หลังจากที่ทาง AMD ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen 3 3300X และ 3100 พร้อมกับเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD B550 ก็สร้างกระแสความน่าสนใจในตลาดของ Desktop DIY ราคาประหยัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นนอนว่า AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 จะวางแผงก่อนเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD B550 ครับ โดยวันนี้จะเป็นการรีวิว AMD Ryzen 3 3100 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 กับขนาดขบวนการผลิต 7 nm. ในราคาที่ถูกที่สุด โดยทางด้านคอร์และเทรดที่ไม่ได้แตกต่างกัน ส่วนทางด้านความแตกต่างของ AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 จะอยู่ที่ Core Complex หรือ CCX เป็นหลักครับ วันนี้เราก็จะมาเล่าถึงรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนความแตกต่างของ AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 พร้อมกับเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD B550
เมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD B550 ที่เกิดมาราคาประหยัด รองรับการใช้งานร่วมกับ AMD Ryzen 3000 Series ได้อย่างเต็มรูปแบบ แถมยังรองรับอนาคตกับซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 3 อีกด้วยครับ
เปรียบเทียบความแตกต่างของ B550 และ X570 ที่ต่างกันใน PCIe ที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์และเชื่อมต่อกับระบบ เอาง่ายๆว่า การ์ดจอและสตอเรจ รองรับ PCI-e 4.0 แน่นอน
AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 ถ้าเรามองกันที่สเป็คนั้นมันไม่ได้ต่างกันมาก แต่ Ryzen 3 3300X มี 4C/8T จาก Core Complex หรือ CCX 1 ชุด แต่ Ryzen 3 3100 มี 4C/8T จาก Core Complex หรือ CCX 2 ชุด ซึ่งก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน คงอารมณ์สมาร์ทโฟนสมัยนี้ ที่ดูแต่สเป็คของความละเอียดกล้องไม่ได้ต้องมาดูกันที่การออกแบบและองค์ประกอบอื่นๆด้วย
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่จะเป็น AMD แบบดั่งเดิมมาตั้งแต่ในยุค AMD Athlon 64 เพิ่มเติมมาคือจำนวนขาตามแต่ละซ็อกเก็ต ที่จะเป็นกระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างๆมาตามแบบฉบับของ AMD เรียกได้ว่าซีพียูตัวเดียวผ่านมา 3 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา ,ไต้หวัน และ สุดท้ายประกอบที่จีน ไม่ได้แตกต่างจาก AMD Ryzen 3000 Series โมเดลอื่นๆ
แพ็คเกจ AM4 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 400 Series และ 500 Series
ชุดระบายความร้อน AMD Wraith Stealth ที่ทาง AMD นั้นได้ส่งมาให้พร้อมกับ CPU ซึ่งถ้าใช้งานเดิมๆ Wraith Stealth มันก็เอาอยู่กับค่า TDP 65 Watt ครับ ซึ่งหลายๆคนอาจจะบอกว่ามันร้อน โดยส่วนตัวก็ว่าตามนั้น แต่ถ้าเคสระบายความร้อนดีๆ ใช้งานปกติมันก็เอาอยู่ครับ
เทคโนโลยีและฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีมากับ AMD Ryzen 3 3100 ไม่ได้แตกต่างจากรุ่นพี่ เพราะมันคือ ZEN 2 แบบ 7 nm. โดยจะมี Base Clock 3.6 Ghz และ Max Boost Clock 3.9 Ghz ที่ดูแล้วด้อยกว่า Ryzen 3 3300X ในระดับนึง
ในการสื่อสารระหว่าง VGA ,SSD และ Chipset ที่เป็นการสื่อสารตรงกับซีพียู
ข้อสังเกตุของ Ryzen 3 3100 ที่จะเป็น Cache L3 ก่อนด้วยกัน เนื่องจากมันใช้ CCX เป็นสองชุดของ 4 Core / 8 Threads
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ASUS TUF Gaming X570-Plus
- VGA : ASUS GeForce RTX2060 Turbo
- Memory : G.Skill Trident-Z NEO 3600Mhz 32GB Kit
- CPU Cooler : AMD Wraith Stealth
- SSD : Intel SSD 600P 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen Banlance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
AMD Ryzen 3 3100 ถ้าเรามองที่แง่มุมของประสิทธิภาพที่จากการทดสอบทำแน่นอนว่ามันออกมาด้อยกว่า Ryzen 3 3300X แต่ AMD Ryzen 3 3100 ก็ยังคงให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลของ 4 Core 8 Threads ได้เป็นอย่างดีในราคาที่คุ้มค่า โดยส่วนต่างทียบกับ Ryzen 3 3300X ที่ 21 USD ที่อาจจะไปเพิ่มอุปกรณ์ส่วนอื่นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ อย่างเช่นกราฟฟิกการ์ดที่แรงขึ้น ,สตอเรจความจุสูง และ แรมบัสระดับเกิน 3200Mhz+ ที่โดยภาพรวมอาจะส่งผลต่อการใช้งาน AMD Ryzen 3 3100 ที่ดีมากขึ้นถ้าเทียบกับการใช้ Ryzen 3 3300X แบบต้องมาลดโน้นลดนี่ โดย AMD Ryzen 3 3100 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด AMD B450 ,X470 ,X570 และ B550 ที่จัดได้ว่ามีทางเลือกอันหลากหลายของเมนบอร์ดได้เป็นอย่างดี ที่จะจัดแบบประหยัดงบสุดๆ หรือ เน้นเตรียมพร้อมรออัพเกรดไปสู่ Ryzen 4000 Series ที่ก็แล้วแต่ใจของท่านกันเลย ทางด้านประสิทธิภาพ ในการใช้งานทั่วไป การเล่นเกม และ การทำงาน ที่ AMD Ryzen 3 3100 สามารถตอบสนองได้ดีด้วยซีพียูแบบ 4 คอร์ 8 เทรด ราคาคาดเดาของคงกับ AMD Ryzen 3 3100 คงอยู่ที่สามพันต้นๆ เรียกได้ว่าน่าสนใจดีกับซีพียูที่สถาปัตยกรรม Zen 2 กับขนาดขบวนการผลิต 7 nm. ในราคาที่สบายกระเป๋าที่สุด สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : 3,XXX บาท
Special Thanks : AMD Far East | Thailand