กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้องชาว OCZ กันอีกครั้งนะคับ หลังจากห่างหายไปนาน ผมนายหูเหล็กกลับมาแล้ว หลังจากที่หายไปแต่ไม่ได้หายไปไหน กำลังซุ่มทำโปรเจคใหญ่ C4A อยู่ แต่อาจจะต้องใช้เวลาอีกนิด วันนี้เลยขอขัดตราทัพ นำลำโพงมาโมกันแบบเอื้ออาทร ในราคา 116 บาท และเหยื่อในวันนี้คือ เจ้าลำโพง 2.1 CH ที่มีนามว่า MicroLab X2 ลำโพงชุดนี้ ส่วนตัวผมว่าเสียงดี คุ้มราคามากๆ แต่อาจจะติดปัญหาในเรื่องต้นทุน ทำให้ใส่อะไรมามากไม่ได้ แต่ไม่เป็นไร วันนี้เรามายัดไส้เพิ่มกันคับ
microlab X2 ราคาพันกว่าบาท เราเอามาแกะกล่องใหม่ๆมาโมกันเลย
วิเคราะห์แนวเสียง
ลำโพงชุดนี้มีความโดดเด่นที่เสียงกลาง เด่นมากๆ ทั้งไสตล์เสียงและหน้าตา จะคล้ายๆกับลำโพงเจ้าใหญ่เจ้านึงในท้องตลาด ที่มีฉายาว่า "ยักส์แคระ" ส่วนจุดด้อยที่ชัดเจนมากๆของลำโพงชุดนี้คือ ลำโพง Sub Woofer การเก็บรายละเอียดของเสียงทุ้ม ทำได้ไม่ดีนัก และจะยิ่งชัดมากขึ้นในความดังที่เพิ่มขึ้นอาการนี้ ต้องสาเหตุมาจากที่ภาคจายไฟแน่ๆ เราจะมาโมภาคจ่ายไฟกัน ในงบร้อยกว่าบาทกันครับ
** คำเตือน
*** บทความนี้มีการเกี่ยวข้องกับไฟฟ้ากระแสสลับ 220-230V ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิต
**** โปรดศึกษาหลักการเบี้องต้นของไฟฟ้ากระแสสลับ
***** ทาง Overclockzone.com ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น
ถ้าพร้อมจะเสี่ยงแล้วก็มาเริ่มกันเลยคับ ^^
ก่อนจะลงมือทำ ผมแนะนำให้ถ่ายรูปใว้ด้วยนะคับ เดี๋ยวตอนประกอบกลับจะจำไม่ได้นะคับ ใส่ผิดใส่ถูก
รายละเอียดการแกะ ผมขอข้ามนะคับ ขันน๊อตๆ จบ 555+
แกะออกมาแล้วจะได้ตามรูปเลย
ทีนี้เราก็มาวิเคราะห์กัน
ลำโพงชุดนี้ ใช้หม้อแปลง AC ขนาด 12.5V-0-12.5V 1.1A จากกำลังขับที่แจ้งมาตาม Spec คือ วัตต์รวมที่ 45W RMS ยังไงก็ไม่พอคับ แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัด และ หม้อแปลงไฟ AC 12.5V ไม่สามารถหาได้ในท้องตลาด มีแต่ 12V แต่จะทำให้กำลังวัตต์ลดลง จึงจำเป็นต้องใช้ของเดิมเพื่อความประหยัดด้วยคับ
มาต่อที่ภาคกรองกระแส มีการใช้ C Filter ขนาด 3300uF/25V 2ตัว(ไฟบวก-ลบ) ถือว่าน้อยมากๆถ้าเทียบกับกำลังวัตต์ งั้นเรามาเล่นกันตรง C Filter ดีกว่าคับ เพราะหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด ตอนแรก ผมซื้อ C Filter ขนาด 10000uF/25V มาเปลี่ยน แต่เนื่องจากขนาดที่ใหญ่กว่าของเดิมมาก ไม่สามารถใส่ลงไปได้เนื่องจากลำโพงชุดนี้มีพื้นที่ภายในน้อยมาก
งั้นเปลี่ยนเป็นเพิ่มแทนละกัน ของเดิมปล่อยใว้ ขนานของใหม่เข้าไป ให้ค่ามันเพิ่มขึ้น ยิ่งดีขึ้นไปอีกคับเนื่องจากที่วางไม่มีเพียงพอกับของใหม่ที่เราจะใส่เข้าไป
ผมจึงซื้อแผ่นปริ๊นสำเร็จรูปที่นัฐพงศ์บ้านหม้อมา ราคา 16 บาท
C Filter ตัวละ 50 บาท 2 ตัว รวมงบประมาณทั้งสิ้น 116 บาท แพงมากๆ - -' 555
อันดับแรก ต้องหาที่วาง และต้องระวังเวลาใส่ไปแล้วจะปิดฝากลับลงไปไม่ได้ ผมได้ที่วางสวยๆอยู่ 1 ที่ ต้องทำการตัดแผ่นปริ๊นให้เหลือเท่าที่ต้องการเสียก่อนคับ
วัดๆ ตัดๆ การตัดแผ่นปริ๊น ให้ใช้คัตเตอร์กรีดทั้งด้านบนและด้านล่างของแผ่นปริ๊นส์ให้มีความลึกพอสมควร และใช้มือหักได้เลยคับ
หลังจากเตรียมแผ่นปริ๊นส์เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็ทำการบัดกรี C Filter ตัดขาให้เรียบร้อย
ผมอาศัยน๊อตตัวเดิมที่ยึดแผ่นวงจรหลักของลำโพงชุดนี้ เรียกว่าขออาศัยไปด้วย ^^
พอยึดจนแน่น อย่าลืมตรวจให้ละเอียด ว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของแผ่นปริ๊นส์ที่เราทำขึ้นมาใหม่ไปช๊อตกับลายวงจรเดิมหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็จัดการขั้นต่อไปได้เลย
ก่อนจะไปถึงขั้นตอนต่อไปนะคับ แนะนำให้ลองใส่เพลทหลังดูก่อน ว่าอุปกรณ์ใหม่ที่เราเพิ่มเข้าไป มันติดหรือเปล่า ถ้าติดต้องจัดการแก้ไขก่อนนะคับ
ถ้าตรวจเรียบร้อยว่า C Filter ที่เพิ่มเข้าไป ไม่ทำให้ปิดฝาไม่ได้แน่นอน ก็จัดการโยงสายขั้วบวก-ขั้วลบของ C Filter ตัวเดิมให้ตรงกัน ค่อยดูขั้ว + หรือ - มีเขียนบอกไว้ที่ตัวกระป๋องครับ ย้ำนะคับ อย่าใส่กลัวขั้ว ระเบิดจริงๆนะคับ เสร็จแล้วอย่าลืมใช้มิเตอร์วัดนะคับ ว่าขั้วช๊อตกันหรือเปล่า ไม่งั้นลำโพงเราอาจจะสิ้นชีพได้คับ
C กระป๋องส่วนใหญ่จะบอกว่าขาไหนคือขั้วลบ (ไม่เคยเห็นบอกขั้วบวก ไม่รู้ทำไม) วิธีดูว่าขาไหนคือขั้วลบก็ดูที่ด้านข้างจะมีแถบ และขีด - แถบนี้คือแถบที่บอกว่าขาที่ตรงกับแถบนี้คือขั้วลบครับ
ปกติแล้วในบทความก่อนๆ ผมจะทำการบุใยโพลีเอสเตอร์ที่ผนังด้านในตู้ลำโพงทุกครั้งก่อนปิดตู้ แต่ใบนี้ผมไม่ได้บุนะคับ ผมว่าเสียงเบสมันคมๆ น่าฟังดี แต่ถ้าท่านใหนชอบเสียงเบสนุ่มๆก็สามารถบุผนังด้านในตู้ลำโพงด้วยใยโพลีเอสเตอร์ วิธีการบุ สามารถหาอ่านได้ในบทความเก่าๆคับ ไม่จำเป็นต้องทำตามผม 100% นะคับ ผมทำใว้เป็นแนวทางคับ เช็คความเรียบร้อยอีกครั้งแล้วจึงปิดตู้
ทีนี้เรามาลองทดสอบเสียงกันคับ
เบสความรู้สึกว่าเหมือนจะน้อยลงคับ น่าจะเพราะการสั่นครางหายไป แต่กระชับขึ้น เก็บตัวดีขึ้น แบบนี้เรียกว่าคุมลำโพงอยู่ น่าฟังกว่าเดิมเยอะ โดยรวม สำหรับการลงทุนไป 116 บาท ได้เสียงมาขนาดนี้ ไม่คุ้มก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้วคับ
ที่เหลือไปต่อยอดกันเอาเองนะคับ ใครชอบแบบใหน Modify ไสตล์ตัวเองได้เลยคับ
และบทความหน้า ผมจะเอา Computer For Audio (C4A) อีกรูปแบบมาให้ชมกันคับ สวยงามแล้วราคาไม่แพงเลย(ลงทุนหลักพัน)
คอยติดตามอ่านกันนะคับ