สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน วันนี้จะมากับช่วงเล่าย้อนอดีต ในตอนแรกเราจะมาพูดถึงของเรื่องราวเกี่ยวกับการปลอมซีพียู แต่ถ้าพูดว่าปลอมมันก็ไม่ถูกต้องนัก จะต้องเรียกว่าเป็นการ "Remark" แต่มันเป็นการที่ซื้อไปแล้วสามารถใช้งานได้ ไม่ได้เป็นการทำปลอมแบบการหลอกลวงในการปลอมซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดแบบสมัยนี้ ที่เราพอเห็นกันได้ในยุคนี้ เช่นเอาการ์ดจอ GeForce GTX9XX มาหลอกว่าเป็น GeForce GTX1050 สมัยที่เหมืองคริปโตเฟื่องฟู ที่ปลอมแล้วไม่สามารถใช้งานได้จริงตามซื้อที่มา แต่กับการ Remark หรือ ปลอมซีพียูที่เราจะมาเล่าในวันนี้นั้นจะเป็นการปลอมแปลงแต่อาจจะสามารถใช้งานได้จริงตามที่ได้มีการระบุเอาไว้บนตัวสินค้า ถ้าระบายความร้อนดีพอ
ซีพียูปลอม ?
ในภาพคือ AMD Duron สถาปัตยกรรม "Spitfire" ใน Socket 462 ที่ตัวนี้จะเป็นระดับ Mainstream ที่รองลงมาจาก AMD Thunderbird ด้วยการลด Cache L2 จาก 256KB เหลือ 64 KB ในยุค AMD K7 ซึ่งในการโอเวอร์คล็อกของซีพียูสมัยก่อนนั้นมันไม่ได้ง่ายกันแบบสมัยนี้ จะต้องเป็นการเพิ่มความเร็วของ Front Sied Bus เท่านั้น แล้วเมนบอร์ดในยุคนั้นต้องใช้การสับจั๊มเปอร์เพื่อให้ Front Side Bus วิ่งตามที่เราจะโอเวอร์คล็อกเอาไว้ ต้องเมนบอร์ดหลังจากยุคนั้นถึงจะมาปรับ Front Side Bus จาก Bios แบบง่ายดาย แน่นอนว่าการโอเวอร์คล็อกนั้นต้องมีปัจจัยจาก ตัวคูณของซีพียู คูณกับ Front Side Bus จึงออกมาเป็นค่าสัญญาณนาฬิกาในการประมวผล แต่ซีพียูในยุคนั้นอย่าง AMD Duron รวมไปถึง AMD Thunderbird ที่จะมีจุดที่สามารถโมดิฟายเพื่อปรับตัวคูณของซีพียู ตามภาพจะเป็นจุดสีแดง สามารถตัดลายวงจร และ ใช้ดินสอ 2B หรือ ปากกาเชื่อมลายวงจรมาขีดเชื่อม เพื่อให้ได้ตัวคูณของซีพียูตามความต้องการ ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้พ่อค้าหัวใส ปลอมแปลงรุ่นถูกมาขายในรุ่นที่แพงขึ้นนั้นเอง ในภาพนี้เป็นซีพียูที่ถูกปลอมแปลงมานะครับ
ความแตกเพราะแกะชุดระบายความร้อนออกมา ก็ทำให้พบเจอกับคอร์ปลอมที่ผู้ขายตั้งใจแปะทับลงคอร์จริงๆ ซึ่งถ้าดูจากสีผิวผู้ขายตั้งใจทำให้ดูคล้ายกับน้ำยาที่เคลือบทับหน้าคอร์มากๆ ใครเล่นซีพียู AMD ในยุคนั้นคงจะเห็นกับว่า CPU แต่ละ Week ใช้สีของน้ำยาเคลีอบที่แตกต่างกันบ้าง จะไม่เหมือนกันทุกๆ Week
เรามาดูจุดแตกต่างของคอร์ปลอมที่ทางผู้ขายทำออกมาคือ การจัดวางและรูปแบบของตัวหนังสือที่มีความแตกต่างจากของแท้ ที่ทางผู้ขายทำมาแปะทับบนตัวคอร์ของซีพียู ถ้าสังเกตุดีๆ เราจะเห็นความแตกต่างจากของแท้ได้พอสมควร แต่ถ้ามองผ่านๆมันทำออกมาใกล้เคียงกันมาก เพื่อให้เข้าใจผิดว่าซีพียูตัวนี้คือ AMD Duron 900 Mhz ทั้งที่จริงมันคือ AMD Duron 750 Mhz
เอาเป็นว่าในยุคนั้นหลายๆคน ก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองได้ใช้งานซีพียูที่ถูกทำการปลอมแปลงหรือ Remark กว่าจะรู้ตัวก็ตกรุ่นไปแล้วหรือเมนบอร์ดคาปาซิเตอร์บวม ตัวอย่างที่เอามาให้ชมได้ถูกปลอมแปลงจาก AMD Duron 750 Mhz มาสู่ AMD Duron 900 Mhz ก็ไม่แปลกใจหรอก ที่สมัยก่อนเค้ามักจะเรียกว่าดูร้อนหรือนกย่างสายฟ้า เพราะพี่แกเล่นเอาคอร์ปลอมมาวางทับคอร์จริงที่ทำให้ระบายความร้อนได้แย่ลง พร้อมกับเจอความร้อนจากการโอเวอร์คล็อกเพิ่มสัญญาณนาฬิกาเข้าไปอีก ก็ต้องไปลงทุนซื้อฮีทซิงค์เทพๆอย่าง Alpha PEP66 หรือ PAL6035 พร้อมกับพัดลมเสียงดังแบบหวีดนรกแตก มาดับร้อน
Conclusion
วันนี้ที่เล่าย้อนอดีตในตอนที่ 1 กับการปลอมแปลงซีพียูในสมัย 2020 นั้นไม่มีความเป็นได้ในการปลอมแปลงแล้วให้สามารถใช้งานได้จริงแบบนั้นยุคก่อน การปลอมแปลงสมัยนี้ที่ทำได้ ก็เป็นการหลอกขายมากกว่า ในกรณีที่ผมเจอล่าสุด ที่จะเอา CPU ใน Socket เดียวกัน อย่างเช่นเอา Sempron AM3 มา Remark หน้ากระดองใหม่เป็นรุ่นที่แพงกว่า อย่างเช่น AMD Phenom II (สมัยเปิดคอร์เปิด Cache L3) ที่เสียบติดเปิดเครื่องได้ แต่มันก็คือ Sempron ไม่ใช่ Phenom II ซึ่งด้วยการออกแบบซีพียูสมัยก่อนที่ไม่ได้ซับซ้อนแบบสมัยนี้ ที่มันมีช่องว่างในการปลอมแปลงซีพียูด้วยการตัดและเชื่อมลายวงจรเท่านั้น เลยเป็นที่มาของการปลอมแปลงซีพียูจากผู้ขายสู่ผู้ใช้งานทั่วไปได้ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ