ฟีเจอร์เด่นๆของ Processor Ryzen ใน Generation ที่ 3 และ Mainboard ตระกูล 500-Series ที่เกิดมาคู่กันนั้นก็คือ PCIe 4.0 อย่างที่เราทราบกันไปก่อนหน้า ซึ่งทาง AMD เองก็ระบุมาว่าถึงแม้ Ryzen Gen 3 จะสามารถใช้กับบอร์ด Gen ก่อนหน้าเช่น 400-Series ได้ แต่ถ้าอยากใช้ PCIe 4.0 แล้วนั้น ต้องจับคู่กับ Mainboard ชิพ 500-Series เพียงอย่างเดียว เนื่องจากบอร์ดรุ่นใหม่นี้จะมีมาตรฐานสูงพอที่จะรองรับ Bandwidth ที่เพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตามเราได้เห็นผู้ผลิต Mainboard หลายๆเจ้าที่ไม่ทำตามคำแนะนำของ AMD อย่างเช่น ASUS, BIOSTAR และ GIGABYTE โดยได้ทำการเปิดฟีเจอร์ PCIe 4.0 ให้กับ Mainboard รุ่นเก่าๆของตัวเองที่ไม่ได้ใช้ชิพตระกูล 500-Series ทำให้เหล่าผู้บริโภคก็ต่างเฮกันไปตามๆกัน เพราะเหมือนจะประหยัดไม่ต้องซื้อ Mainboard รุ่นใหม่แล้วหน่ะสิ
แต่ตอนนี้เหมือนว่าโชคของเราจะหมดไปแล้วครับ เพราะด้วย Firmware ล่าสุดของบอร์ด Gigabyte เราก็ได้เห็นใน Changelog ว่าการรองรับ PCIe 4.0 นั้นถูกถอดออกไปแล้ว โดยตรงนี้ก็จะเริ่มจาก BIOS F42a และเหมาะรวม Mainboard ที่ไม่ใช่ 500-Series ทั้งหมด ตั้งแต่ X470 ไปจนถึงรุ่นราคาประหยัดอย่าง A320 เลยหล่ะ
ตรงนี้ก็อาจจะเป็นผลจากการอัพเดท Microcode AGESA 1.0.0.3 ABB ที่ทาง AMD ปล่อยออกมาปิดฟีเจอร์ดังกล่าว ซึ่งรวมอยู่ใน Firmware ของ Mainboard อันล่าสุดด้วย .. หรืออาจจะเป็นทางเลือกของ Gigabyte เองที่ตัดสินใจปิดฟีเจอร์ดังกล่าว เพราะสาเหตุบางอย่าง .. อย่างไรก็ตาม ถ้าการอัพเดท Microcode ของ AMD นั้นมีผลตรงนี้ เราก็อาจจะได้เห็นแบรนด์อื่นๆที่ยอมให้ผู้ใช้เปิด PCie 4.0 กับบอร์ดรุ่นเก่าจำเป็นต้องปิดฟีเจอร์นี้ในอนาคตเหมือนกัน ยังไงก็ต้องรอดูต่อไปครับ ว่าค่ายอื่นเมื่ออัพเดท BIOS แล้ว มันจะหายไปด้วยหรือไม่
ส่วนทางแก้สำหรับคนที่ไม่อยากให้ฟีเจอร์นี้หายไปหน่ะเหรอ ? ก็มีครับ แค่ไม่ต้องอัพเดท BIOS เป็นเวอร์ชั่นใหม่ ปล่อยให้มันอยู่ในเวอร์ชั่นที่ยังไม่ได้มีการตัด PCIe 4.0 ออกไปเท่านั้นเอง .. แต่ก็ลองชั่งน้ำหนักกันดูครับ ว่าเห็นความสำคัญตรงไหนมากกว่ากัน อยากใช้ PCIe เวอร์ชั่นใหม่ (ต้องมี Hardware มาใช้คู่กันด้วย) หรือว่าอยากได้ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด , Bug Fix, และการปรับปรุงประสิทธิภาพ / ส่วนตัวแอดมินคิดว่า ถ้าไม่ได้มีอะไรที่เป็น PCIe 4.0 อยู่ในระบบก็ยอมอัพไปดีกว่า เพราะย้งไงเราก็ไม่ได้ใช้อยู่ดี แถมเราได้แพทช์ล่าสุด ทำให้ระบบทำงานเต็มประสิทธิภาพด้วย
ที่มาของข้อมูล : Tom's Hardware