สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน แน่นอนว่าในยุคสมัยของซีพียูที่มาจากพื้นฐานสถาปัตยกรรม "Zen 2" ที่ทำให้ให้หน่วยประมวผลกลางจากทางค่าย AMD นั้นมีการยอมรับจากตลาดมากขึ้น ซึ่งทางล่าสุดที่ทาง AMD ได้มีการรีเฟรชซีพียู Ryzen ในยุคที่สาม ด้วยการใช้พื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 2 ที่ใช้ขนาดขบวนการผลิต 7nm บนแพ็คเกจ AM4 ด้วยการเติม "T" ที่หลัง "X" เข้ามาทำตลาด โดยล่าสุดทาง AMD ได้มีการเปิดตัวซีพียู AMD Ryzen Pro 4000 Series สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ในรหัสการพัฒนา "Renoir" ในกลุ่มตลาด Commercial หรือ เชิงพาณิชย์ นั้นเอง จะมาด้วยความแตกต่างด้วยเทคโนโลยี AMD Pro และ การรองรับเมโมรีแบบ ECC ที่เราจะได้พบกับคอมพิวเตอร์แบรนด์เนมสำเร็จรูปจากโรงงาน ในระดับ Local บ้านเราก็จะได้เห็นกับคอมพิวเตอร์เซ็ตจากร้านค้า IT ชั้นนำ ที่วันนี้เราได้รับ AMD Ryzen 7 Pro 4750G มารีวิวให้ได้ชมกัน โดยหลักๆแล้วมันก็ถูกพัฒนามาจากพื้นฐานสถาปัตยกรรม "Zen 2" โดยส่วนตัวคิดว่าการออกแบบซีพียูสมัยนี้ ไม่แตกต่างจากการออกแบบรถที่พัฒนามาจากพื้นฐานหลักเดียวกันในยุคเดียวกัน โดย AMD Ryzen 7 Pro 4750G ด้วยแกนประมวลผล 8 คอร์ 16 เทรด บนความเร็วสัญญาณนาฬิกา 3.6 Ghz ยังสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงสุดที่ 4.4 Ghz ที่ดูทรงแล้วไม่ได้แตกต่างจาก AMD Ryzen 7 3700X เท่านั้น แต่ AMD Ryzen 7 Pro 4750G จะมาพร้อมกับกราฟฟิกในตัว AMD Radeon Graphics แบบ 8 แกนประมวลผล ที่ความเร็วระดับ 2000 Mhz โดยทั้งหมดที่ว่ามา AMD Ryzen 7 Pro 4750G จะมีค่า TDP แบบผันแปร 45-65 Watt เท่านั้น คุ้นๆไหม ว่ามันเหมือนกับ AMD Ryzen 4000 Series ของกลุ่ม Mobile นั้นเอง
ถ้าเราดูผ่านๆจากสเป็คของ AMD Ryzen 7 Pro 4750G มันไม่ได้แตกต่างจาก AMD Ryzen 7 3700X อะไรมาก
แต่ถ้าเรามองกันที่สเป็คจริงๆ AMD Ryzen 7 Pro 4750G จะมี Cache L3 น้อยกว่า AMD Ryzen 7 3700X ถึง 24MB ใครใช้ AMD Ryzen 3,5 และ 7 "Matisse" ก็อย่าเพิ่งไปตื่นเต้นกับ AMD Ryzen 4000G "Renoir" ของ Desktop อะไรมากนัก
Package & Bundled
เนื่องจาก AMD Ryzen 7 Pro 4750G นั้นเป็นซีพียูแบบ OEM จะมากันเป็นแบบถาด ไม่ได้มีคอนฟิกชุดระบายความร้อนคู่ตัวตามสเป็คของ AMD ครับ
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่จะเป็น AMD แบบดั่งเดิมมาตั้งแต่ในยุค AMD Athlon 64 ก็เรียกได้ว่าเป็นสิบปีก็ยังคงเดิม เพิ่มเติมมาคือจำนวนขาตามแต่ละซ็อกเก็ต ที่จะเป็นกระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างๆมาตามแบบฉบับของ AMD เรียกได้ว่าซีพียูตัวเดียวผ่านมา 2 ประเทศ ไต้หวัน และ สุดท้ายประกอบที่จีน
แพ็คเกจ AM4 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 400 Series และ 500 Series ที่มี BIOS รองรับกับ AMD Ryzen 4000G Series
กราฟฟิกการ์ดภายใน AMD Radeon Graphics แบบ 8 แกน ที่ความเร็วของเมโมรีจะวิ่งตามความเร็วของแรมระบบ
การใช้งานทั่วไป หรือ เล่นเกมเบาๆ ที่ AMD Radeon Graphics ที่มากับ AMD Ryzen 7 Pro 4750G ที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ROG STRIX B550-I Gaming
- VGA : ASUS GeForce RTX 2060 Turbo
- Memory : G.Skill Trident Z Royal F4-4000C17D-16GTRSB
- CPU Cooler : Wraith Prism with RGB LED
- SSD : Intel SSD 600P 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen High Performance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
System Setup - iGPU AMD Radeon Graphics
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ROG STRIX B550-I Gaming
- Memory : G.Skill Trident Z Royal F4-4000C17D-16GTRSB
- CPU Cooler : Wraith Prism with RGB LED
- SSD : Intel SSD 600P 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
ประสิทธิภาพของ AMD Radeon Graphics ที่อยู่ภายใน AMD Ryzen 7 Pro 4750G ถือว่าสามารถใช้งานทั่วไป การทำงาน ความบันเทิง หรือ เล่นเกมเบาๆ ตอบสนองการใช้งานได้ดีครับ
Conclusion
AMD Ryzen 7 Pro 4750G เป็นหน่วยประมวลผลกลางที่ถูกออกแบบมาด้วยการทำตลาดในกลุ่มตลาด Commercial หรือ เชิงพาณิชย์ ด้วยเทคโนโลยี AMD Pro และ การรองรับเมโมรีแบบ ECC ที่จะมีความแตกต่างในการทำตลาดทั่วไป แต่อันที่จริง AMD Ryzen 7 Pro 4750G มันก็คือพื้นฐานเดียวกับ AMD Ryzen 7 4700G ที่คาดว่านานนี้คงได้เห็นการทำตลาดกันอย่างเป็นทางการ ด้วยประสิทธิภาพ AMD Ryzen 7 Pro 4750G นั้นในการใช้งานทั่วไปที่จะไม่ได้แตกต่างจาก AMD Ryzen 7 3700X มากนักจากสเป็ค พร้อมกับจุดแตกต่างด้วยกราฟฟิก AMD Radeon Graphics ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของความแตกต่าง แต่ถ้าใครใช้ AMD Ryzen Gen 3 อยู่แล้ว ถ้าเทียบกับ AMD Ryzen 7 Pro 4750G ตัวนี้คงจะเป็น AMD Ryzen 3700X ที่จะมี Cache L3 สูงกว่า 24MB ในมุมของการประมวลผลที่สลับซับซ้อน ที่การมี Cache L3 สูงกว่านั้นจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการประมวผลได้ดีมากขึ้นนั้นเอง และ การรองรับ PCIe 4.0 ที่ AMD Ryzen 7 Pro 4750G จะไม่รองรับ แต่สิ่งที่ AMD Ryzen 7 Pro 4750G ทำออกมาได้น่าสนใจคือการลากแรมที่สามารถวิ่งแบบ 1:1 ของ "Renoir" ได้สูงกว่า "Matisse" เอาเป็นว่าถ้าเจอแรมชิพ Mircon จับวิ่งกันบัส 5000 Mhz ได้สบายๆ แต่ถ้าสาย 1:1 วิ่งที่บัสระดับ 4400-4600 Mhz แค่นี้ก็สุดยอดมากแล้วครับ เอาเป็นว่า AMD Ryzen 7 Pro 4750G ในการใช้งานแบบคนทั่วไปที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครบเครื่อง ทั้งการทำงานจริงจัง ,ประมวผลสลับซับซ้อน ,เล่นเกม ,ให้ความบันเทิง หรือ การใช้งานทั่วไป จากที่ผมได้ลองใช้งานกับเมนบอร์ด AMD B550 และ AX20 ที่ AMD Ryzen 7 Pro 4750G ก็สามารถทำงานเข้าคู่กันได้เป็นอย่างดี สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : AMD Far East | Thailand