สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน งาน Intel Innovation 2023 ที่ผ่านมา เราก็จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ AI นั้นจะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการประมวลผลกันมากขึ้น ที่ AI นั้นจะอยู่กับเราไปทุกที่ ทุกระดับ โดยปลายปีนี้ Intel จะทำการเปิดตัวโปรดักส์ใหม่ป้อนสู่ตลาด เช่นโปรเซสเซอร์ Intel Xeon เจนเนอเรชั่น 5 โดยมีจำนวนโปรเซสเซอร์ E-core ถึง 288 คอร์ จาก CPU 2 ตัว แต่วันนี้เราไม่ได้พูดถึงของใหม่ แต่เราพามาชมมิวเซียมของอินเทล มาย้อนดูนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่น่าสนใจ พิพิธภัณฑ์ Intel ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของ Intel ในซานตาคลารา แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และประวัติของ Intel ตลอดจนเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์โดยทั่วไป ถ้าไม่มี Intel บนโลกในนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเทคโนโลยีจะเป็นแบบทุกวันนี้หรือเปล่า

กฎของมัวร์ (Moore's law) ที่ผมเคยเรียนมาในสมัยเด็ก พูดถึงปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจร โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุกๆสองปี ที่ทุกวันนี้กฎนี้ยังคงดำเนินต่อไป การทำของมัวร์เป็นไปตามที่พูดถ้าดูกราฟโดยภาพรวม

เทคโนโลยีการผลิต ที่นับวันนับเล็กลง

เอาเพียงแค่ 3rd Gen Intel Core ยังมีความกว้าง 22nm มากกว่า DNA มนุษย์ที่ 2.5nm

เรามาดูการนำไฟฟ้า ที่ซิลิคอนเป็นหนึ่งในวัสดุชั้นดี ยอดนิยมในทุกวันนี้

การแปลงข้อความเป็นไบนารี่ มีประโยชน์สำหรับ นักพัฒนาและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อแปลงข้อความเป็นไบนารี่เพื่อถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็ว

ถ้าเราพูดถึงคอมพิวเตอร์เพื่อการเปิด E-mail ทำงานเอกสาร ด้วยเครื่องขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ที่ Intel Atom เป็นผู้ที่มาก่อนกาล

ในยุค 1972 นาฬิกาข้อมือเป็นเครื่องไขลาน แต่มีผู้ที่จะทำนาฬิกาดิจิตอล แน่นอนว่า Intel เป็นหนึ่งส่วนในความสำเร็จนี้

เทคโลโลยีการส่งข้อมูลความเร็วสูง สูงถึง 50Gbps

การรับส่งข้อมูลจากโมดูลทั้งสองฝั่ง เชื่อมต่อด้วยสายไฟเบอร์ออฟติก

เรามาดูนวัตกรรมที่อินเทลคิดออกมา เพื่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มีความสะดวก เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

ในวงการสื่อสารในยุค 1977 ด้วยชิพเข้ารหัส/ถอดรหัสมาถึงจากอินเทล ยุค 1990 ที่ Intel EthernetExpress Card ที่ให้คอมพิวเตอร์มีความง่ายในการเข้าเครือข่ายกัน

ในยุค 2000 ที่มี Intel PRO/Wireless LAN PC Card ที่สมัยนั้นมันเพิ่งผ่านพ้น Y2K ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตให้เล่นแบบทุกวันนี้ มาในยุค 2010 ได้พบกับ SSD หรือ โซลิดสเตตไดรฟ์ Intel 310 ที่ความจุ 40 และ 80 GB

ความหลากหลายของการเชื่อมต่อที่ชวนเวียนศีรษะ อินเทลสร้าง กำหนดต้นแบบมาตรฐาน IEC ที่เราเห็นและได้ใช้งานกัน

การ์ด PCMCIA ช่วยเพิ่มการใช้งานให้มากกว่าเดิม

มาถึงยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปี 1978 กับคอมพิวเตอร์จาก IBM

ชิพไมโคโปรเชสเชอร์ แบบ 16 บิต ในรหัส 8086 โดยอินเทล ที่ปี 1978 ทาง IBM ได้เลือกใช้ 8086 ในระยะสั้น และต่อด้วย 8088

ในยุคนั้น Intel ได้มีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานผ่านเครือข่ายได้ ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นในมี 1978 ในสมัยนั้นผมเป็นวุ้นอยู่เลย

การเปลี่ยนแปลงอนาคตที่ Intel 8088 ใน 12 สิงหาคม 1981 ที่ 8088 ได้มีการพัฒนามาอย่างก้าวกระโดดถ้าเทียบกับ 8086

โครงสร้างภาพใน Intel 8088

มาชมกับ CPU หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ โมเดลที่น่าสนใจกันครับ

Intel i286 ที่ทำให้ตลาดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับความสนใจมากขึ้น ในยุคนั้นเริ่มมีเครื่องโคลน IBM กันแล้ว เป็นจุดเริ่มต้นของคอมประกอบแบบทุกวันนี้ ถ้าใครเคยเล่นคอมในสมัยนั้นคงคุ้นคำว่า "IBM PC-compatible"

Intel i860 จุดเริ่มต้นของซีพียูสำหรับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ก่อนหน้าปี 1991 ต้องใช้ Intel i386 และ i286 มาต่อกันหลายตัว

ในยุค Intel i386 ในปี 1985 ที่เป็นยุคมัลติทาสกิ้ง ที่เป็นการพัฒนามาอย่างก้าวกระโดด มีการออก OS Windows

Intel i486 ในปี 1989 ที่มีประสิทธิภาพในการคำนวนคณิตศาสตร์ได้จากชิพภายใน ถัดมาในปี 1993 ด้วยตระกลู Pentium ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แรงขึ้นกว่าแต่ก่อน สมัยก่อนรู้จักโอเวอร์คล็อกได้ก็ยุคนี้แหละ

ในระดับโปรที่มี Pentium Pro มีประสิทธิภาพเหนือกว่าปกติในราคาที่ไม่ธรรมดา ในยุค 1997 การเปิดตัวชุดคำสั่ง MMX ใน Pentium II ที่ช่วยยกระดับการประมวลผลมากขึ้น เปลี่ยนมาใช้แพ็คเกจสล็อตวัน

Pentium II เด่นด้วยชุดคำสั่ง MMX ซึ่ง CPU สมัยนี้ก็มีคำสั่งนี้เช่นกัน

Intel Pentium II แต่เป็น Xeon ที่ตลับใหญ่ขึ้น สล็อตไม่เหมือน Pentium II

มาถึงสมัยที่เทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น

ปี 1999 ที่ Pentium III มีการพัฒนามากขึ้น การเล่นภาพ เสียงมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ถ้าผมจำไม่ผิด สมัยนั้นบ้านเราอินเตอร์เน็ตยังแพงมากกกกกก

มาถึงยุค Pentium 4 ตัวแรกตัวลาติน ยุค MP3 ครองโลก เกมภาพสามมิติ ตัวที่สอง Pentium 4 รหัสการพัฒนา Northwood ที่รองรับ Hyper-Threading ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมัลติทาสได้ดีมากขึ้น

จุดเริ่มต้น Notebook ที่แรงไม่พอ มันมีการเชื่อมต่อ Wireless Lan ในตัว ออกมาในปี 2003

จุดเริ่มต้นของสงคราม Muiti-core ในปี 2006 และ ปี 2007 ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี 45 นาโนเมตร ด้วยการใช้วัสดุประสิทธิภาพสูง

ซีพียูตัวเล็กจิ๋วอย่าง Intel ATOM และ Intel Core i7 รหัสการผลิต Nehalem ในปี 2008

นามบัตรของพนักงาน Intel ยุคเริ่มต้น

Gordon Moore ผู้ร่วมก่อตั้งอินเทลและผู้คิด "กฎของมัวร์" ที่เรารู้จักกันดี ออกจาก Fairchild Semiconductor มาร่วมก่อตั้งอินเทลในปี 1968 ซึ่งย่อมาจาก Integrated Electronics เป็นซีอีโอของอินเทลระหว่างปี 1979-1987 จากนั้นเป็นประธานบอร์ดของอินเทลจนถึงปี 1997

คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ Altair 8800 ไม่ได้มีความเป็นคอมพิวเตอร์ เพราะไม่มีหน้าจอ คีย์บอร์ด และ Software ที่ Altair 8800 ถือว่าเป็น PC เครื่องแรกของโลก

Altair 8800 ที่จะมาเปลี่ยนวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

Altair 8800 ที่เป็นหัวใจให้ Intel 8080 ในขนาดที่เล็ก ราคาที่ถูกกว่า

ในที่สุด Intel 8080 ออกมาในปี 1975 สามารถทำออกมาได้อย่างที่พูดเอาไว้

ปี 1976 ที่มี Single Board Computer ที่เป็นเวอร์ชั่นสั่งทำพิเศษ

เราคงคุ้นเคยกับโปรเซสเซอร์ แต่นี้เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ ที่เป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนวงการคอมพิวเตอร์

Intel 8748 ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตัวแรกของโลกที่เป็นรูปแบบชิพตัวเดียว ที่ทำให้การออกแบบส่วนประกอบง่ายมากขึ้น

แผ่นเวเฟอร์ของ Intel 8748 และ 8048 และ Intel 8051 ที่เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ออกมาในยุค 1980 ออกแบบมาใช้งานภายในรถยนต์

แผ่นเวเฟอร์ของ Intel 80C49 และ 80C51 ไมโครคอนโทรลเลอร์ในยุค 1983 ที่มีการพัฒนาประสิทธิสูง การประมวลผลรวดเร็วมากขึ้น การผลิตที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม

เด็กรุ่นใหม่พูดไปก็ไม่เชื่อ ก่อนหน้าปี 1971 เครื่องคิดเงินมันคือความซัพซ้อนของเทคโนโลยีในสมัยนั้น ที่ Intel เป็นหนึ่งหัวใจหลักในเครื่องนี้ ที่ตัวเล็กลง

เทียบกัน ก่อนหน้าปี 1971 ต้องใช้วงจรขนาดใหญ่ แต่พอมาปี 1971 ที่ Intel ออกโปรเซสเซอร์ ความสามารถที่เทียบเท่า แต่ขนาดเล็กลง ออกแบบได้หลากหลาย

โปรเซสเซอร์สำหรับเครื่องคิดเงินที่ Intel มีการพัฒนาให้ประสิทธิภาพดีขึ้น ขนาดเล็กลงตามยุค

การออกแบบโปรเซสเซอร์ Intel 4004 ที่ขนาดการผลิตยังใหญ่ และ ไม่ซับซ้อนมาก

เรามาดูสิ่งที่ไม่คุ้นตา แต่ Intel เค้าทำมานานแล้ว

ปี 1972 ที่ Intel IN-10 ที่เป็นเมโมรีบอร์ด ใช้งานในระดับองค์กร

ในสมัยก่อนการออกแบบอะไรก็ต้องมาเป็นในรูปแบบแผงวงจร นี่คือต้นแบบไมโครโปรเซสเซอร์ ในปี 1972

intel intellec 4/ Mod 40 Microcomputer คอมพิวเตอร์เป็นแบบต้นแบบ ในปี 1970 คอมพิวเตอร์ Intellec เป็นหนึ่งในไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกวางตลาด

ปี 1970 ที่มี Intel 1130 DRAM vs Core Memory ออกมา

แถบล่างสุด SRAM ต้นกำเนิด DRAM ที่เราใช้กันทุกวันนี้ ที่ SRAM เร็วกว่า DRAM แต่ต้องมีไฟเลี้ยงข้อมูลยังคงอยู่

intel intellec 4/ Mod 40 Microcomputer การใช้งานที่ไม่ธรรมดาในสมัยนั้น มาพร้อมกับราคาที่ไม่ธรรมดาด้วยเช่นกัน แค่ 2672 USD ในปี 1968

เรามาชมการเก็บข้อมูลใน EPROM จนมาถึง NAND Flash

EPROM ที่ Intel 1702 ในปี 1971 ที่อ่านได้อย่างเดียว จนมาถึง Intel 2816 ในปี 1980 รองรับการลบที่เป็นรูปแบบการ Flash ข้อมูลทับลงไป จะมีความหนาแน่นกว่ามาก ต่อมาที่ปี 1996 Miniflash ที่พูดกันให้เข้าใจมันคือต้นตำหรับ SD CARD

มาถึงปี 1997 กับ Intel StrataFlash ที่เป็น Flash Memory ประสิทธิภาพสูงใช้งานในโทรศัพย์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา อุปกรณ์พกพา ในปี 2010 ที่มีการออกมาของ 25nm NAND Flash Memory แบบ 3Bit ต่อเซล ที่มีขนาดเล็กลงแต่ได้ความจุที่สูงขึ้น

บรรยากาศรอบๆมิวเซียมของอินเทล ขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่อัดแน่นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่น่าสนใจ