนว่าด้วยงบประมาณขนาดนี้จะได้ SSD ในความจุระดับ 120 - 256GB ในแง่ประสิทธิภาพของ SSD ในกลุ่มนี้ก็อย่าไปคาดหวังมากในทางด้านการเขียนข้อมูล แต่ยังไงก็ตามมันก็ใช้งานได้ดีและไหลลื่นมากกว่าฮาร์ดดิสก์จสนแม่เหล็กหมุนอย่างหลายเท่าตัว
มาถึงตัวแรกกับ GX1 SSD จาก TEAM Group เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ขึ้นชื่อมาทางด้าน Memory และ Flash Storage ที่ GX1 นั้นจะเป็น SSD ขนาดความจุ 120GB ประสิทธิภาพในการอ่าน 500 MB/s และ การเขียน 300 MB/s เอาเป็นว่าถ้าหาร้านขายออนไลน์บางเจ้าที่จัดโปรโมชั่น ประมาณ 500 บาท ก็พอเป็นไปได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 2 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวที่ผมเลือกให้เวลาประกอบคอมบ่อยมากกับ GALAX Gamer V SSD กับความจุ 120GB แบรนด์นี้ขึ้นชื่อมาจากกราฟฟิกการ์ด แต่ก็ยังมีการออกมาของ Memory และ Flash Storage ประสิทธิภาพสูงตอบโจทย์สายเกมมิ่ง โดยส่วนตัวที่ผมชอบในเวลานี้ถ้าเทียบกับกงินที่จ่ายไป แต่ได้ประสิทธิภาพในการเขียน 520 MB/s และ การเขียนในระดับ 4XX MB/s ถ้าเทียบกับราคาแล้วถูกใจความแรงดีครับ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 3 กับ APACER AS340 PANTHER ความจุ 120GB ที่แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่น่าสนใจกับ Memory และ Flash Storage โดยราคานั้นของ ส่วนตัวที่ผมถูกใจกับตัวนี้มันก็คือทางด้านประสิทธิภาพนั้นแหละ การอ่าน 550 MB/s และ การเขียน 500 MB/s กับ SSD ความจุ 120GB ทำได้ขนาดนี้เอาใจผมไปเลย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 4 WD Green SATA SSD 120GB แน่นอนว่าในภาพนั้นเราจะเห็นทั้งแบบ SATA 2.5 " และ SATA M.2 2280 แต่ด้วยราคากับชื่อชั้นของแบรนด์ WD ที่เป็นเจ้าพ่อวงการ Storage มาอย่างยาวนาน ก็ต้องเป็นตัวเลือกที่ผมไม่พลาดไปได้ ถึงแม้จะเป็น SSD ราคาแบบหลักร้อยในความจุ 120GB มันน่าสนใจกับการนำ NAND Flash มาทำเป็น Cache เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนข้อมูล ส่วนประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลก็ยังสามารถแตะสูงสุดที่ 545 MB/s ได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 5 Maxtor Z1 SSD ความจุ 240GB หลายๆคนนั้นคงจะงงว่าแบรนด์ Maxtor นั้นมันเป็นใครมาจากไหน ก็ต้องบอกเลยความสมันก่อนในยุคของฮาร์ดดิสก์แบรนด์ Maxtor เป็นอีกแบรนด์ที่ทำได้ดีมากในตลาด แต่ภายหลังได้มีการควบรวมกิจการเข้ากับ Seagate ครับ โดยส่วนตัวไม่มีอะไรมาก สมัยก่อนผมนี้ชอบ HDD Maxtor มากแค่นั้นเอง แต่อีกอย่างนึงด้วยความที่มันเป็น SSD ในระดับความจุ 240GB ที่ราคาจับต้องได้ง่าย ในแง่ของประสิทธิภาพนั้นการเขียน 540 MB/s และ การเขียน 425 MB/s ถือว่าทำได้ดีทั้งทางด้านราคา : ความจุ : ประสิทธิภาพ แต่ในบ้านเราก็พอหาซื้อได้จากบางร้าน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 6 ADATA ที่เรารู้จักกันดีกับอีกหนึ่งเจ้าพ่อในวงการ Memory และ Flash Storage ซึ่งในตระกูล SU630 เป็นกลุ่มต้นๆที่ใช้ NAND Flash QLC ที่ทำให้ราคาของ SSD นั้นจับต้องกันได้มากขึ้นนั้นเอง ถึงแม้ ADATA SU630 จะมากันแบบเปิดหัวหาดที่เน้นราคาถูก แต่ประสิทธิภาพที่ยังสามารถทำได้ในระดับ อ่าน/เขียน 520/450 MB/s สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 7 BIOSTAR เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มาสไตล์ของความคุ้มค่าที่สบายกระเป๋ากับ S100 ความจุ 256GB ในราคาไม่ถึงพันบาท แน่นอนว่ามันจะแพงกว่าพวกความจุ 240GB แต่ด้วยส่วนต่างที่เพิ่มมา 16GB ในจำนวนเงินที่ไม่มากนั้น ก็จัดได้ว่าถูกใจผมครับ ทางด้านประสิทธิภาพที่ยังทำออกมาได้ดีในระดับ อ่าน/เขียน 540/460 MB/s จัดได้ว่าน่าสนใจดี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตัวที่ 8 GX2 SSD จาก TEAM Group ความจุ 256GB ซึ่งจริงๆแล้ว GX2 และ GX1 นั้นราคาไม่ต่างกันมากนัก แต่เหตุผมที่เลือก GX2 มาเป็นตัวสุดท้ายเพราะด้วยความจุ 256GB พร้อมกับราคาพันนึงมีทอนเนี่ยแหละครับ แต่ตัวแรกที่เลือก GX1 เพราะเน้นราคาถูกสุดไว้ก่อนนั้นเอง ประสิทธิภาพในการอ่าน 500 MB/s และ การเขียน 400 MB/s เทียบกับชื่อชั่นแบรนด์และเงินที่จ่ายไป ด้วยความแรงระดับนี้ก็ยังคงน่าสนใจดี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
Conclusion
วันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกของโจทย์ในการเลือกซื้อโซลิดสเตตไดรฟ์ในงบประมาณไม่เกินหนึ่งพันบาท ซึ่งในกรณีปกติตามหลักการแล้วโซลิดสเตตไดรฟ์ความจุยิ่งเยอะประสิทธิภาพสูงสุดที่ทำได้มันก็จะดีกว่าอย่างแน่อน แต่เมื่อถ้ามีงบประมาณที่จำกัดแน่นอนว่าหลายๆคนนั้นจะมองหาทางออกหรือทางเลือกที่ดีที่สุด จากที่ผมเขียนมาโดยส่วนตัวนั้น ก็ไม่ใช้จะเลือกง่ายๆ ก็เลือกซื้อกันตามกรอบงบประมาณที่มีหรือจ่ายไหวนั้นดีที่สุด แต่ในบางกรณีอย่างเช่นเพิ่มอีกไม่มาก แต่ได้ความจุดที่สูงขึ้น คงเป็นการเพิ่มที่เติมเต็มในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นนั้นเอง สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ