สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน วันนี้จะมากับช่วงเล่าย้อนอดีต ตอนที่สี่ สายการผลิตเมนบอร์ดแบรนด์ในตำนาน ซึ่งในยุคสมัยก่อนก็จะมีแบรนด์ของเมนบอร์ดที่มันมากมายกว่าในยุค 2020 เยอะ ที่เมนบอร์ดจากแบรนด์ ABIT ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ทำเมนบอร์ดมาเจาะตลาดในกลุ่มการโอเวอร์คล็อก ที่มันก็กลายมาเป็นเมนบอร์ดเกมมิ่งซะงั้น ถ้าเราพูดถึงเมนบอร์ดเกมมิ่ง ABIT นั้นได้มีการออกเมนบอร์ดในตระกูล Fatal1ty มาก่อน ASRock ด้วยซ้ำ ถ้าในยุคสมัยก่อนเมนบอร์ดแบรนด์ ABIT คงเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ในใจหลายๆคน ภาพจากในปี 2004 ที่ได้นำมาให้ชมกัน เรามาดูกันว่าย้อนไปซักสับกว่าปีที่ผ่านมา เมนบอร์ดแต่ละตัวที่ออกมาจากโรงงานมันจะมีขึ้นตอนการผลิตยังไงบ้าง อันนี้จะเป็นโรงงานที่ผลิตเมนบอร์ด ABIT ในประเทศจีน
สายการผลิตเมนบอร์ดแบรนด์ ABIT
เอกลักษณ์ของเมนบอร์ด ABIT ด้วย PCB สีแดงอิฐแบบในภาพ ที่จะมาพร้อมกับฮีทซิงค์ระบายความร้อน Northbridge อันโดดเด่น แต่อันที่จริง ABIT ไม่ได้ผลิตแต่เพียงเมนบอร์ดกลุ่มโอเวอร์คล็อก เมนบอร์ดใช้งานมาตรฐาน ,Server หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ABIT ก็ทำ
การ์ดจอแบรนด์ ABIT สมัยก่อนก็มีการทำตลาดนะครับ
อันนี้จะเป็นแผงผังการขันตอนการผลิตเมนบอร์ด
มาถึงการเริ่มต้นของแผง PCB ที่ถูกส่งมาจากโรงงานผลิต PCB ที่จะเข้ามาสู่เครื่องสกรีนลายบน PCB
ภาพขณะการสกรีนลายบนเมนบอร์ด ที่จะเห็นชัดเจนกับพวกชื่อรุ่น และ ลายละเอียดที่เราเห็นได้บน PCB อย่างเล่นชุดการเชื่อมต่อ อะไรประมาณนั้น
เมื่อแผ่น PCB ที่ออกมาจากเครื่องสกรีนลายเรียบร้อยแล้ว จะได้รับการตรวจสอบโดยคนด้วยสายตาคร่าวๆ
ระบบการจัดการต่างๆ ที่จะมีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุม ทั้งแบบในการผลิต ปริมาณ
อุปกรณ์ SMD ที่เป็นการยึดติดบนพื้นผิวเมนบอร์ด ที่จะมีการเตรียมพร้อมกับการใช้งานของเมนบอร์ดที่ผลิตในแต่ละรุ่น
ตรวจสอบแผ่น PCB กันอีกครั้ง โดยจะมีแว่นขยายเข้ามาช่วยเพิ่มการตรวจสอบ
การติดฉลากประจำตัวของเมนบอร์ด ที่ใช้คนในการติด มีความปราณีตในการติดมาก
การตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์ SMD ที่จะใช้งานในสายการผลิต ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วที่ต้องมาตรวจสอบ เพราะมันอาจมีอุปกรณ์ที่เสียหายมาปนได้ แต่ของที่คุณภาพดีมันมีโอกาสเสียหายต่ำมากๆ
ในยุค Athlon XP รหัสการพัฒนา Barton กับที่โดยตัด L2 ในรหัสการพัฒนา thornton คงจะรู้จักกับชิพเซ็ต NVIDIA nForce 2 สมัยนั้นชิพเซ็ต nVidia nForce จะมีออกมาสำหรับซีพียู Intel และ AMD
แผ่น PCB ที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ SMD ในชั้นตอนแรกเรียบร้อย
แผ่น PCB ที่เข้าสู่เครื่องติดตั้งอุปกรณ์ SMD ในขั้นตอนที่สอง
การติดตั้งอุปกรณ์ SMD ในความเป็นจริงใช้มือทำก็ได้ แต่ทั้งเมนบอร์ดคงทำกันเป็นวันๆ เอาเป็นว่าใช้เครื่องจักรนั้นรวดเร็ว มีความแม่นยำที่สูงกว่า
ในฝ่าย QC ที่จะตรวจสอบแผง PCB ที่ติดตั้งลงเมนบอร์ด โดยจะมีต้นแบบที่ถูกต้องสมบูรณ์มาเปรียบเทียบด้วย
วางแผ่นเรียกว่าแผ่นอะไรไม่แน่ใจนะครับ เหมือนที่แผ่นตรวจข้อสอบของครูสมัยก่อน ที่จะเช็คว่าในจุดที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ SMD นั้นมีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
แว่นขยายตรวจสอบความเรียบร้อยของแผ่น PCB อีกหนึ่งรอบ
ในจุดที่สายตาคนไม่สามมรถมองเห็นได้ จะเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อไปขั้นตอนลงไป
แผ่น PCB ที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ SMD จะมาถูกรวบรวมเอาไว้ก่อน เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป
มาถึงแผนกที่วางอุปกรณ์ร้อยขาทะลุแผ่น PCB
ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ตรวขสอบคุณภาพของเมนบอร์ดได้ทุกตัวในสายการผลิต
ถ้าใครชอบการ DIY อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จะต้องคุ้นเคยกันดีกับการติดตั้งอุปกรณ์แบบร้อยขาทะลุ PCB แต่ละคนในสายการผลิตจะมีหน้าที่การวางอุปกรณ์ที่ได้รับตามหน้าที่ของสายการผลิต
ชิ่้นส่วนไหนวางง่ายหน่อย คนเดียวจะรับหน้าที่หลายชิ้นส่วน
เข้าสู่เครื่องที่จะนำ PCB เคลื่อนผ่านบ่อต้มตะกั่ว (ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย) ที่มีความรวดเร็วกว่าการนำหัวแร้งมาเชื่อมด้วยตะกั่วที่ละจุเแน่นอน เพราะผ่านทีเดียวได้ทั้งแผ่น PCB
ตอนนี้แผ่น PCB ที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์มาอย่างครบถ้วน มันก็เกือบมีความพร้อมที่จะเป็นเมนบอร์ดที่สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ยังต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพกันอีกนิด
ตรวจสอบคุณภาพด้วยสายตา พร้อมกับการติดสติกเกอร์ QC PASS
ติดสติกเกอร์ ใส่รอม BIOS (สมัยนี้มันเปลี่ยนไปใช้แบบ SMD แล้ว ขนาดเล็กกว่า ความจุสูงกว่า) พร้อมกับการทาซิลิโคนระบายความร้อนของ Northbridge
ใช้สายตาตรวจสอบคุณภาพกันอีกครั้ง เพื่อจะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบเมนบอร์ดจริงๆ
การตรวจสอบคุณภาพเมนบอร์ดก่อนจะเข้าไปสู่การทดสอบเต็มรูปแบบ
การตรวจสอบคุณภาพเมนบอร์ดขั้นสุดท้าย ติดตั้งอุปกรณ์ลงไป และ การเชื่อมต่อทุกพอร์ต
เมื่อเมนบอร์ดที่ผ่านการทดสอบคุณภาพขั้นสุดท้าย ก็จะได้รับการบรรจุใส่กล่อง ส่งมาสู่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศต่างๆทั่งโลกนั้นเอง