สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน เราจะมาพูดถึงความเป็นมาของมาตรฐาน Wi-Fi ตั้งแต่อดีตจนถึงมาตรฐานล่าสุด Wi-Fi 6E เป็นการอัพเกรดมาตรฐาน Wi-Fi 6 เพื่อเพิ่มควาทะลุทะลวงและรองรับการใช้งานลูกข่ายที่หนาแน่นได้เป็นอย่างดี ที่แน่นอนว่าการมาของ Wi-Fi ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตร่วมกับอุปกรณ์ไอทีในยุคสมัย 2020 ที่ไม่ได้แต่เพียงการใช้งานภายในบ้าน ยังรวมไปถึงการใช้งานในองค์กร และ นอกสถานที่ได้อย่างสะดวกสบาย แต่อันที่จริงจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี Wi-Fi มันเริ่มต้นกำเนิดในปี 1985
Internet - Network - Wireless
การใช้งานเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย ที่โดยรวมไปแล้วก็ยังต้องมีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพตามความน่าจะเป็น แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้การใช้งานภายในบ้าน เพียงแค่ All in one Wireless Router มันก็สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในสมัยก่อนอุปกรณ์เครือข่ายนั้นยุบยับกันไปหมด
Institute of Electrical and Electronics Engineers: IEEE
IEEE 802.11 คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สายถูกกำหนดโดย สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers: IEEE) เป็นมาตรฐานกลาง โดยมาตรฐานแรกที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อปี 1997 รับส่งข้อมูลบนย่านความถี่ 2.4 Ghz แบนวิท 20 Mhz ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อ 2 Mbps โดบหลังจากนั้นก็จะมีการพัฒนาต่อยอดกันมาเรื่อยๆ
1. IEEE 802.11b หรือ Wi-Fi 1 ออกมาปี 1999 ความเร็วในการเชื่อมต่อให้สูงสุดที่ 11 Mbps รับส่งข้อมูลบนย่านความถี่ 2.4 Ghz ถึงแม้มาตรฐาน Wi-Fi 2 นั้นจะมีการพัฒนาเพิ่มเติมความปลอดภัยเข้ามาแบบ WPE 128 บิต จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปใช้งานในองค์กร หรือ สถานที่สาธารณะมากขึ้น ในบ้านเราอินเตอร์เน็ตยังไม่มีความแพร่หลายมาก ถ้าเรามองกันตรงปีที่ออกมา บ้านเรายังเป็นเรื่องที่ห่างไกลนัก
2. IEEE 802.11a หรือ Wi-Fi 2 ออกมาปี 1999 ที่เป็นการพัฒนาเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อให้สูงสุดที่ 54 Mbps รับส่งข้อมูลบนย่านความถี่ 5 Ghz ที่มีสัญญาณรบกวนต่ำกว่า 2.4 Ghz ด้อยกว่า 802.11b เพราะมันทะลุทะลวงสู้ไม่ได้ แต่ในยุคสมัยนั้น หลายประเทศจะมีปัญหาเรื่องสัญญาณความถี่ย่าน 5 Ghz พร้อมกับราคาอุปกรณ์ที่สูง เลยไม่เป็นที่นิยม
3. IEEE 802.11g หรือ Wi-Fi 3 ออกมาปี 2003 ถ้าเรามองที่เทคโนโลยีในยุคนี้คงเป็นยุคที่พีคที่สุดในการใช้งานของบ้านเรา ใครอยู่หอพัก หรือ อพาร์ตเมนต์ คงจะคุ้นเคยกัน Linksys WRT54GL ตัวสีน้ำเงินสองเสากันบ้าง โดยมาตรฐาน IEEE 802.11g เป็นการนำเทคโนโลยีจาก IEEE 802.11a มาพัฒนาด้วยการใช้ความถี่ 2.4 Ghz ที่สามารถใช้งานได้ความเร็วสูงสุด 54 Mbps โดยในมาตรฐาน IEEE 802.11g ยังมีการพัฒนาจากผู้ผลิตชิพ ที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกันที่ความเร็วสูงสุด 108 Mbps เท่าที่ผมจำได้เคยใช้กับ Wireless Router ของ 3Com ผนวกับ Wireless Adpater จาก D-Link รู้ว่าแพงกว่าปกติ แต่เวลาเชื่อมต่อกันแล้วสถานะแสดงที่ความเร็ว 108 Mbps แล้วรู้สึกฟินกับการเสียเงิน
มาถึงกับมาตรฐานของการเชื่อมต่อไร้สายในยุคใหม่ ที่จะมีการใช้ย่านความถี่แบบ Dual Band ทั้ง 2.4 และ 5 Ghz เข้ามาใช้งาน ที่ในยุคนี้จะมีการพัฒนาความเร็วในการเชื่อมต่อมาตรฐานให้มีความเร็วเข้าใกล้กับระดับ 100 - 1000 Mbps ที่เริ่มมาใช้งานทดแทนสายแลนได้ดีขึ้น
4. IEEE 802.11n หรือ Wi-Fi 4 ออกมาปี 2009 นอกจากพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 600 Mbps อีกทั้งยังมีการพัฒนาระยะความไกลได้มากขึ้น พร้อมกับการพัฒนาในแง่การใช้งานของการ รับและส่งข้อมูลพร้อมกันหลายลูกข่ายได้สูงสุด 4 สตรีมพร้อมกัน
5. IEEE 802.11ac หรือ Wi-Fi 5 ออกมาปี 2012 เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สาย ที่สามารถสร้างทรูพุทในระดับ Gigabit Ethernet โดยในยุคเทคโนโลยี Wi-Fi 5 จะมีการใช้แบนวิตกว้าง 160 Mhz ในการพัฒนาในแง่การใช้งานของการ รับและส่งข้อมูลพร้อมกันหลายลูกข่ายได้สูงสุด 8 ลูกข่ายพร้อมกัน เรียกไดว่าเป็นอีกความสุดของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย
6. 802.11ax หรือ Wi-Fi 6 ออกมาปี 2019 โดยตั้งแต่ปี 2018 ทาง Wi-Fi Alliance ได้มีการตัด "IEEE" ออกไป เพื่อความเข้าใจง่าย และ สะดวกต่อการเรียกมาตรฐานของ Wi-Fi กันมากขึ้น โดยในยุคของ Wi-Fi 6 จะเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Wi-Fi 5 กันเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลได้สูงมากขึ้น เรียกได้ว่ามีความเข้าใกล้ Gigabit Ethernet ง่ายมากขึ้น พร้อมกับการใส่ฟีเจอร์การใช้งานและปรับปรุงให้ดีกว่า Wi-Fi 5 ที่ทำให้ Wi-Fi 6 นั้นมีค่าความหน่วง ,ประสิทธิภาพที่ดีแม้การใช้งานหนาแน่น ,ประหยัดพลังงาน , การใช้งานหลายลูกข่ายในคราวเดียวกันกับอุปกรณ์ที่รองรับ MU-MIMO ,การเข้ารหัสและถอดรหัสได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นอีกหนึ่งยุคที่มีความสุดของเทคโนโลยีไร้สาย ที่ตอบโจทย์การใช้งานยุคอินเตอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง และ IoT
มาถึงกับมาตรฐานในยุค 2020 กับ Wi-Fi 6 Extends ที่ยังคงพื้นฐานมาตรฐาน 802.11ax แต่เป็นการปรับปรุงด้วยการเพิ่มช่องย่านความถี่ 6 Ghz ที่ทำให้ Wi-Fi 6E รองรับการใช้งานจากลูกข่ายเป็นจำนวนมาก โดยสภาวะแวดล้อมจะเป็นเช่นไร หรือ ผู้ใช้งานจำนวนมากเพียงใด Wi-Fi 6E มาตรฐานนี้ รับมือได้สบาย แต่ยังไม่มีการนำออกมาใช้อย่างเป็นทางการเป็นเพียงแค่การออกมาของมาตรฐานเท่านั้น ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะเป็นหมันเหมือนมาตรฐาน Wireless AD หรือไม่นะครับ
ในยุคของ Wi-Fi 6 ที่เราจะสามารถสัมผัสการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยดารเชื่อมต่อไร้สาย กับความเร็วที่เข้าใกล้ระดับ Gigabit ได้เป็นจริง โดยในภาพตัวอย่างความเร็วยังไม่ใช่ที่สุดของ Wi-Fi 6
อันนี้อาจะพูดขัดแย้งก้บเทคโนโลยีที่เล่ามา Wi-Fi 6 ในการใช้งานจริงของ Wireless Router ระดับเริ่มต้น ในแง่ของความครอบคลุมของสัญญาณและประสิทธิภาพในการใช้งาน บางทียังอาจสู้กับ Wi-Fi 5 Router ประสิทธิภาพสูงไม่ได้ ก็พอมีให้เห็นได้เหมือนกัน
อีกหนึ่งความสะดวกสบายของยุคนี้ กับการใช้งานพื้นที่จำนวนมาก เทคโนโลยี Mesh Wi-Fi ที่ช่วยเพิ่มความครอบคลุมของพื้นที่ โดยไม่ต้องเดินสายแลน ที่สำคัญในการใช้งาน SSID เดียวกัน ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกมากขึ้น ที่เราได้เห็น Mesh Wi-Fi มาตั้งแต่ยุคสมัย Wireless AC หรือ Wi-Fi 5
Conclusion
วันนี้ที่เรามาได้พูดถึงความเป็นมาของเทคโนโลยี Wi-Fi หรือ Wireless Lan แน่นอนกว่าการพัฒนาของเทคโนโลยี Wi-Fi ที่จะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ที่นอกจากความสะดวกสบายไม่ต่องเชื่อมต่อสายแลน แต่ก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานต่อทุกสภาวะ รวมไปถึงการใช้งานลูกข่ายจำนวนมากได้พร้อมกัน เดี๋ยวคราวหน้าเราจะมาพูดถึงหลักการเบื้องต้นของ Internet - Network - Wireless เพื่อให้มีความเข้าใจกันก่อนว่าการอัพเกรด Wireless Router ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปกับ Wireless Router ราคาแพง ที่มีสเป็คสูงๆ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ