กลับมาพบกันอีกครั้งนะคับ สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการ Modding ต่างๆ หลังจากภาคที่แล้ว ผมได้ทำการ Modify เจ้า microlab X2 ด้วยงบประมาณเพียง 116 บาท (โมราคาประหยัด 116 บาท กับ microlab X2) หลังจากลงบทความ ได้มีเพื่อนสมาชิกให้ความสนใจกันเยอะเลย บางท่านบอก ทำไมไม่ทำให้มันสุดๆไปเลย โมแค่นี้จิ๊กโก๋เคืองคับ มันไม่สุด เลยต้องมาพินิจพิจารณาดู OKมาจัดให้เลยคับ
ภาค 2 นี่ไม่ค่อยมีอะไรให้บรรยายนะคับ เน้นรูปรัวๆ ^^
สเตปแรก
รื้อซิครับ รออะไร
เริ่มจากอันดับแรกเลยนะคับ ที่ถามกันมามากว่าทำไมไม่เปลี่ยนหม้อแปลงที่มากับตัวลำโพง กระแสไม่พอแน่นอน เลยต้องจัดการเปลี่ยนซะ ก็จัดไป
หม้อแปลงที่ซื้อมาจากร้านแถวบ้านหม้อ จ่ายไฟ 12-0-12 VAC 2Ah ซื้อที่นัฐพงศ์เหมือนเดิม ราคา 180 บาท ส่วนด้านซ้ายเอาไว้ทำอะไร ดูต่อไปเรื่อยๆเดี๋ยวรู้
เสร็จแล้วจัดการรื้อหม้อแปลงเก่าออก เปรียบเทียบกันขนาด ใหญ่กว่ากันพอสมควรเลย แต่ก็จะใส่ให้ใหญ่กว่านี้ไม่ได้แล้วพื้นที่ไม่อำนวย
ดูด้านข้างยิ่งเห็นชัด อยากจะใส่ตัวใหญ่กว่านี้ แต่ยัดไม่ลงแล้วครับ X2 ภายในมีพื้นที่ให้ทำอะไรค่อนข้างจำกัดมากคับ
ก่อนเปลื่ยน ดันเหลือบไปเห็น Diode Rectifier ในวงจรของเดิมเป็นเบอร์ 1N4007 มีขนาดแค่ 1 Ah ถ้าเจอหม้อแปลง 2 Ah เข้าไป ระเบิดแน่นอน
เลยต้องวิ่งไปซื้อ Diode ที่ทนกระแสได้มากขึ้นได้เบอร์ 1N5401 มาแทน ซึ่งทนกระแสได้ถึง 3Ah ราคาตัวละ 10 บาท X4 = 40 บาท
ปัญหาเริ่มเกิด...!! หลังจากที่ถอด Diode ตัวเก่าออกมา เปรียบเทียบขนาด เรียกว่าตัวใหม่ มีขนาดที่ใหญ่โตกว่าตัวเก่าแบบเทียบไม่ติด
ปัญหาเริ่มมาเพิ่มขึ้น..!! รูเสียบขา Diode เดิม มีขนาดเล็ก แต่ Diode ที่ซื้อมาใหม่ ขาใหญ่อย่างเป้ง ยัดไม่ลงแน่นอน แล้วทีนี้จะทำยังไงล่ะ........ ก็ระเบิดรูสิครัช
เลือกขนาดดอกสว่านให้สัมพันธ์กับขนาดของขา Diode ไม่เล็กหรือใหญ่ไป
เจาะๆๆ ระเบิดรูไปเลย
แต่พื้นที่ในการใส่อุปกรณ์มีจำกัดมาก จึงจำเป็นต้องยกลอยอุปกรณ์ขึ้นมา ใส่ๆๆ ดูขั้วให้ตรงกับของเดิมด้วยนะคับ บัดกรีๆๆ เมื่อทำเสร็จ อย่าลืมใช้มิเตอร์วัดว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใด ช๊อต หรือบัดกรีไม่ติดหรือเปล่า ปลอดภัยใว้ก่อนนะจ๊ะ
หลังจากเรียบร้อยจาก Diode ก็มาถึงคิวของการเปลี่ยนหม้อแปลงกันบ้าง ใส่กาวตรงน๊อตไว้ด้วย
ขันออกมาเลย
ถือเป็นความโชคดี รูน๊อตตรงใกล้เคียงกับของเดิม ไม่ต้องเจาะเพิ่ม
จัดการใส่ตัวที่ซื้อมาใหม่ทันทีคับ เนื่องจากขั้วสวิตไฟมีการยิงปืนกาวเอาใว้ เพื่อความรวดเร็ว ผมได้ทำการตัดสายไฟ AC 220V แล้วต่อใหม่ อย่าลืมใส่ท่อหดเพื่อความปลอดภัยด้วยนะคับ
น๊อตยึดหม้อแปลงผมต้องเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากน๊อตเก่ามีบ่า ทำให้เบียดกับตัวหม้อแปลงใหม่ ใส่ไม่ได้
เปลี่ยนน๊อตแบบที่ไม่มีบ่า ใส่แหวนสปริงกันคลาย เวลาเจอเสียงเบสหนักๆจะได้ไม่หลุด จะใส่กาวกันคลายก็ได้นะ ไม่ว่ากัน
แล้วก็มาเจอปัญหาเดิม สายไฟ 12-0-12 ของหม้อแปลงตัวใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าหม้อแปลงเดิม ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะกระแสที่เพิ่มขึ้น ขนาดหน้าตัดของสายไฟก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วย เลยจัดการด้วยแผนเดิม ระเบิดรูตามเคย ^^ หลังจากบัดกรีเสร็จ ต้องตรวจความเรียบร้อยด้วย ต้องทำให้เป็นนิสัยนะคับ เรื่องการตรวจเช็ดความเรียบร้อย
ก่อนเสร็จพิธี ใหนๆก็ทำถึงขนาดนี้แล้ว ต้องไม่ลืมการ BiCap ผมเลือก C Polypropylene ของ WIMA ใช้ค่า 0.015uF 400V ราคาตัวละ 15 บาท X2 = 30 บาท งบเริ่มบานปลาย 555+ ใครอยากจะใช้ ดีกว่านี้ หรือแพงกว่านี้ก็แล้วแต่ศรัทธาเลย แต่ก็ดูราคาลำโพงด้วยนะคร้าบบบ
บัดกรีขนานไปกับ C 10,000 uf ทั้ง 2 ตัว C ชนิดนี้ไม่มีขั้ว บัดกรีลงไปได้เลย
เสร็จเรียบร้อยก็ประกอบกลับสภาพเดิม และเริ่มทดลองฟัง
เป็นไปตามความคาดหมายนะคับ เบสแน่นขึ้นเยอะ เป็นลูกๆ เก็บตัวได้ดีมากๆ เสียงกลองตึงเป๊ะ ไม่หย่อนยานเหมือนลำโพงราคาถูก สำหรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น 180+40+30 = 250 บาท
แต่ขออีกนิดน่า...!!
สเตปสอง
เจ้า microlab X2 ชุดนี้ ตามเสป็กมันเขียนว่า ตอบสนองความถี่ 35 Hz ~ 20 kHz ซึ่งผมว่ามันเว่อร์ไป ตัวลำโพงเล็ก(Satellite)ใช้ลำโพง Full Range ขนาด 2.5" แบบโคน ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ที่ลำโพงประเภทนี้จะมีเสียงขึ้นสูงไปถึง 20Khz หรือถ้าขึ้นได้จริง กร๊าฟการตอบสนองความถี่ก็ต้องตกลงมากๆ (หมายถึงว่าหูคนจะได้ยินความถี่ที่ว่าได้น้อยลงเรื่อยๆ) ผมจึงทำการทดลองเพิ่ม Tweeter แต่ให้มันทำหน้าที่เพียงแค่ปลายเสียงสูง(15Khz+)เท่านั้น เป็นการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปของลำโพงชุดนี้
ผมขอเลือกใช้ลำโพง Tweeter แบบถูกๆ ได้มาจากบ้านหม้อเช่นเคย ราคา 65 บาท ^^ ฟังไม่ผิดคับ 65 บาท (ที่เป็นแบบคู่กับหม้อแปลงในช่วงแรกของบทความคับ) อย่าลืมนะคับ ผมไม่ได้เอามาทำเป็น Tweeter เพราะเสียงกลางแหลมของลำโพงชุดนี้ดีอยู่แล้ว แต่เอามาเป็น Super Tweeter แทนเพราะจุดตัดที่สูงมาก เหมือนกับมันแทบไม่ได้ทำงาน แต่เพื่อให้เสียงที่ครบถ้วนตามหลัก Hi-Fi ต้องลองคับ อย่าบอกให้ไปใช้ Tweeter ของ scan speak ไปเลยนะครับ ดูด้วยว่าลำโพงมันคู่ละเท่าไหร่ อย่าเอาไปเทียบกับชุดราคาเงินแสนเงินล้าน
ผมทดลองใช้ C Polypropylene ของจีน หน้าตาดูดี ราคาพอรับได้ และก็อย่าบอกให้ไปใช้ Mundorf อีกนะครับ C บางตัวซื้อ X2 ได้เลย (หลายคู่ด้วย) โดยทดลองอยู่หลายค่า ทั้ง 5.6,4.7,3.3,2.2 uF(ค่ายิ่งน้อยจุดตัดยิ่งสูง)ผมว่าค่า 2.2uF ลงตัวที่สุด ลองเอาหูไปแนบ แทบไม่ได้ยินเสียง คือมีแค่ปลายๆของเสียงแหลม เป็นการเพิ่มสิ่งที่ไม่มีของลำโพงชุดนี้ ซื่งก็คือ ปลายเสียงแหลม
การแกะหน้ากากลำโพง ให้แกะอย่างระวังนะคับ
ผมต่อ Tweeter ขนานกับลำโพง Full Range ตัวบน โดยใช้ C 2.2uF คั่นตรงขั้วบวก เพื่อเป็น Network ตัดเอาเฉพาะความถี่สูงส่งให้ตัว Tweeter ตามรูป
บัดกรีจุดต่างๆให้แน่นหนา แล้วก็ประกอบกลับสภาพเดิมให้เรียบร้อย
หน้าตาหลังจากเพิ่ม Tweeter มันจะดูสวยแบบแปลกๆหน่อย ชอบหรือไม่ชอบ ก็แล้วแต่ ไม่ต้องใส่ใจ เราใช้เอง ไม่ได้เอาไปโชว์ใคร
เสร็จสิ้นการโมในครั้งนี้ด้วยงบประมาณทั้งหมด 315 บาท (ยังไม่รวมราคา C สีแดง จำราคาไม่ได้แล้ว แต่ไม่แพงครับ) ยกระดับเสียง X2 ของเราให้เทียบชั้นกับลำโพงแพงกว่าเป็นเท่าตัวได้เลย แต่อย่าเอาไปเทียบกับชุดราคาระดับล้านอย่างที่กล่าวมาแล้วนะคับ อันนี้มือใหม่คับ หูทองหรือพวกที่โดนหูทองเป่าหูมาก็ ขอให้ตื่นจากภวังก่อนนะ อันนี้มันชีวิตจริงคับไม่ใช่ความฝัน เรายินดีรับฟังความคิดเห็น แต่ถ้าจะเปรียบเทียบ ขอเป็นมวยที่ใกล้เคียงกันหน่อยนะครัชชช
ทดลองฟังเสียง
โฟกัสแม่นขึ้นเยอะ ซึ่งของเดิมแทบไม่มี ปลายเสียงแหลมทอดได้ไกลกว่า แต่ยังจัดจ้านอยู่ เบสเก็บตัวดี มีพลัง ดุดัน สลัดคราบลำโพงถูกๆออกไปแทบไม่เหลือ แต่อาจจะต้องทำการ Burn In ซักพัก เสียงน่าจะลงตัวกว่านี้ ด้วยงบประมาณที่ไม่บานปลายเท่าใหร่ + ฝีมือเชิงช่างอีกนิด ก็ได้ลำโพงดีๆใช้แล้วใครอยากทดลองฟัง ลองนัดแนะในเวบบอร์ดของเรา นัดกันมาเป็นกลุ่ม สำหรับผู้ที่สนใจ มาทดลองฟังกัน และแลกเปลี่ยนไอเดียกันได้ ที่สตูดิโอของเราที่หัวลำโพงได้เลย
วันนี้ขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีคร๊าบบบบบบบ