สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน Noctua หรือ ภาษาเด็กแนวมักเรียกว่านกฮูก ในการออกออกพักลมซักตัวที่จะเน้นไปทางด้านคุณภาพ ที่ออกแบบแบบทาง Noctua เน้นกับเรื่องวัสดุ แต่วันนี้ที่เราจำได้อยู่ที่พัดลม เราจะอยู่กับฮีทซิงค์ระบายความร้อนคุณภาพสูง ที่เป็นการต่อยอดจาก NH-D15 ที่ได้รับการตอบรับที่ดี มาสู่ NH-D15 G2 เป็นอีทซิงค์แบบ Dual Tower ที่มีขนาดใหญ่ที่มีการออกแบบให้การระบายความร้อนไม่ติดขัดกับแรม ยังมีความเข้าเบี่ยงหลบสล็อต PCIe x16 ด้านบนบนเมนบอร์ดปัจจุบันส่วนใหญ่ได้เลย NH-D15 G2 ที่การออกแบบยังยึด NH-D15 มาเป็นพื้นฐ่านในการออกแบบให้ NH-D15 G2 มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนระดับการระบายความร้อนด้วยน้ำแบบออลอินวัน (AIO) นอกจากขนาดที่ใหญ่โต Noctua NH-D15 G2 มาพร้อมพัดลม PWM NF-A14x25r G2 มีความความเร็วที่ต่างกันเล็กน้อย (+/- ~25rpm) เพื่อหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ดังกล่าว การปรับแต่งอย่างละเอียด เป็นไปได้ด้วยมอเตอร์ etaPERF แบบใหม่ของพัดลม และไดรเวอร์ IC NE-FD6 ที่สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างแม่นยำอย่างยิ่ง และด้วยคุณสมบัติ SupraTorque จึงสามารถใช้เฮดรูมแรงบิดพิเศษเพื่อรักษาความเร็วที่ต้องการได้ ด้วยพัดลมตัวหนึ่งทำงานช้าลงประมาณ 25 รอบต่อนาที (PPA) และอีกตัวหนึ่งทำงานเร็วขึ้นประมาณ 25 รอบต่อนาที (PPB) พร้อมท่อฮีทไปท์ จำนวน 8 เส้น แต่ Noctua ยังมีความสมบูรณ์แบบในการระบายความร้อน NH-D15 G2 ใช้ฐานนูนแบบเดียวกับฮีตซิงก์ Noctua รุ่นอื่นๆ ทำให้เป็นฮีตซิงก์อเนกประสงค์ที่สมบูรณ์แบบ ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดบน AM5 กับ LGA1851 และ LGA1700 เมื่อใช้แหวนรอง NM-ISW1 เพื่อลดการเสียรูปของ CPU จากแรงกด ,NH-D15 G2 LBC (Low Base Convexity) ได้รับการปรับให้เหมาะสมโดยสำหรับ CPU ที่ค่อนข้างแบน โดยให้คุณภาพการสัมผัสที่ยอดเยี่ยมบน Socket AM5 กับ AM4 สุดท้าย NH-D15 G2 HBC (High Base Convexity) ได้รับการปรับให้เหมาะสมโดยเฉพาะ โปรเซสเซอร์ LGA1700 ที่ได้รับแรงกดดัน ILM ที่เสียรูปถาวรในการใช้งานระยะยาว โดยให้คุณภาพการสัมผัสที่ยอดเยี่ยมแม้ว่า CPU จะมีรูปร่างเว้าก็ตาม โดยทุกรุ่นย่อยด้วยการออกแบบให้มีระบบติดตั้งหลายซ็อกเก็ต SecuFirm2+ ที่ใช้ Torx พร้อมไขควง NM-SD1 ที่แถมมา จึงทำให้ NH-D15 G2 เป็นความลงตัวของฮีทซิงค์ในระดับไฮเอนด์
ตัวอย่างเครื่อง PC DIY ที่สาวกแฟนคลับ Noctua นั้นอยากทำแน่นอน
Package
แพคเกจที่มาแบบดูแพง ให้อารมณ์ความพรีเมี่ยมได้เป็นอย่างดี ใช้โทนสีน้ำตาล
กล่องอุปกรณ์การติดตั้ง ที่ข้างในมีการแบ่งโซนอย่างชัดเจน
ของในชุดที่จะมีมาให้ใช้งาน
Fan Detail
การออกแบบของ noctua ที่ยังคงใส่ใจแม้เป็นเวลาในการเคลื่อนย้าย ที่ทำกระดาษแข็งให้ล็อกตัวฮีทซิงค์มา
เราสามารถเห็นท่อระบายความร้อน หรือ ฮีทไปท์ จำนวน 8 ท่อ วัสดุทองแดงชุบนิคเกิล พร้อมครีบอลูมิเนียมชุบนิคเกิล ที่มีการออกแบบครีบซ้อนที่ไม่สมมาตรและช่องว่างระหว่างครีบซ้อนที่เล็กลงเล็กน้อย ทำให้เวอร์ชัน G2 รวมประสิทธิภาพที่ปรับปรุงดีขึ้นเข้ากับขนาดที่เล็กลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ NH-D15 ดั้งเดิม รองรับกับซีพียูที่มี TDP 250 w ได้สบายๆ
Noctua NH-D15 G2 รองรับกับซ็อตเก็ต AM5, AM4 และ LGA1851, LGA1700, LGA1200, LGA1156, LGA1155, LGA1151, LGA1150 ตัวฮีทซิงค์ขนาดรวมพัดลม สูง 168 มม. กว้าง 150 มม. และ ลึก 152 มม. การออกแบบฮีทซิงค์และฐานหน้าสัมผัสจะเป็นแบบอสมมาตรกัน จากภาพนี้ที่เราพอมองออกได้ว่าเป็นการเบี่ยงหลบ PCI Express x16 ถึงแม้เป็นเมนบอร์ด MINI ITX ก็สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้
การออกแบบที่ยกสูงเล็กน้อยเพื่อให้ให้มีปัญหากับแรมซิงค์สูง
ครีบที่มีการออกแบบครีบซ้อนที่ไม่สมมาตรและช่องว่างระหว่างครีบซ้อนที่เล็กลงเล็กน้อย ทำให้เวอร์ชัน G2 รวมประสิทธิภาพที่ปรับปรุงดีขึ้นเข้ากับขนาดที่เล็กลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ NH-D15 ดั้งเดิม
ฐานนูนแบบเดียวกับฮีตซิงก์ Noctua รุ่นอื่นๆ ทำให้เป็นฮีตซิงก์อเนกประสงค์ที่สมบูรณ์แบบ
ฐานที่ทำมาจากทองแดงชุบนิคเกิล ที่มีการเก็บงานมาเรียบร้อบสวยงามมาก เงาน้องกระส่องเงา
ด้วยพัดลม ประมาณ 1475 รอบต่อนาที (PPA) และอีกตัวหนึ่ง 1525 รอบต่อนาที (PPB) การออกแบบให้พัดลม PPA และ PPB มีรอบต่างกันเล็กน้อย ที่ทาง Noctua หวังผลทางด้านเสียงรบกวนที่เงียบลง
พัดลมแบบโครงสีเนื้อตามสไตล์ noctua สี่เหลี่ยมขนาด 140 มม. ด้วยรูน็อตแบบ 120 มม. ที่มาพร้อมยางลดเสียงจากการทำงานเป็นสีน้ำตาล มีการใช้ตลับลูกปืน SSO2 ที่แม่เหล็กด้านหลังจะถูกวางไว้ใกล้กับแกนมากขึ้นเพื่อให้มีเสถียรภาพ ความแม่นยำ และความทนทานที่ดียิ่งขึ้น พร้อมเปลือกลูกปืนโลหะ เพื่อรับประกันความแม่นยำในการผลิตในระดับสูงสุด ความคลาดเคลื่อนขั้นต่ำ และความเสถียรที่ยอดเยี่ยมในระยะยาว NF-A14x25r G2 จึงมีเปลือกลูกปืนที่ผ่านการกลึงด้วย CNC ซึ่งทำจากทองเหลืองทั้งหมด สำหรับสายแมวน้ำมีเทคโนโลยี SupraTorque ของ Noctua เปิดใช้งานด้วย IC ไดรเวอร์ NA-FD6 ใหม่ ช่วยให้พัดลมสามารถใช้พื้นที่แรงบิดเพิ่มเติมได้เมื่อจำเป็น เพื่อรักษาความเร็วรอบต่อนาทีให้อยู่ในระดับที่ต้องการ และ มอเตอร์ etaPERF พร้อม IC NE-FD6 PWM ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้แปลงอินพุตไฟฟ้าขั้นต่ำเป็นเอาต์พุตพลังงานสูงสุดโดยแทบไม่สูญเสีย แต่ยังทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยี Smooth Commutation Drive 2 ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วของ Noctua เพื่อทำให้มอเตอร์ etaPERF ทำงานแทบไม่ได้ยินเสียง โดยมี Airflow 155.6 m³/h ,Acoustical noise 24.8 dB(A) ,Static pressure 2.56 mm H₂O และ ใช้พลังงาน 2.28 W
พอหันมาด้านหลังที่เราจะเห็นความพิเศษที่แตกต่างจากพัดลมทั่วไปได้พอสมควร
เป็นพัดลมคอมที่มีสีสันที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร แต่ Noctua ต้องมีความไม่ธรรมดาซ่อนเอา มองผ่านมันไม่มีอะไรมาก ดูจากเนื้อพลาสติกที่แตกต่าง
การออกแบบใบพัด A-Series with Flow Acceleration Channels ที่เป็นลักษณะ Winglets หรือ ปีกนกเล็กแบบเครื่องบินพาณิชย์สมัยใหม่ ไอ้ปีกนกเล็กช่วยลดการหมุนเวียนของใบพัดที่เกิดจากความแตกต่างของแรงดันระหว่างด้านดูดและด้านแรงดันของใบพัด พร้อมด้วยโครงสร้างผิวขนาดเล็กที่ด้านในโดยที่ปลายใบพัดของพัดลม มีระยะห่างระหว่างปลายใบพัดกับด้านในของเฟรมเพียง 0.7 มม. เท่านั้น ช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อต้องเจอกับแรงดันย้อนกลับ เช่น หม้อน้ำ โดยลดการไหลของลมรั่วผ่านช่องว่างระหว่างใบพัดและเฟรม การแยกของการไหลจากด้านดูดของใบพัด ส่งผลให้เสียงใบพัดผ่านลดลง และการไหลของอากาศและประสิทธิภาพของแรงดันได้ยังคงออกมาดี โครงสร้างเฟรม AAO (Advanced Acoustic Optimisation) พร้อมยางป้องกันเสีนงจากการใช้งาน พร้อมกับการใช้สารประกอบโพลิเมอร์ผลึกเหลว Sterrox รุ่นใหม่ (LCP) ของ Noctua ซึ่งมีความแข็งแรงสูง มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต่ำเป็นพิเศษ ที่มีคุณสมบัติกเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการการเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนในการใช้งาน
โลโก้ Noctua ที่ปั๊มที่โครงพัดลม
ทิศทางการไหลเวียนอากาศ
สายที่ได้รับการหุ้มท่อกับความร้อนมา ความยาวที่ประมาณ 20 เซ็นติเมตร เป็นการเชื่อมต่อ 4 Pin PWM
น้ำหนักตัวที่ 1.535 กิโลกรัมจากการชั่งของผม
System Setup
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- CPU : AMD Ryzen 7 9700X
- Memory : Kingston FURY Renegade DDR5 RGB 6800MHz 32GB
- VGA : NVIDIA GeForce RTX5090 Founders Edition
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 24H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
จากภาพนี้ที่เราพอมองออกได้ว่าเป็นการเบี่ยงหลบ PCI Express x16 ถึงแม้เป็นเมนบอร์ด MINI ITX ก็สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้
แรมซิงค์สูงหน่อยที่ไม่กีปัญหากับการระบายความร้อน แต่ถ้าสูงมากไปอาจดูไม่สวยนัก
Performance Test
การทดสอบที่เราใช้ CPU TDP 65W แต่ปลดให้ใช้เป็น TDP 105W พร้อมการจูน PBO เทียบกับพัดลมเดิมๆ และ ใส่ Low Noise adaptor ไม่ได้ทำให้ความร้อนเพิ่มมากนัก แต่เสียงเงียบลง ถ้าคนชอบความเงียบคงถูกใจ
การเปรียบเทียบเสียงรบกวน ที่ต้องมีค่าเสียงรบกวนก่อนที่ทำการเปิดคอมพิวเตอร์มาไว้เทียบเสียง
Conclusion
Noctua NH-D15 G2 ถ้ามองที่ประสิทธิภาพมันสามารถทำได้เทียบเท่ากันชุดน้ำสำเร็จรูปที่มีหม้อน้ำขนาด 280-360 มม. ซึ่ง Noctua NH-D15 G2 มันมีข้อดีตรงที่ง่ายในการใช้งาน ไม่มีความยุ่งยากในการดูแล ยกเว้นการติดตั้งที่ควรต้องใส่ใจมัน เอาเป็นว่าผมไม่เคยอ่านคู่มือในการติดตั้งฮีทซิงค์มาประมาณ 10 ปี แต่ผมต้องยอม Noctua NH-D15 G2 ที่มีรายละเอียดมาก ไม่ว่าจะ Socket AM5 หรือ LGA1851 ,1700 ที่มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกับมาก รวมถึงยังมีทางเลือกของ Noctua NH-D15 G2 ในเวอร์ชั่น LBC (Low Base Convexity) กับ HBC (High Base Convexity) ที่ผมยังไม่เคยเห็นในบ้านเรา ยกเว้น Noctua NH-D15 G2 ที่หากดได้ตามเว็บออนไลน์ทั้งสีฟ้าและส้ม Noctua NH-D15 G2 คงรู้สึกว่าค่าตัวของมันที่ราคาสูงมาก แต่ถ้ามองที่ความเงียบที่ทำออกมาได้ ถือว่ามันเงียบได้สะใจมาก แต่เรามามองที่แรงลมที่ระบายความร้อนออกมาถือว่าทำได้ดีเยี่ยม น่าประทับใจมาก รวมไปถึงงานประกอบวัสดุที่ Noctua มีความใส่ใจมาก รวมไปถึงพัดลมมาด้วยธีมสีของ Noctua เน้นการใช้วัสดุ โครงสร้าง แล้วส่วนประกอบเพื่อความเงียบแต่ได้แรงลมที่ดี สำหรับวันนี้ผมขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
ราคา 6,xxx บาท
Special Thanks : noctua.at