สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน มาตรฐาน มอก. อยู่รอบตัวเรา ถ้าถามคนที่อยู่ในวงการคอมพิวเตอร์ ก็คงคุ้นเคยกับปลั๊กพ่วง มอก. หรือ มอก.2432-2555 อีกไม่นานเราคงจะได้เห็นมันอีกมาก โดยเริ่มที่พาวเวอร์ซัพพลาย คอมพิวเตอร์ต้องใช้กัน ซึ่งพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ทำง่ายที่สุดแล้ว โดยเปลี่ยนสาย AC ใหม่ เต้าเสียบ Type-O เท่านั้น วันนี้เลยถือโอกาสเทียบ Type-B กับ Schuko ว่า Type-O มันดียังไง แม้จะมีประเทศไทยประเทศเดียวในโลกใช้มัน
มอก. 166-2549

มอก.166-2549 ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรนัก เครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณ 10 ปีที่แล้วมันเรื่มมีกัน แต่สำหรับคอมพิวเตอร์ เริ่มด้วยพาวเวอร์ซัพพลายที่มีข้อบังคับ มอก.166-2549 นี่เป็นรูปที่ผมถ่ายตอนรีวิวพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อน มักจะให้ Type-B หรือ Schuko กันครับ

สาย AC มาตรฐาน มอก.166-2549 ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษหรือแปลกใหม่อะไรมาก

นี่แหละที่มาของ มอก.166-2549 ชื่อของเต้าเสียบในแบบ Type-O
Type-O หรือ มอก.166-2549

เต้าเสียบมาตรฐาน มอก.166-2549 มาตรฐานประเทศเดียวในโลก ที่เกิดจากการค่อยๆปรับเปลี่ยนจากขาแบนมาเป็นขากลม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานแรงดัน 220v ในประเทศไทย โดยที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปลั๊กมาตรฐานอื่น เช่นแบบขาแบนสามารถปองดองยังใช้งานได้อยู่ร่วมกับเต้ารับแบบ Hybrid ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานตามบ้านและปลั๊กพ่วง โดยถ้าเป็นเต้ารับ Type-O แท้ๆ จะเสียบเต้าเสียบ Type-O หรือ มอก.166-2549 เท่านั้น

การออกแบบของเต้าเสียบ Type-O แบบ สามขา ที่มีการวางตำแหน่งของ L N G เหมือนกับ Type-B แต่ปรับเปลี่ยนขาให้เป็นแบบกลมเหมาะสมกับการใช้ไฟแรงดัน 220V สังเกตุให้ดี การออกแบบนั้นป้องกันไม่ให้สามารถใช้ผิดได้ รวมไปถึงขา G ที่มีความยาวกว่าปกติ ก็ทำให้ในส่วนเต้ารับนั้นก็ต้องมีการออกแบบใหม่อีกด้วย โดยขามีพื้นที่หน้าตัด 4.8 มม.

เต้าเสียบ Type-O แบบ 2 ขา ที่มีแต่ L และ N

ในส่วนมิติของเต้าเสียบ Type-O แบบ 2 ขา ที่ขาหน้าสัมผัสจะเหมือนแบบ 3 ขา แต่ไม่มีขา G เท่านั้น ที่ขามีพื้นที่หน้าตัด 4.8 มม. เช่นกัน

หัวปลั๊ก US ในแบบ Type-A ใกล้เป็นอดีตกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน

หัวปลัก Europlug ในแบบ Type-C ใกล้เป็นอดีตกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน โดยขาที่ขามีพื้นที่หน้าตัด 4 มม. เวลาใช้งานออกแนวหลวม เสียบไม่อยู่ ต้องใช้หัวแปลงเป็น Type-A ช่วย สมัยก่อนไปบ้านหม้อซื้อหัวแปลงมาตุนไว้เยอะมาก ทุกวันนี้ยังใช้ไม่หมด

หน้าหน้าตัดของเต้ารับแบบ Hybrid ที่เป็นมาตรฐาน มอก.166-2547 ที่รองรับการใช้งานทั้งขากลมและขาแบน แบบ Type-O ,Type-A ,Type-B และ Type-C รวมไปถึง Schuko โดยสังเกตุให้ดีว่าขารับ G หรือ กราวน์นั้น จะมีความลึกที่มากกว่า ขารับ L และ N ที่เราจะเห็นกันในตลาดโดยเป็นมาตรฐานในการใช้งาน
ความต่าง Type-B ,Schuko และ Type-O

เราจะมาลองเปรียบเทียบกับว่า Type-B ,Schuko และ Type-O ให้อารมณ์ ความรู้สึกยังไงบ้าง

Type-B หรือ US Plug ที่เป็นขาแบบ โดยขากราวด์กลม

Schuko โดยขา L N หน้าตัดที่ 4.8 มม. เท่ากับ Type-O แต้ว่าขากราวด์เต้นเสียบไม่มี เพราะอยูที่เต้ารับ
ลองของจริง

เต้ารับแบบ Hybrid เกรดอุตสาหกรรม ที่จะมาเป็นนายแบบเพื่อให้เราทดลองกัน โดยเต้ารับอันนี้ติดตั้งมาประมาณ 6 เดือน ไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน ติดเอาไว้ซ้อมให้มือซ้ายในการเดินปลั๊กและสายไฟ

เรามาทดลอง Type-B หรือ US Plug การเสียบเข้านี่ง่ายมาก รวมไปถึงการดึงออกก็งานมาก หลายคนคงเจอปัญหาแบบนี้กับปลั๊กรางด้วย นิ้วเขี่ยปลั๊กก็หลุด อยู่ดีกลายเป็นคนเสียบปลั๊กไม่แน่นได้

มาถึงแบบ Schuko ความแน่นในการเสียบคือดีมาก รวมไปถึงการถอดออก ต้องใช้คำว่าออกแรงพอสมควร ยิ่งใช้ข้างซ้ายด้วยออกแรงมากกว่า Type-B เยอะมาก

มาถึงแบบสุดท้าย Type-O หรือ มอก.166-2549 ความแน่นในการเสียบคือดีมาก รวมไปถึงการถอดออก ต้องใช้คำว่าออกแรงพอสมควร ยิ่งใช้ข้างซ้ายด้วยออกแรงมากกว่า Type-B เยอะมาก

มอก.166-2549 ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรนัก เครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณ 10 ปีที่แล้วมันเรื่มมีกัน แต่สำหรับคอมพิวเตอร์ เริ่มด้วยพาวเวอร์ซัพพลายที่มีข้อบังคับ มอก.166-2549 นี่เป็นรูปที่ผมถ่ายตอนรีวิวพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อน มักจะให้ Type-B หรือ Schuko กันครับ

สาย AC มาตรฐาน มอก.166-2549 ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษหรือแปลกใหม่อะไรมาก

นี่แหละที่มาของ มอก.166-2549 ชื่อของเต้าเสียบในแบบ Type-O
Type-O หรือ มอก.166-2549

เต้าเสียบมาตรฐาน มอก.166-2549 มาตรฐานประเทศเดียวในโลก ที่เกิดจากการค่อยๆปรับเปลี่ยนจากขาแบนมาเป็นขากลม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานแรงดัน 220v ในประเทศไทย โดยที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปลั๊กมาตรฐานอื่น เช่นแบบขาแบนสามารถปองดองยังใช้งานได้อยู่ร่วมกับเต้ารับแบบ Hybrid ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานตามบ้านและปลั๊กพ่วง โดยถ้าเป็นเต้ารับ Type-O แท้ๆ จะเสียบเต้าเสียบ Type-O หรือ มอก.166-2549 เท่านั้น

การออกแบบของเต้าเสียบ Type-O แบบ สามขา ที่มีการวางตำแหน่งของ L N G เหมือนกับ Type-B แต่ปรับเปลี่ยนขาให้เป็นแบบกลมเหมาะสมกับการใช้ไฟแรงดัน 220V สังเกตุให้ดี การออกแบบนั้นป้องกันไม่ให้สามารถใช้ผิดได้ รวมไปถึงขา G ที่มีความยาวกว่าปกติ ก็ทำให้ในส่วนเต้ารับนั้นก็ต้องมีการออกแบบใหม่อีกด้วย โดยขามีพื้นที่หน้าตัด 4.8 มม.

เต้าเสียบ Type-O แบบ 2 ขา ที่มีแต่ L และ N

ในส่วนมิติของเต้าเสียบ Type-O แบบ 2 ขา ที่ขาหน้าสัมผัสจะเหมือนแบบ 3 ขา แต่ไม่มีขา G เท่านั้น ที่ขามีพื้นที่หน้าตัด 4.8 มม. เช่นกัน

หัวปลั๊ก US ในแบบ Type-A ใกล้เป็นอดีตกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน
หัวปลัก Europlug ในแบบ Type-C ใกล้เป็นอดีตกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน โดยขาที่ขามีพื้นที่หน้าตัด 4 มม. เวลาใช้งานออกแนวหลวม เสียบไม่อยู่ ต้องใช้หัวแปลงเป็น Type-A ช่วย สมัยก่อนไปบ้านหม้อซื้อหัวแปลงมาตุนไว้เยอะมาก ทุกวันนี้ยังใช้ไม่หมด

หน้าหน้าตัดของเต้ารับแบบ Hybrid ที่เป็นมาตรฐาน มอก.166-2547 ที่รองรับการใช้งานทั้งขากลมและขาแบน แบบ Type-O ,Type-A ,Type-B และ Type-C รวมไปถึง Schuko โดยสังเกตุให้ดีว่าขารับ G หรือ กราวน์นั้น จะมีความลึกที่มากกว่า ขารับ L และ N ที่เราจะเห็นกันในตลาดโดยเป็นมาตรฐานในการใช้งาน
ความต่าง Type-B ,Schuko และ Type-O

เราจะมาลองเปรียบเทียบกับว่า Type-B ,Schuko และ Type-O ให้อารมณ์ ความรู้สึกยังไงบ้าง

Type-B หรือ US Plug ที่เป็นขาแบบ โดยขากราวด์กลม

Schuko โดยขา L N หน้าตัดที่ 4.8 มม. เท่ากับ Type-O แต้ว่าขากราวด์เต้นเสียบไม่มี เพราะอยูที่เต้ารับ
ลองของจริง

เต้ารับแบบ Hybrid เกรดอุตสาหกรรม ที่จะมาเป็นนายแบบเพื่อให้เราทดลองกัน โดยเต้ารับอันนี้ติดตั้งมาประมาณ 6 เดือน ไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน ติดเอาไว้ซ้อมให้มือซ้ายในการเดินปลั๊กและสายไฟ

เรามาทดลอง Type-B หรือ US Plug การเสียบเข้านี่ง่ายมาก รวมไปถึงการดึงออกก็งานมาก หลายคนคงเจอปัญหาแบบนี้กับปลั๊กรางด้วย นิ้วเขี่ยปลั๊กก็หลุด อยู่ดีกลายเป็นคนเสียบปลั๊กไม่แน่นได้

มาถึงแบบ Schuko ความแน่นในการเสียบคือดีมาก รวมไปถึงการถอดออก ต้องใช้คำว่าออกแรงพอสมควร ยิ่งใช้ข้างซ้ายด้วยออกแรงมากกว่า Type-B เยอะมาก

มาถึงแบบสุดท้าย Type-O หรือ มอก.166-2549 ความแน่นในการเสียบคือดีมาก รวมไปถึงการถอดออก ต้องใช้คำว่าออกแรงพอสมควร ยิ่งใช้ข้างซ้ายด้วยออกแรงมากกว่า Type-B เยอะมาก