มาตรฐาน 80+(80Plus) ใน Power Supply เชื่อว่านักเลงคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก เข้าใจง่ายๆคือ มันเป็น Power Supply ที่มีประสิทธิภาพ(efficiency)มากกว่า 80% แต่... มันแค่นั้นจริงๆเหรอ วันนี้ผมจะมาเหลาให้ฟังกันครับ ^^
1.ความสบายใจ : ถ้า Power Supply ตัวใหนที่มีสัญลักษณ์ 80+(80Plus) ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร นั่นหมายถึงว่า Power Supply รุ่นนั้นเจ้าของเว็บไซท์ Plug Load Solutions เป็นผู้ทดสอบและออกเครื่องหมาย 80+
2.ประหยัดพลังงาน : Power Supply ที่มีฉลาก 80+(80Plus)กำกับ สามารถมั่นใจได้ว่า Power Supply ตัวนั้นมีประสิทธิภาพ(efficiency)มากกว่า 80% จนไปถึง 90% ขึ้นไป
เมื่อเทียบกับ Power Supply ต่างด้าว ที่มีน้ำหนักเบาหวิว แต่บอกว่ามีกำลังวัตต์ที่มหาศาล บางตัวมีฉลาก 90+(90Plus) มาด้วยอีกต่างหาก มั่วซั่ว ไร้คุณภาพ เชื่อถือไม่ได้ ไม่ปลอดภัย วัดใจกันไปเลยทีเดียวเชียว ^^
หรือหากมีข้อสงสัยว่า Power Supply ของท่านเป็น 80+(80Plus) จริงหรือเก๊ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ www.plugloadsolutions.com
3.ความทนทาน : จะเห็นได้ว่า ใน Power Supply 80+(80Plus) Class สูงๆ ตั้งแต่ Gold ขึ้นไป จะมีการรับประกัน(Warranty)ตั้งแต่ 5ปีขึ้นไป แต่ใน พ.ศ. นี้จะเห็นการรับประกันถึง 10 ปี กันเลยทีเดียว
เพราะอะไรเหรอครับ เหตุผลแรกมาจากข้อ 2 คับ คือประหยัดพลังงาน เอ้า ประหยัดแล้วมันเกี่ยวอะไรกับความทนทานหว่า
คำตอบคือ เกี่ยวครับ เกี่ยวมากด้วย การที่ Power Supply 80+(80Plus) มีประสิทธิภาพ(efficiency)สูง ทำให้เกิดความสูญเสียในรูปแบบของความร้อนต่ำ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆใน Power Supply ไม่ต้องทนความร้อนสูงๆเป็นเวลานานๆ ทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวนั่นเองและอีกเหตุผลคือจากการที่ผมได้มีการทดสอบ Power Supply รุ่นใหม่มาหลายตัว ผมได้สังเกตุเห็น Power Supply ในยุคนี้ ตั้งแต่ 80+(80Plus) Class Gold ขึ้นไปจนไปถึง Titanium มีการใช้ ตัวเก็บประจุ(Capacitor) เกรดญี่ปุ่นแทบทุกยี่ห้อ นั่นก็เพราะ ตัวเก็บประจุ(Capacitor) ของประเทศญี่ปุ่นมีชื่อเสียงในเรื่องค่าที่แม่นยำ ความทนทาน ได้รับการยอมรับว่าเป็น Capacitor ที่มีคุณภาพดีมากๆของโลกครับ
ส่วน Power Supply ที่ไม่มีฉลาก 80+(80Plus) กำกับ ถ้าคำนวนที่ประสิทธิภาพ(efficiency) 70% เมื่อมันทำงาน Full Load มันจะปล่อยความร้อนออกมาถึง 30%
ถ้า Power Supply มีกำลัง 700 วัตต์ เมื่อทำงาน 100% จะกินไฟถึง 910 วัตต์โดยประมาณ และะปล่อยความร้อนออกมาถึง 210 วัตต์ ถ้าอยากรู้ว่าร้อนขนาดใหน ลองไปซื้อหลอดไฟไส้ขนาด 100 วัตต์ซัก 2 ดวงมาเปิดพร้อมกันแล้วเอามือจับดูคับ ^^
แล้ว Power Supply ที่ไม่มี 80+(80Plus) มันใช้ไม่ได้เหรอ...???
คำตอบคือใช้ได้ครับ...แต่......
1.เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า Power Supply ตัวนั้นจิงๆแล้วมันกี่วัตต์กันแน่
2.มีประสิทธิภาพ(efficiency) เท่าใหร่
ผมได้สุ่มเอา Power Supply ตามท้องตลาดมาทดสอบ 4-5 ยี่ห้อ (ขอไม่เปิดเผยยี่ห้อนะคับ) แต่ละตัววัตต์อยู่ในช่วง 500-650w(ดูจากฉลาก) ทุกตัวราคาต่ำกว่า 1000 บาท
ผลการทดสอบ Power Supply ทุกตัวมีประสิทธิภาพ(efficiency) อยู่ในช่วง 65%-75% และมี 3 ตัวที่พังก่อนจะทดสอบเสร็จ เนื่องจากผมตั้งค่า Active Load ตามเสป็กของ Power Supply ตัวนั้นๆ ซึ่งทุกตัวจ่ายไฟได้ไม่ถึง มากบ้าง น้อยบ้าง พังบ้าง Rip...
แล้วที่ว่าประหยัดไฟนี่มันประหยัดได้ขนาดใหนเชียว ในบทความนี้ผมขอไม่วิชาการนะครับ คิดกันแบบบ้านๆกันเลยละกัน
ผมให้ Power Supply ที่ไม่มี 80+(80Plus) มีประสิทธิภาพ(efficiency) ที่ 70% ละกันนะครับ เปรียบเทียบกับ Power Supply 80+(80Plus) Class Gold ที่มีประสิทธิภาพ(efficiency) อยู่ประมาณ 90% จะเห็นว่า Power Supply ทั้ง 2 ตัว มีประสิทธิภาพ(efficiency) ต่างกันประมาณ 20% คิดง่ายๆละกันครับ ตอนไม่ใช้ 80+(80Plus) เสียค่าไฟ 1000 บาท พอเปลี่ยนมาใช้ 80+(80Plus) จะเสียค่าลดลงเหลือ 800 บาททันที แล้วในเมืองไทยมีคอมพิวเตอร์กี่เครื่อง จะประหยัดไฟได้มหาศาลขนาดใหนคงไม่ ต้องบอกนะครับ
ทีนี้คงพอจะเข้าใจแล้วนะคับ ว่า 80+ มันไม่ใช่แค่ 80+(Plus) มันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ แถมมันยังมีส่วนช่วยชาติประหยัดไฟด้วย
ถ้าไม่ลำบากจนเกินไป Power Supply ตัวต่อไป เลือกที่มีฉลาก 80+(80Plus) เถอะครับ ประหยัดทั้งเงิน แถมยังทำให้คอมพิวเตอร์ที่คุณรัก ไม่งอแง อยู่กับคุณไปนานแสนนาน