สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน หลังจากที่ ROG ได้มีการนำเสนอการใช้ GaN MOSFET ประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากกว่า MOSFET มาตรฐานถึง 30% มาซักพักแล้ว พอมาถึงมาตรฐาน ATX 3.1 ออกมา ROG ก็ได้ส่ง THOR 1200W Platinum III ที่ชูจุดเด่นกับการตรวจจับแรงดันไฟฟ้าแบบ GPU-First ด้วยตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัจฉริยะที่จดสิทธิบัตร (IVS) เปิดใช้งานการตรวจจับแรงดันไฟฟ้าแบบ "GPU-First" โดยเชื่อมต่อสายเคเบิล IVS เพิ่มเสถียรภาพของแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 45% แม้ในช่วงการเล่นเกมที่ต้องใช้พลังงานสูง รวมไปถึงตลอดการโอเวอร์คล็อก และ จอแสดงผล OLED แบบแม่เหล็กที่ถอดออกได้นี้ แสดงการใช้พลังงานแบบเรียลไทม์ การติดตั้งแบบแม่เหล็กสามารถสลับไปได้ ในการติดตั้ง PSU แบบพัดลมขึ้นหรือพัดลมลง ROG Thor 1200W Platinum III ได้รับการรับรอง 80 PLUS Platinum มั่นใจกับคุณภาพในการจ่ายพลังงาน อีกทั้งยังมีโหมดเทอร์โบ ที่สามารถปรับการทำงานของพัดลมระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น แต่การออกแบบใช้ตัวเก็บประจุญี่ปุ่นที่มีค่า ESR ต่ำเพื่อให้มั่นใจถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่รับประกันประสิทธิภาพ 89% ที่โหลด 100% และประสิทธิภาพ 92% ที่โหลด 50% ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความร้อนลดลง เสียงพัดลมลดลง และความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น พร้อมกับสายสายเคเบิลโมดูลาร์ที่ด้วยวัสดุพรีเมียมที่ยืดหยุ่นได้ช่วยให้จัดการสายเคเบิลได้อย่างง่ายมาก เรียกได้ว่าดุดัน ไม่เสียชื่อ ROG กันอย่างแน่นอน
Package & Bundled
แพ็คเกจที่ยังคงมาตามแบบฉบับ ROG ด้วยกล่องธีมดำและแดง ด้านหน้ามีกระบอกความเป็น THOR 1200W Platinum III ชัดเจน
คู่มือการใช้งาน ,น็อตยึดเคส ,เข็มขัดรัดสายไฟ ,ที่เก็บสายไฟ และ โลโก้ ROG สำหรับติดในที่ต้องการ
ในชุดมีสาย AC ท้าย C13 หัวเสียบแบบ Type O ตามมาตรฐาน มอก. ประเทศไทย
ในส่วนของตัวสายที่จะเป็นสายสีดำ ที่ดูเรียบง่ายแต่สวยงามดี ผลิตจากวัสดุพรีเมียมที่มีความยืดหยุ่น จึงมีความยืดหยุ่นสูงในการติดตั้ง และสามารถทำงานได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าขีดจำกัดความปลอดภัย 50°C เมื่อจัดวางสายเคเบิลเพื่อจัดการ สายเคเบิลเหล่านี้ยังตรงตามมาตรฐานอันเข้มงวดของการทดสอบเปลวไฟ UL1581 และการรับรอง UL758 ช่วยให้มั่นใจได้ ซึ่งด้วยความเป็นพาวเวอร์ซัพพลายแบบ Full Modular ถ้าต้องการความสุดที่สายความยาวพอดี ไม่ต้องไปซุกซ่อนด้านหลังเคส รวมไปถึงสายรูปแบบต่างๆ ก็เอามาขึ้นสายใหม่เข้าหัวเองได้ โดยสายที่ให้มาจะถูกหุ้มเป็นเส้นๆ ไม่มีการมัดรวมกัน การจัดสายง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่จัดก็ดูไม่สวยงาม
ในส่วนของตัวสายที่จะเป็นสายสีดำหุ้มด้วยวัสดุสีดำทุกเส้น การเดินในเคสที่ง่ายมาก
Design & Detail
ROG Thor 1200W Platinum III ตัวพาวเวอร์ซัพพลายจะเป็นแบบมาตรฐาน ATX สัดส่วน 190 x 150 x 86 มม. หนัก 2.37 กก. บอดี้ใช้เหล็กปั๊มขึ้นรูปพ่นสีแบบไฟฟ้า เล่นลวดลายที่ดูโดดเด่น โลโก้ ROG มีไฟ พร้อมการเล่นพื้นผิวเหมือนกระจกเงา และ มีการใช้อลูมิเนียมทำเป็นตระแกรงพัดลม พร้อมโครงบางส่วน
ด้านข้างอีกข้างนึง จะมีโลโก้ ROG ที่ไม่มีไฟ แต่ ROG ที่ดูโดดเด่นไม่แพ้กัน โดนส่วนโลโก้ THOR เป็นยาง ที่สามารถถอดออกได้ เพื่อใส่โลโก้
การเชื่อมต่อสายเป็นในรูปแบบ Full Modular ที่การออกแบบภายนอกเราจะเห็นได้ว่ามันอัดแน่น เพราะการใช้งานตามกำลังของพาวเวอร์ซัพพลายตัวนี้ ดูกันชัดๆ 16 Pin หรือ PCIe Gen 5.1 มีมาให้ใช้งาน พร้อมฟีเจอร์ GPU-First ที่สามารถใช้ได้กับ 12V-2X6 เท่านั้น ถ้าใช้ 8 Pin จะไม่สามารถใช้งาน GPU-First ได้ แล้วขั้วต่อ PCIe ที่ได้รับการอัปเกรดพินทองแดง มีคุณสมบัติการนำความร้อนที่เหนือกว่า เพื่อช่วยให้การทำงานเย็นลงและประสิทธิภาพการจ่ายไฟดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิของขั้วต่อลดลงเสริมประสิทธิภาพและความเสถียรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการ์ดกราฟิกที่ต้องการประสิทธิภาพสูงที่สุด
สเปกความสามารถในการจ่ายพลังงานที่ Full Modular จะคิดตามสเปคไฟ 12V เท่านั้น ออกมาเป็น 1200 Watt พอดิบพอดี ซึ่งในการโอเวอร์คล็อกหรือใช้งานระดับ Workstation ไม่ว่าจะเป็นการใช้ซีพียู หรือ การ์ดจอ มีพาวเวอร์กำลังสูงไว้อุ่นใจครับ
ช่องตระแกรงระบายความร้อนทื่เป็นตระแกรงรังผึ้ง ถัดมากับสวิสซ์เปิดปิด ,เต้ารับ IEC C14 แบบที่ใช้งานกันทั่วไป และ ปุ่ม Turbo
ตะแกรงพัดลมอลูมิเนียมที่มีความสวยงาม และ เล่นลวดลาย ด้วยการตัดสีอลูมิเนียม เป็นโลโก้ ROG โดยพัดลมระบายความร้อนขนาด 14 ซม. แบบบางที่เป็น Axial-Tech Fan เน้นเสียงรบกวนต่ำ ในการทำงานไม่หนักมากพัดลมจะไม่ทำงาน โดยเป็นพัดลมแบบ Dual Ball Bearings อีกด้วย มาถึงในส่วนแผงวงจรการทำงานหลักของพาวเวอร์ซัพพลาย เมื่อมองข้างในแล้วเราจะเห็นว่าการออกแบบมีความสามารถเจอกับไฟได้สบาย พร้อมกับการเลือกใช้อุปกรณ์ดูดีมีคุณภาพ คาปาซิเตอร์ภาคฟิวเตอร์ ของญี่ปุ่นแน่นอนของ Nichicon ในวงจรกรองกระแสต่างๆ ที่มีการใช้คาปาซิเตอร์ คาปาซิเตอร์โซลิตในวงจรฟิวเตอร์ อีกหนึ่งหัวใจหลักสำคัญของพาวเวอร์ซัพพลายแบบถอดสายได้ ซึ่งการออกแบบในส่วนแผ่น PCB ที่จะมีการใช้แผ่นทองแดงที่มีความหนา เพื่อให้การจ่ายพลังงานมีเสถียรภาพ ซึ่งจุดด้อยของ Full Modular นอกจากเต้ารับไม่แน่นที่จะเกิดความร้อนและความเสียหายได้ ที่สำคัญคือในแผงวงจรส่วนนี้ด้วย ถ้าแผ่นทองแดงบาง วงจรไม่ดีก็สร้างปัญหาได้ ในเรื่องเสถียรภาพในการใช้งาน จะเป็นการใช้งานหนัก หรือ การใช้งานที่มีการแบบกระชาก รองรับได้สบาย พร้อมการออกแบบภายในด้วยฮีทซิ้งอย่างสวยงามที่มีโลโก้ ROG
คาปาซิเตอร์ภาคฟิวเตอร์ ของญี่ปุ่นแน่นอนของ Nichicon
ฮีทซิงค์ ROG ช่วยให้ลดอุณหภูมิลง อายุการใช้งานของชิ้นส่วนยาวนานขึ้น และทำงานที่ 0dB ได้นานขึ้น
มุมที่เป็นโลโก้ THOR ที่ติดสว่างเมื่อทำงาน
สาย 24 พิน ความยาว 610 มม.
สาย 8 พิน หรือ 4+4 พิน สำหรับซีพียู มี 2 เส้น ยาว 1000 มม. สีที่เป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้ระบุสายเคเบิลได้ง่ายขึ้นระหว่างการติดตั้ง
สาย 6+2 พิน (8 พิน) สำหรับต่อการ์ดจอ ยาว 750 มม. มี 4 เส้น
SATA เป็นแบบ 1 ไป 4 (400 + 120 + 120 +120มม.) และ 1 ไป 3 (400 + 120 + 120มม.)
Molex แบบ 1 ไป 3 (400 + 150 + 150มม.)
ตัวต่อ RGB ลงที่เมนบอร์ดแบบ 3 Pin หรือ 5V ที่รองรับ AURA Sync ความยาวสาย 800 มม.
สาย PCI Express Gen 5.1 หริอ 16 พิน ยาว 750 มม.
ที่จะมีการเชื่อมต่อ GPU First พร้อมหวีจัดเรียงสายมาให้พร้อมใช้งาน
ไฟ RGB จะติดสว่างเมื่อทำงาน ถ้าไม่ต่อสาย ARGB และ ปรับแต่งโหมดไฟจะวิ่งวนไปเรื่อยๆ
ที่หน้าจอจะติด THOR เมื่อเปิดทำงาน
โลโก้ ROG ก่อนระบบบูตเข้าระบบปฎิบัติการ
การแสดงระดับการใช้พลังงานในรูปแบบแบบที่ไม่เปิดพัดลม Turbo
การแสดงระดับการใช้พลังงานในรูปแบบแบบที่เปิดพัดลม Turbo มีคำว่า Turbo ที่ด้านล่าง
หน้าจอ OLED ยึดติดด้วยแม่เหล็ก สามารถถอดออกเพื่อสลับข้าง หรือ ถอดไป เพื่อค่าพลังงานได้อย่างคุ้มค่าดีขึ้น
ความคุ้มค่าของพลังงานที่เมื่อถอดจอ OLED ออกจะดีเพิ่มอีกเล็กน้อย
การแสดงระดับการใช้พลังงาน ในกรณีที่ถอดสลับจอมาอยู่อีกฝั่งของพาวเวอร์ จะไม่มีไฟ RGB เป็นโลโก้ ROG จอแสดงผล OLED แบบแม่เหล็กที่ถอดออกได้นี้จะแสดงการใช้พลังงานแบบเรียลไทม์ การติดตั้งแบบแม่เหล็กสามารถสลับไปได้ทั้งด้านของอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง PSU แบบพัดลมขึ้นหรือพัดลมลง ขึ้นอยู่กับการออกแบบเคส
Conclusion
ROG Thor 1200W Platinum III กับจุดเด่นด้วยพาวเวอร์ซัพพลายขนาด ATX ยาว 190 มม. ที่มาพร้อม GaN MOSFET ที่เด่นด้วยฟีเจอร์ GPU-First และ หน้าจอ OLED ที่สามารถถอดสลับ หรือ ถอดออกไปเพื่อการสิ้นเปลืองพลังงานที่ดีขึ้น กำลังระดับโรงไฟฟ้า 1200 วัตต์ ในมาตรฐาน 80 PLUS Platinum ในยุค ATX 3.1 ที่ ROG Thor 1200W Platinum III มีการอัพเกรดภายในให้ดีกว่า ROG Thor 1200W Platinum และ ROG Thor 1200W Platinum II กับการออกแบบให้ ROG Thor 1200W Platinum III มีเสียงรบกวนทำงานต่ำมาก หรือ มันแทบไม่ได้ยินเสียงตลอกการลองการใช้งาน มันก็คือพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพในระดับไฮเอนด์ ที่ตอกย้ำความเป็น ROG ที่มาพร้อมกับมาตรฐาน 80+ Platinum ตอบโจทย์เกมเมอร์ขาโหด ,นักโอเวอร์คล็อก รวมถึงคอมพิวเตอร์ระดับสูงอย่างเช่น 3D Workstation หรือ ซีพียูจำนวนคอร์มาก ที่ไม่เน้นกำลังมากเกินไป ที่ 1200 วัตต์ กำลังดี ในการใช้งานยุค RTX50 Series ที่การใช้งานสามารถทำออกมาได้ดี ไฟสวยรองรับ RGB หรือ Aura Sync มีหน้าจอ OLED บอกระดับการสิ้นเปลืองพลังงาน เป็นความน่าสนใจของผู้ที่กำลังมองหาพาวเวอร์ซัพพลายคุณภาพสูงจากการออกแบบและการคัดสรรค์อุปกรณ์ข้างใน ถูกใจกับพาวเวอร์ซัพพลายแบบถอดสายได้ เพื่อการจัดภายในเคสให้เรียบร้อย พร้อมความโดดเด่นในแบบฉบับ ROG ในราคาที่ประมาณหมื่นปลายๆ ใครจะได้ถูกลงกว่านี้ขึ้นกับการกดส่วนลดและโปรโมชั่นจากผู้ขายด้วย สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.