สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากงาน AMD 3rd Gen Ryzen วางขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งยุคที่ทาง AMD นั้นสร้างความตื่นตาตื่นใจกันได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมนบอร์ดในยุคคู่บุญของ AMD 3rd Gen Ryzen คือชิพ AMD X570 ที่บอกเลยว่ามีทางเลือกมาก แต่ราคาก็สูงกว่าในยุค AMD 400 Series แต่ทาง ASRock ก็ได้ออกเมนบอร์ดมาให้ราคราจับต้องได้ไม่ยากนัก แม้จะเป็นตัวระดับไฮเอนด์อย่าง ASRock X570 Taichi แต่วันนี้เราจะมาดูกับเมนบอร์ดในระดับราคาจับต้องได้ง่าย ด้วยราคาสบายกระเป๋า กับฟีเจอร์ที่ยังมาครบเครื่องตามพื้นฐานในยุคสมัยนี้ด้วยเกมมิ่งเมนบอร์ด ASRock X570 Steel Legend ที่คงจะเป็นเมนบอร์ดเกมมิ่งอีกหนึ่งตัวที่ขายดีในตลาดอย่างแน่นอน ต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าเมนบอร์ด ASRock X570 Steel Legend มันยังไม่ใช่เมนบอร์ดในเวอร์ชั่นขายจริงนะครับ แต่มันเป็นเมนบอร์ดแบบที่ผลิตออกมาให้เห็นหน้าตา เรียกง่ายๆว่ามันเอาให้ติดผนังโชว์เวลาออกงานต่างๆนั้นเองครับ ซึ่งในแง่ประสิทธิภาพและการปรับแต่งนั้นยังไม่เต็มร้อยแน่นอนกับการทดสอบวันนี้
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตัดกับสีเทา มีการใส่ลายพรางบนเมนบอร์ดเพื่อความสวยงามและบ่งบอกความเป็น ASRock ในตระกูล Steel Legend การจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดถือว่าลงตัวกับขนาดของ PCB ทางด้านอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้บนเมนบอร์ด ถือว่าอัดแน่นพอใช้ได้ พร้อมกับฮีทซิงค์ระบายความร้อนมาพอสมควร พร้อมการใช้อุปกรณ์คุณภาพตามแบบฉบับของ ASRock
จาก PCB สีดำด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาดี
ซีพียูที่รองรับนั้น หลักๆถ้าพูดสั้นๆง่ายๆ Socket AM4 Ryzen ยุคที่ 3 และ 2 ส่วนทางด้าน Ryzen With Radeon Vega ในยุคที่ 2 และ 1 โดยทางด้านภาคจ่ายไฟที่มาจัดเต็มทั้งหมด 10 เฟส ภาคจ่ายไฟใช้อุปกรณ์คุณภาพมาอย่างจัดเต็ม ทางด้านการระบายความร้อนภาคจ่ายไฟที่มาอย่างจัดเต็มอีกด้วยการใช้ท่อฮีทสีเทา ที่ดูเข้ากับธีมของเมนบอร์ดดี
สล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นแบบมาตรฐาน โดยเมโมรีที่รองรับนั้นเป็นชนิด DDR4 ตามมาตรฐานของ Socket AM4 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 128GB ความเร็วที่รองรับสูงสุด 4666+ Mhz ความเร็วสูงสุดที่รองรับจะแตกต่างกันตามหน่วยประมวลผลกลางที่ติดตั้งเข้าไป
M.2 จำนวน 2 สล๊อตซ่อนอยู่ใต้ฮีทซิงค์ขนาดใหญ่พอสมควร ที่รองรับการติดตั้งสูงสุด 2280 และ 22110 ที่รองรับ PCI-e สูงสุด 4.0 x4 (ขึ้นกับซีพียูที่ติดตั้ง) และ SATA III 6Gb/s สล๊อต PCI-Express x16 4.0 สองสล็อต ที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วย Heatsink Armor ในสล็อตแรก ที่รองรับการติดตั้งกราฟฟิกการ์ด AMD Crossfire สูงสุด 3 ใบ สุดท้ายกับ PCI Express x1 4.0 อีก 3 สล็อต ส่วนใครที่จพอัพเกรดให้รองรับการเชื่อมต่อ Wireless Lan/Bluetooth ก็จะมี M.2 2230 ให้ติดตั้งการ์ดโมดูลเพิ่มเติมได้
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดแปดพอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพ X570 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0 1 และ 10 ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีเทารับหน้าที่ระบายความร้อนชิพ X570 ที่มากับฝาครอบลวดลายที่บ่งบอกความเป็น ASRock Steel Legend พร้อมกับพัดลมระบายความร้อน 4 ซม.
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 2.0 , LED RGB ทั้งสองแบบ และ รองรับการเชื่อมต่อกับการ์ด ThunderBolt 3
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 3.0
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ LED RGB สำหรับชุดระบายความร้อนของ AMD ที่มีไฟ RGB
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดด้วยชิพ Realtek ALC1220 รองรับระบบเสียงรอบทิศทางแบบอนาล็อก โดยคาปาซิเตอร์ใช้ Nichicon Find Gold อีกทั้งยังมีภาคขยายเสียงหูฟังมาให้ พร้อมกับการออกแบบในจุดอื่นๆ เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีในการใช้งานและความบันเทิง
Back Panal I/O Ports
1 x PS/2 Keyboard Combo Mouse
1 x Display Port
1 x HDMI port
1 x USB Type-C USB 3.2 Gen 2
1 x USB Type-A USB 3.2 Gen 2
6 x USB Type-A USB 3.0
1 x RJ-45 port
1 x optical S/PDIF Out connector
5 x audio jacks
< < < Specifications > > >
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดใช้ชิพ Realtek ALC1220 ทางด้านเครือข่ายแบบด้วยการเชื่อมต่อสายแลนใช้ชิพจาก Intel
แสงสีที่สามารถปรับแต่งได้จากฟีเจอร์ ASRock Polychrome SYNC
การปรับแต่งแสงสีจาก ASRock Polychrome SYNC สามารถปรับแต่งเป็นโซนได้ตามความต้องการ
System Setup
เนื่องจากวันที่ทดสอบนั้นเมนบอร์ด Bios ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ไม่สามารถปรับอะไรได้มาก แม้จะปรับบัสแรมหรือเปิด XMP ก็ตาม
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 9 3900x
- VGA : AMD Radeon RX 5700XT
- Memory : G.Skill Trident-Z Royal 3600Mhz 16GB Kits
- CPU Cooler : Stock Cooler
- SSD : Silicon Power A56 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1903)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen High Performance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
ASRock X570 Steel Legend จัดได้ว่ามันเป็นอีกความคุ้มค่าของเมนบอร์ดเกมมิ่ง กับราคาค่าตัวที่จับต้องได้ง่ายในยุคของ AMD 3rd Gen Ryzen ซึ่งกับการทดสอบวันนี้ที่เมนบอร์ด ASRock X570 Steel Legend ที่เราได้รับมาก่อนวันเปิดตัว AMD 3rd Gen Ryzen จะเป็นเมนบอร์ดเวอร์ชั่นที่เอาไว้่โชว์หน้าตา แต่กับการทดสอบที่ทำออกมาได้นั้น ถือว่ายังคงทำออกมาได้ดีน่าสนใจอยู่บ้างกับการทดสอบ ซึ่งโดยภาพรวมนั้นก็ทำให้พอมองเห็นกับประสิทธิภาพและความแรงที่ ASRock X570 Steel Legend ทำออกมาได้ ในภาพรวมของฟีเจอร์การใช้งาน ที่อาจสู้เมนบอร์ดระดับไฮเอนด์ไม่ได้อย่างแน่นอน แต่กับการออกแบบ ASRock X570 Steel Legend ที่สามารถติดตั้งเพิ่มลงไปได้ ถ้าจะมองว่าเป็นเมนบอร์ดเกมมิ่งก็ใจร้ายเกินไป ถ้าอีกความน่าสนใจมันก็คือเมนบอร์ดที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้หัวใจหลักในการประมวลผลด้วย ASRock X570 Steel Legend ในราคาที่ไม่สูงมากไปนั้นเอง สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : ASRock Thailand