สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้อง เบื่อกันมั้ย เจ้าโควิด ทำให้คนอยู่ติดบ้านกันมากขึ้น ไปไหนกันไม่ได้มา 3 ปีกว่าแล้ว ตอนนี้ก็ได้แต่นั่งรอเวลาให้ทุกอย่างกลับมาเป็นเหมือเดิมกัน พ่อแม่พี่น้อง อย่าเครียดกันเลย เครียดกันไปก็ไม่มีประโยชน์ มาหาอะไรทำในระหว่างรอเวลาให้ทุกอย่างดีขึ้นกันดีกว่า
วันนี้กระผมนายทองดี จะขอพาเพื่อนๆ ก้าวสู่ทำเนียบนักฟังหูทองกันดีกว่า วันนี้เรามาเอาเจ้า NUC ตัวจิ๋วมาทำเครื่องเล่นเพลง ระดับ Hi-End กัน โดยจะทำให้ NUC ของเรา ทำงานบนอุปกรณ์เฉพาะ เซิร์ฟเวอร์ Roon ด้วย ROCK (Roon Optimized Core Kit) เริ่มงงกันแล้วใช่มั้ย Roon คืออะไร กระผมขออธิบายสั้นๆให้ฟังกันตามนี้ครับ
Roon คืออะไร?
Roon เป็นซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์ม Music Server การจัดการเพลงที่ทรงพลังซึ่งพัฒนาและสนับสนุนโดย Roon Labs Roon จะเข้ามาจัดระเบียบเพลง ไม่ว่าจะเป็นการ จัดหมวดหมู่ ใส่ภาพปก รวมไปจนถึงการปรับแต่งให้ไฟล์เพลงมีคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด โดยจะแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1.Roon APP จะเป็น software ทำหน้าที่เป็น รีโมท ที่ติดตั้งลงบน Smart phone หรือคอมพิวเตอร์ จะใช้เป็นตัวแสดงผลและเรียกดู ค้นหา และเล่นเพลง ควบคุมส่วนต่างๆ เพื่อส่งไปยัง Roon Core โดยผ่านทาง Wifi
2.Roon Core เปรียบเสมือน สมองของระบบ ทำหน้าที่จัดการไฟล์เพลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากในเครื่องเอง หรือไฟล์จาก ผู้ให้บริการ Streaming ต่างๆ และยังมีหน้าที่ในการเล่นเพลงอีกด้วย โดยจะรับคำสั่งมาจาก Roon APP (Remote) และที่เราจะทำในวันนี้ก็คือส่วนนี้แหละ
3. Audio Device จะเป็น Hardware ที่รับคำสัญญาน ที่เป็น Digital มาจาก Roon Core แล้วทำการแปลงให้เป็น Analog เพื่อส่งเข้าสู่ระบบขยายเสียงและลำโพง ต่อไป
Roon ได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในฐานะแพลตฟอร์มเพลงสำหรับนักฟังเพลงระดับ Hi-End โดยเฉพาะ โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่จัดการเพลงที่ให้คุณภาพเสียงที่น่าทึ่ง โดยทาง Roon Labs และทางวิศวกรจากทาง Intel ได้ร่วมกันพัฒนา NUC โดยการนำมาปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ชื่อว่า Roon Nucleus ซึ่งมีราคารวมค่าสมาชิก Roon หนึ่งปี ราคาเริ่มต้นที่ USD$1,459 สำหรับ Nucleus และ USD$2,559 สำหรับ Nucleus Plus(เฉพาะราคาสมาชิกรายปีอยู่ที่ $119.88) เรียกว่า ราคาเอาเรื่องเลยทีเดียว ซึ่งทำยังไงกันดีสำหรับคนมีรสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำอย่างเรา ซึ่งแน่นอนว่า อัตราค่าสมาชิก รายปีที่ $119.88 หรือ ตลอดชีพ อยู่ที่ $699.99 ไม่น่าที่จะทำอะไรได้ นอกจากต้องก้มหน้าจ่าย สำหรับการใช้งานที่มีคุณภาพ ซึ่ง เรายังสามารถที่จะทดลองใช้ฟรีได้ แต่บอกไว้ก่อนนะครับ ถ้าไม่พร้อมที่จะจ่ายอย่าคิดไปลองเลย 5555
Roon Nucleus (ภาพจาก https://roonlabs.com/nucleus)
สำหรับ Roon Nucleus เราพอที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ โดยการนำเอา NUC มาติดตั้ง ROCK (Roon Optimized Core Kit)โดยรันอยู่บน Roon OS (เป็นระบบปฏิบัติการบน Linux) ซึ่ง ฟรีอย่างสมบูรณ์แบบ (แต่ก็ยังต้องจ่าย การเป็นสมาชิก Roon อยู่เหมือนเดิม) ซึ่งแน่นอนว่า ROCK อาจจะไม่มีคุณภาพเทียบเท่ากับ Roon Nucleusได้ แต่ก็ยังเพียงพอ สำหรับการเริ่มต้น สำหรับเราๆ
ROCK ต้องการ NUC เริ่มต้นที่ NUC10i3FNH แรม 4GB และ 64GB M.2 SSD ซึ่งโมเดลที่ทาง Roon Labs แนะนำมีดังต่อไปนี้
NUC5i3xxx
NUC5i5xxx
NUC6i3SYx
NUC6i5SYx
NUC7i3BNx
NUC7i5BNx
NUC7i7BNx
NUC7i3DNx
NUC7i5DNx
NUC7i7DNx
NUC8i3BEx
NUC8i5BEx
NUC8i5BEx
NUC8i7BEx
NUC10i3FNx
NUC10i5FNx
NUC10i7FNx
แต่สำหรับกระผม ขอเลือกใช้ NUC8CCHKR ซึ่งใช้ Intel® Celeron® N3350 และมีแรม DDR3 4GB ซึ่งมาในแบบ Fanless เพื่อที่จะไม่มีเสียงรบกวนจากพัดลมระบายความร้อนมากวนใจในขณะที่กำลังใช้งาน ซึ่งไม่มีอยู่ใน List ของทาง Roon ว่าจะใช้งานได้ ก็ต้องมาลองกันดูว่า สามารถที่จะติดตั้ง ROCK (Roon Optimized Core Kit) ได้หรือไม่ ในการติดตั้ง ควรที่จะมีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องเพื่อใช้ในการจัดการไฟล์อิมเมจ และ USB flash drive ขนาดสัก 4 GB ก็น่าจะเพียงพอ และ SSD M.2 ขนาดไม่ต่ำกว่า 64 GB ที่เราจะติดตั้งลงใน NUC ของเรา ถ้าต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลสำรองไว้จะใส่ SSD ขนาด 2.5" SATA เพิ่มก็ไม่ว่ากัน แต่เราก็สามารถที่จะนำ USB Ext.Drive มาต่อเพิ่มได้อยู่แล้ว
เริ่มขั้นตอนแรก โดยการไปโหลดไฟล์ติดตั้ง ROCK
ที่นี่ ไฟล์จะเป็นนามสกุล .img.gz โดยไม่ต้องทำการแตกไฟล์ เราจะใช้ไฟล์นี้เลย
ขั้นตอนที่สอง เราจะทำการเขียนอิมเมจไฟล์ลงบน USB flash drive ที่เราเตรียมไว้ โดยใช้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่เราเตรียมไว้เช่นกัน เราใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows นะครับ ให้ไป Download และติดตั้ง Etcher จากเวบ
https://etcher.io/ จากนั้นก็เราทำการให้โปรแกรมจัดการนำไฟล์ .img.gz ที่เราได้ Download มาก่อนหน้านี้ ให้เขียนไปยัง USB flash drive ก็เป็นอันเสร็จสำหรับอิมเมจที่ใช้ในการติดตั้ง ROCK
ขั้นตอนที่สาม เราจะมาจัดการ NUC ที่ได้ทำการติดตั้ง SSD M.2 แล้ว โดยทำการ ต่อ Monitor เม้าส์ คีย์บอร์ด เราจะมาตั้งค่า bios (อย่าลืมทำการอัพเดทไบออส เป็นล่าสุดก่อน) โดยทำการเปิดเครื่องแล้วกด F2 เพื่อเข้าไบออส
-จากนั้นทำการ Load defaults โดยการกด F9
-ในบางเครื่องต้องทำการ enable the M.2 slot
-ให้ทำการ Disable Secure Boot (หาดูในหัวข้อ Advanced)
-เลือก Legacy ไม่ใช่ UEFI (ในหัวข้อ Boot Priority)
-boot order ให้เลือกเป็น SSD M.2 ที่ติดตั้งเข้าไปใหม่ เป็นอันดับแรก
-Disable Network Boot
-Enable USB Boot แต่ M.2 ของเรายังคงเป็นอันดับแรก
-Save Bios
ขั้นตอนที่สี่เราจะมาติดตั้ง ROCK กัน เสียบ USB flash drive ที่เราได้ทำไว้ เข้ากับ NUC จากนั้นก็เปิดเครื่อง กด F10 เพื่อเลือกการบูท ก็ให้เลือกจาก USB flash drive ทำตามขั้นตอนที่หน้าจอ ใช้เวลาไม่นานก็เรียบร้อย จากนั้นก็ปิดเครื่อง NUC ถอด flash drive ออก NUC จะต้องเชื่อมต่อ network ด้วยสายแลนผ่านทางช่อง RJ45 เท่านั้น แล้วก็เปิดเครื่องอีกครั้ง
พอเปิดเครื่อง NUC ขึ้นมาแล้ว Roon OS จะแจ้ง ip ของเครื่องให้ทราบ
การใช้งาน Roon จำเป็นจะต้องมีการสั่งงานด้วย app Roon Remote โดยใช้มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไปทำการ Download ได้
ที่นี่
หลังจากติดตั้ง Roon Remote บนมือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เราจะเข้าสู่ขั้นตอนการเชื่อมต่อกับ Roon server ที่เราเปิดเครื่องรออยู่ โดยการเชื่อมต่อเข้าสู่ network วงเดียวกัน
Roon Remote ก็จะเห็น ROCK (Roon Optimized Core Kit) โดยมี ip ที่ตรงกันกับที่หน้าจอของ Roon ROCK เราก็ทำการ Connect
ถ้าขึ้นให้เราอัพเดท ก็จัดการอัพเดทให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ตามที่ระบบต้องการ
ที่หน้าจอนี้ ให้เราคลิ๊กที่ด้านล่างเพื่อเข้าไปทำการปรับแต่งก่อนใช้งาน
คลิ๊กเลือกปรับแต่ง ROCK (Roon Optimized Core Kit)
จะเห็นว่า ระบบยังไม่มี Codecs มาให้ เราจะต้องเข้าไป Download Codecs มาลงที่ ROCK เสียก่อน
- แล้วก็ทำการแตกไฟล์
- เข้าไปที่ NFS ผ่านทาง my pc โดยพิมพ์ ∖∖ ตามด้วย ip ตัวอย่าง 192.x.x.x
- จากนั้นไปที่ folder /Data/Codecs/
- แล้วก๊อบ ไฟล์ที่เราแตก zip ใส่เข้าไปที่นี่ เสร็จแล้วก็ทำการ Restart
หลังจากที่ทำการ Restart เสร็จแล้ว ระบบก็พร้อมที่จะใช้งานได้แล้ว
ถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วก็จัดการ login เข้าสู่ระบบได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิก จะทดลองใช้ก็จัดไป เรามีเวลาลองใช้งาน 14 วัน
หน้าจอแรกหลังจากที่ Login เข้ามาแล้ว ถ้าต้องการที่จะ Add ไฟล์ ก็ทำกันที่ตรงนี้เลย
กระผมยังไม่ต้องการที่จะ add ไฟล์ก็กดผ่านมาเลย ก็จะมาถึง Music Stream ที่ทำงานร่วมกันกันกับ Roon ได้ นายทองดีใช้งาน TIDAL อยู่ ก็จัดการ คลิ๊กใช้งานไปเลย
ถ้าสมาชิก TIDAL อยู่แล้ว ก็ Login ได้ที่หน้านี้ได้เลย
.png)
เริ่มบรรเลงเพลงกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า Roon ROCK ยังไม่มี DAC อยู่ในตัว เราจะต้องต่อผ่าน DAC ก่อนที่เข้าสู่ชุดเครื่องเสียงต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ไม่น่าที่จะยากอะไร ก็แค่หา DAC ต่อผ่าน USB ของ Roon ROCK เท่านี้ก็ใช้งานได้แล้ว
ข้อสังเกตุ
- เฉพาะตัว Roon ROCK ยังไม่สามารถเชื่อมต่อ network ผ่านทาง Wifi ได้ ต้องเชื่อมผ่านทางสายแลนเท่านั้น
- การเชื่อมต่อกันระหว่าง Roon ROCK กับ Roon Remote จะต้องอยู่ภายในวงแลนเดียวกัน
- ถ้าเชื่อมต่อกันไม่ได้ อาจจะเป็นที่ Firewall ต้องปิดก่อนทำการเชื่อมต่อ
- รุ่นของ NUC ที่ใช้ อาจไม่มีอยู่ในตาราง ต้องลองดู อย่างตัวที่ใช้ในบทความนี้ ก็ไม่มีอยู่ใน List แต่ก็สามารถใช้งานได้
- การใช้งานเครื่อง Roon ROCK ไม่จำเป็นที่จะต้องต่อจอ Monitor เม้าส์ และคีย์บอร์ด เพียงแค่เปิดเครื่อง แล้วก็เชื่อมต่อกับ Roon Remote ก็ใช้งานได้ทันที
- ถ้าต้องการเน้นความเป็น Audiophile NUC ที่ใช้ควรจะเป็น Fanless ที่จะไม่มีเสียงพัดลมมาดังรบกวน และภาคจ่ายไฟควรที่จะเป็นแบบ Linear power supply ซึ่งกระผมจะนำมาเสนอต่อไปครับ
ต้องถือว่า Roon ใจกว้างพอที่จะเปิดให้ใช้งาน ROCK ได้ แทนที่จะต้องซื้อ Roon Nucleus มาใช้งาน แต่ก็เนอะ ราคาของ Roon software ที่ต้องจ่าย ก็ต้องถือว่าแพงโขอยู่ กับค่าสมาชิกรายปี ราคาตกปีละเกือบๆ 4,000 บาท ส่วนราคาตลอดชีพอยู่ที่ สองหมื่นกว่าบาท แต่ถ้าไม่แน่จริง คงไม่มีสมาชิกมากว่า 100,000 ราย ที่ใช้งานอยู่ ซึ่ง Roon ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2015 เพียง 6 ปีที่เปิดให้บริการมา ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า จะประสบความสำเร็จมากไปกว่านี้มั้ย ส่วนความเห็นส่วนตัวของกระผม ต้องยอมรับครับว่า ดีจริงครับ อย่างว่าแหละ ผู้ผลิตเขาคร่ำหวอด อยู่ในวงการเครื่องเสียงมานาน จะทำให้เสียชื่อได้อย่างไร ก็ไปลองกันดูนะครับ ใครที่ไม่เคยใช้งาน มีโอกาสโหลดมาลองใช้งานดูได้ 14 วัน เอาลงที่เครื่องคอมที่ใช้งานอยู่ แล้วลองเปรียบเทียบ กับโปรแกรมที่ใช้อยู่เป็นประจำ ดูว่าเห็นความแตกต่างขนาดไหน ถ้าคิดว่าแยกไม่ออก หรือก็งั้นๆ ดีเลยครับ ไม่ต้องเสียตัง แต่ถ้าเกิดติดใจ หลงไหลมันขึ้นมาก็เตรียมตัวควักกระเป๋ากันได้ ของแบบนี้มัน นานาจิตตังครับ วันนี้กระผมนายทองดี ขอลาไปก่อน โอกาสหน้าเจอกันใหม่ครับ สวัสดี
ข้อมูลจาก https://roonlabs.com
ขอขอบคุณ เซียนตั้ม