สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน เราก็ยังคงอยู่กับเรื่องราวของ 12th Gen Intel Core ที่ได้เปิดตัวกันไปยังอุ่นๆกันอยู่ เท่าที่ผมทราบมาว่าเมโมรี DDR5 ที่มีขายในท้องตลาดนั้นจะเป็นการใช้ชิพ Micron/Spectek เป็นหลัก แต่อันที่จริงยังคงมีชิพ Samsung และ SKHynix แต่กำลังการผลิตที่ต่ำจนแทบไม่สามารถผลิตเป็นเมโมรีโมดูลลงสู่ตลาดในปริมาณมากได้ในเร็ววันนี้ โดยวันนี้ผมได้แรมลับที่เคยได้พูดไปเมื่อสองบทความที่แล้ว ซึ่งนั้นก็คือแรมจาก TeamGroup's แต่ไม่ได้ส่งมาจาก TeamGroup's โดยตรง กับแรมในกลุ่มเกมมิ่งในแบรนด์ T-Force รุ่น Delta RGB DDR5 ความจุ 32 GB ด้วยความเร็วที่ระดับ 6000 Mhz ตามค่ามาตรฐานในโปรไฟล์ XMP 3.0 ที่ค่าทามมิ่ง CL40 โดยใช้ไฟเลี้ยง VDD และ VDDQ ที่ 1.35 V ความจุในชุดสองแผงที่ 32GB ส่วนตัวนี้จะแรง และ ทำใหัประสิทธิภาพการใช้งาน 12th Gen Intel Core ได้น่าสนใจมากขึ้นเพียงใด
ในส่วนของเมโมรี DDR5 นอกจากหลักการแล้วถ้าพูดง่ายมันเป็น Dual Channels ภายในแผงเดียวกัน ที่จะมีเทคโนโลยี XMP 3.0 ดูจากชื่อมันก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมเท่าไร แต่แค่ปรับไฟเพื่อการโอเวอร์คล็อก แรมไฟเลี้ยงมีจุดที่ต้องปรับมากขึ้น เปรียบเทียบจุดของความแตกต่างระหว่าง XMP1.0 – 3.0 สิ่งที่ผมถูกใจคือ เขียนโปรไฟล์เองได้เนี่ยแหละครับ ถูกใจสุดแล้ว
Package & Bundled
แพคเกจในแบบกล่องกระดาษแข็ง พิมพ์สีและลวดลายมาอย่างสวยงาม ด้านหน้าบ่งบอกความเป็น T-Force รุ่น Delta RGB DDR5 อย่างชัดเจน
Design & Detail
มาดูหน้าตาของ T-Force Delta RGB ภายนอกจะเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุด คงหนีไม่พ้น Heatspeader ที่มาแบบอลังการมีความสูงของ Heatspeader มากกว่า PCB ทำให้ผมนึกถึงอารมณ์โลโก้นกเหยี่ยวในหนังขบวนการ 5 สี ที่เคยดูสมัยเด็กๆ วัสดุ Heatspeader อลูมิเนียมที่มีการขึ้นรูปมาทำได้ดี ผิวสีดำแบบด้าน ใส่ลวดลายความเป็น Delta RGB การเล่นกับฮีทซิงค์ขนาดใหญ่นั้นต้องเช็คและตรวจสอบชุดระบายความร้อนด้วย เล่นชุดน้ำสบายๆ ไม่ม่ปัญหาอะไร
มาถึงในส่วนด้านหลังกันบ้าง Heatspeader ที่จะเป็นรูปแบบเดียวกันด้านหน้า พร้อมกับฉลากบ่งบอกข้อมูลประจำตัวของ T-Force Delta RGB ดูจาก S/N คงพอจะเดาได้ว่ามันคือชิพจาก SKHynix
การยึดติดกับระหว่างเมโมรีโมชิพและ Heatspeader จะเป็นการใช้แผ่นระบายความร้อนแบบการในถ่ายเทความร้อน ที่การออกแบบของ Heatspeader ถือว่าทำออกดี ที่ความนาบแนบกันดีทั้งสองฝั่ง โดยส่วนตัวไม่ได้จับแรมจากค่าย TeamGroup's มาหลายปี
PCB 8 Layer ครับ Heatspeader มีการใส่จุดโปร่งแสงเป็นตัวอักษร "R" ก็ดูสวยงามดี
ด้านบนนั้นพื้นที่ส่องแสงไฟ RGB พลาสติกสีขาวนม ทำให้แสงที่ออกมานั้นไม่สว่างมากเกินไป โดยยังได้ความเนียนของแสงสีอยู่
ชุด Dual Channels 32GB เท่ากับว่า 1 แผง = 16GB ครับ ตามหลักการของ Intel หรือ ผู้ผลิตแรมจะเรียกว่า Dual Channels หรือ Kit of 2 ถึงแม้หลักการทำงานภายในเมโมรีโมดูล 1 แผง จะทำงานแบบ Dual Channels ก็ตาม
การปรับแสงสีสามารถปรับได้จาก Software RGB ของเมนบอร์ด ซึ่งเมนบอร์ด ROG ASUS ก็รองรับด้วยเช่นกัน
พร้อมโปรไฟล์ JEDEC ที่มีมา 10 ชุด รองรับความเร็วที่หลากหลาย ถ้าเป็นการใช้งานแรม 4 แผง ความเร็วมาตรฐานจาก 4800 จะถูกลดลงมาที่ 3600
ครั้งแรกที่ได้จับแรม DDR5 ที่ใช้ IC จาก SKHynix มันสามารถทำการโอเวอร์คล็อกได้ทั้งบัสสูงแล้วเล่นทามมิ่งในระดับ 36-38 ได้สบายๆ รองรับค่าโปรไฟล์ XMP 3 ชุดตามมาตรฐาน ถ้าเปรียบเทียบกับแรม DDR5 5200 ที่ใช้ชิพ Micron/Spectek โปรไฟล์ XMP 3.0 ไฟ VPP ใช้ที่ 1.8V แต่ T-Force Delta RGB ในโปรไฟล์ XMP 3.0 ไฟ VPP ใช้ที่ 1.9V ส่วน VDD และ VDDQ มันสูงกว่าอยู่แล้ว
การเล่นบัสสูงนั้น มีความจำเป็ตต้องจัดไฟเลี้ยงมากกว่า 1.35V ซึ่ง แรม DDR 5 นั้นจะมี IC ควบคุมที่ตัวโมดูลเอง แล้วจำเป็นต้องเปิดโหมด High DRAM Voltage ที่เมนบอร์ดด้วย
System Setup
- CPU : Intel Core i9 12900k
- VGA : ASUS TUF Gaming GeForce RTX3060
- CPU Cooler : ROG Ryujin II 240
- SSD : Kingston NV1 1TB
- PSU : ROG THOR 1200 Watt
- OS : Windows 11 Pro
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Overclocked @ 6318Mhz CL42-42-42-76 (VDD+VDDQ 1.45V)
สเป็คเดิมๆที่บัส 6000 ยังไม่รู้สึกสะใจนัก เลยจับลากมาที่ 6400 ด้วยการจูนลวกๆ เล่นแบบ Play Safe ดัน CL ไปที่ 42 ใช้งานได้ไม่มีปัญหาอะไร
Overclocked @ 6400Mhz CL42-42-42-76 (VDD+VDDQ 1.45V)
ขยับมาที่ 6400 Mhz ประสิทธิภาพโดบรวมของระบบทำออกมาได้ดีขึ้น ลาก BCLK ช่วยเพิ่มความแรงและไหลลื่นในการใช้งาน
Overclocked @ 6423Mhz CL42-42-42-76 (VDD+VDDQ 1.45V)
หลังจากจูนไฟอีกเล็กน้อย ก็เลยมาทำการทดสอบเพิ่มเติม เรียกได้ว่าความเร็วระดับ 6423 Mhz เนื่องจากการจูนต่างยังไม่ค่อยลงตัวนัก การทดสอบบางอย่างยังดูน้อยกว่าบัส 6400 Mhz เสียอีก
Conclusion
T-Force Delta RGB กับแรม DDR5 ที่ค่าความเร็วเคลมจากโรงงานที่บัส 6000 Mhz จากการใช้งานโปรไฟล์ XMP ก็ไม่ต้องเสียเวลาปรับแต่งอะไรมากนัก แต่การใช้งานจากที่ผมได้ทดสอบตัวนี้มา ถ้าเจอปัญหาบูทไม่ติด ลองปรับ VDD และ VDDQ ขึ้นอีกเล็กน้อย ค่าอื่นไม่ต้องไปยุ่งอะไร ไม่แน่ใจว่าปัญหานี้มันเกิดจาก Bios เมนบอร์ดที่ยังรอการปรับแก้ไข จากที่เคยเล่นแรมมาเยอะนับไม่ถ้วน การเล่นแรมเกมมิ่งหรือการโอเวอร์คล็อก อาการนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะเป็นการเปิดใช้ XMP ก็ตาม แค่เพิ่มไฟอีกเล็กน้อยอย่าไปคิดมาก ส่วนทางด้านประสิทธิภาพของ T-Force Delta RGB เรียกได่ว่าค่าความเร็วเดิมๆบัส 6000 Mhz มันสามารถช่วยเพิ่มยกระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ใช้หัวใจหลัก 12th Gen Intel Core ได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งยังสามารถปรับโอเวอร์คล็อก ถ้านับที่ส่วนต่างอาจมองว่ายังไม่สูงมากนัก แต่ปรับแค่นี้ด้วยการที่เคยเล่นแรม DDR5 คู่อื่นมากก่อน เลยใช้เวลาปรับแต่งลองไล่ไม่กี่นาที ก็ดันไม่ยากครับ ด้วยการที่ T-Force Delta RGB ตัวที่เราได้รับมาใช้ชิพ SKHynix ที่เล่นบัสระดับ 6400 ได้ง่ายมาก แต่ถ้าต้องการความแรงแบบที่สุดลองไล่ทามมิ่งหลักให้ต่ำลงกว่า 40 ก็ประมาณ 36-38 มันสามารถช่วยทำให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ถ้าควบคู่กับบัสแรมสูง การใช้งานไหลลื่นขึ้นแน่นอน โดยยังไม่ได้ไปยุ่งกับค่าความถี่สัญญาณนาฬิกาอื่นๆ ถ้าเล่นโอเวอร์คล็อกทั้งระบบ CPU ,Cache .ฺBCLK และ Memory สูงขึ้นไป มันช่วยยะระดับประสิทธิภาพในการประมวลผลได้สูงขึ้นนั้นเอง เอาเป็นว่าจะหาซื้อแรม DDR5 ในไทยได้ไหม เท่าที่ผมได้ยินมาว่าต่อหนึ่งแบรนด์มีจำนวนที่ไม่สูง ต่างประเทศบางแบรนด์ของหมดตั้งแต่ 12th Gen Intel Core วางขายด้วยซ้ำ ถ้าคิดจะอัพเกรดมาใช้ 12th Gen Intel Core โดยส่วนตัวคิดว่าการเล่นแรม DDR5 คงเป็นการเสียเงินที่เจ็บแต่จบที่สุด ก็เอา T-Force Delta RGB มาเป็นทางเลือกในการตัดสินใจดู สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.