สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ในตลาดการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับสายครีเอทีฟ ที่ทุกวันนี้ด้วยเทคโนโลยีซีพียู และ กราฟฟิก นั้นทำให้สามารถยัดคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่สามารถพกพาได้ ใช้งานในงานสายครีเอทีฟ และ การสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างน่าสนใจ รวมไปถึงด้วยสังคมที่เปลี่ยนไปนั้น กลุ่มการใช้งานครีเอทีฟที่จะมีการขยายตัวมากขึ้น การซึ่งหลังจากที่ทาง NVIDIA ได้ผลักดันมาตรฐาน NVIDIA Studio ลงสู่ตลาดการใช้งานสายสร้างสรรค์ผลงาน ที่ทำให้ผู้ผลิตนั้นต้องพัฒนาโน้ตบุ๊คในมาตรฐาน NVIDIA Studio ออกมาให้มีความแตกต่างและเสริมการใช้งานสายครีเอทีฟให้มีความแตกต่าง ซึ่งทาง ASUS ได้เคยมีการเปิดตัว VivoBook OLED ที่เป็นโน้ตบุ๊คในกลุ่มสายงานสร้างสรรค์ที่มีเครื่องหมาย NVIDIA Studio ในราคาที่จับต้องได้ แต่คราวนี้ทาง ASUS ได้จัดเต็มกับการเปิดตัว ProArt Studiobook อีกหนึ่งความสุดยอดของโน้ตบุ๊คที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานสายงานสร้างสรรค์ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความโดดด่นในการใช้งานที่เหนือชั้นมากขึ้น โดยเราก็ได้ภาพบรรยากาศงานเปิดตัว พร้อมข้อมูลความน่าสนใจกับ ASUS ProArt Studiobook เผื่อใครที่กำลังสนใจโน้ตบุ๊คการทำงานสายสร้างสรรค์ได้มีข้อมูลไปตัดสินใจได้
ในช่วงหลังที่ทาง ASUS ได้ปล่อยโปรดักส์โน้ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอ OLED ที่มีจุดเด่นทางด้านการแสดงผลได้น่าสนใจกว่าหน้าจอ IPS
VivoBook Pro 15 OLED ซึ่งทาง ASUS ได้ปล่อยออกมาก่อนหน้านี้ ด้วยราคาที่น่าสนใจ กับการใช้งานที่เรียกว่าเด็ด สังเกตที่จะมีเครื่องหมาย NVIDIA Studio ที่ตัวเครื่องด้วยครับ
ก่อนหน้านี้ทาง ASUS เคยได้ปล่อยอีกหนึ่งความสุดยอดของโน้ตบุ๊คสายธุรกิจ เครื่องบางเบา พกพาสะดวก ด้วย ExpertBook B9 มาตรฐาน Intel EVO และ ExpertBook กับ Chomebook ในการใช้งานที่มีความพรีเมี่ยมในสายการศึกษาและการทำงาน
อีกหนึ่งอาวุธในการทำงานด้านสายสร้างสรรค์ กับโปรดัสก์ในกลุ่ม ProArt ที่ทางด้าน ASUS นั้นทำโปรดักส์ในกลุ่มนี้ออกมาได้น่าประทับใจ
ในกลุ่มสายงานครีเอทีฟ ที่ในยุค 2021 การใช้งานก็เปลี่ยนไป มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่การทำงานฌฉพาะทางแบบสมัยก่อน
ความคาบเกี่ยวในเรื่องความต้องการของผู้ใช้งานสายสร้างสรรค์ และ เกมเมอร์ ที่จะมีการควบกันบ้างในตามความต้องการ แน่นอนว่าการออกมาของโปรดัสก์ในกลุ่มเฉพาะ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถได้รับโน้ตบุ๊คที่ตรงกับความต้องการ
11th Gen Intel Core Mobile เราจะเห็นได้ว่ามีการโปรโมทในเรื่องชุดคำสั่ง Ai ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล จากในภาพ IPU6SE นี่คือส่วนของชุดคำสั่ง Ai ที่ถูกเข้าไปรวมอยู่ในตัวซีพียู ที่พูดเรื่องนี้เพราะว่า ASUS ProArt Studiobook นั้นจะใช้ซีพียูหัวใจหลักในการประมวลผลด้วย 11th Gen Intel Core Mobile
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ ProArt Studiobook หน้าจอนั้นเป็นการใช้แบบ OLED แต่มันคือหน้าจอขนาด 16 นิ้ว ตัวแรกของโลก พร้อมกับความแตกต่างในการใช้งานด้วย ASUS Dial ที่สามารถควบคุมการใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้น และ ที่สำคัญ 11th Gen Intel มั่นใจกับประสิทธิภาพและการใช้งานได้
ProArt Stuiobook ในบ้านเราจะมากันสองรุ่น แยกง่ายๆรุ่นธรรมดา และ รุ่น Pro
แค่หน้าจอแสดงผลก็โดดเด่นด้วย OLED แบบ HDR พร้อมกับค่าสี Delta-E<2 และ 100% DCI-PC เรียกได้ว่าจากสเป็ค และ เครื่องหมายที่ได้รับมาน่าสนใจมากในการใช้งาน ความละเอียดหน้าจอ 4K หรือ 3840x2400 สัดส่วน 16:10 ที่มีความลงตัวกับการใช้งานสายสร้างสรรค์
นี่ก็คือ 5 ข้อดี ที่หน้าจอ OLED จากโน้ตบุ็ค ASUS ติดตั้งมา เพื่อการใช้งานที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน ทั้งเรื่องช่วงสี ,แสงสีฟ้า ,ความสดใสของภาพ ,ความดำที่สนิท และ การตอบสนองการเคลื่อนไหว ที่หน้าจอ OLED นั้นทำได้อย่างโดดเด่น
สำหรับรุ่น Pro ที่จะใช้ซีพียู Intel Xeon W-11955W กราฟฟิก NVIDIA RTX A5000 เทียบง่ายๆก็คือ Quadro นั้นแหละครับ แรม 64 GB และ สตอเรจ 4TB ด้วย M.2 NVMe 2TB จำนวน 2 ตัว ที่ยังมาพร้อมกับ Windows 11 Pro จากโรงงาน
สำหรับรุ่นพื้นฐาน ที่จะใช้ซีพียู Intel Core i7 11800H กราฟฟิก NVIDIA GeForce RTX3060 แรม 32 GB และ สตอเรจ 1TB ที่ยังมาพร้อมกับ Windows 10 Home จากโรงงาน การอัพเกรดเป็น Windows 11 ได้ภายหลัง
นี่แหละสำหรับอีกหนึ่งความเด็ดในการใช้งานที่สะดวกมากขึ้นด้วย ASUS Dial ที่เป็นการควบคุมสั่งการได้จากตัว Dial สามารถปรับการใช้งานได้ตามความถนัด เช่น Shortcut และ ตามโปรแกรมการใช้งาน ใช้งานทั่วไปเช่นการดูหนังฟังเพลง สามารถใช้ควบคุมได้
แน่นอนว่าการใช้งานในสายสร้างสรรค์จากโปรแกรมค่าย Adobe ที่ ASUS Dial นั้นรองรับการใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ผู้ใช้งานก็ยังปรับได้ตามความถนัด
อีกหนึ่งฟีเจอร์ ProArt Creator HUB ที่จะใช้ควบคุม ตรวจสอบสถานะ และ ปรับแต่งการใช้งานตัวเครื่องได้ ที่ผมชอบมากเลยคือ WorkSmart เช่นการใช้งานที่อาจต้องเปิด LR PS AE พร้อมกัน สามารถตั้งให้การทำงานเปิดทั้งสามโปรแกรมพร้อมกัน ส่วนการปรับแต่งการควบคุมที่ ASUS Dial เข้าไปตั้งค่าได้เยอะมาก ปรับได้ตามความถนัด
ในจุดการใช้งาน TouchPad ที่จะมีเมาส์สามปุ่ม การทำงานเขียนแบบด้านสามมิติ ถ้าใครคุ้นๆกับเมาส์แบบสามปุ่ม นั้นแหละครับ มันถูกเพิ่มการใช้งานบน ProArt Studiobook คลิกกลางจะสะดวกในการกลิ้งหมุนดูแบบสามมิติ
อีกหนึ่งทีเด็ดที่สามารถรองรับการใช้ Stylus ใช้กับงานวาดได้สะดวกแน่นอน เพราะรองรับแรงกดได้ 1024 ระดับ เท่าที่ทราบข้อมูลจะรองรับ Stylus ของ ASUS ใครที่ใช้ ZenBook อยู่แล้วก็เอามาใช้งานได้
ในประสบการณ์การใช้งานที่เรียกได้ว่า ASUS ProArt Studiobook นั้นใส่การใช้งานมาอย่างจัดเต็ม ถึงแม้ตัวเครื่องจะไม่หนามากก็ตาม เรียกได้ว่าครบถ้วนในการใช้งานของยุค 2021 ได้อย่างทันสมัย สังเกตนะครับ SD Express ความเร็วเกือบ 1000 MB/s สะดวกในการทำงานมากขึ้น
ระบบเสียงยังคงมาอย่างจัดเต็ม ด้วยลำโพงจาก harman/kardon ยังมาพร้อมกับระบบเสียงด้วย DAC จาก ESS แลัวยังได้รับรองระบบเสียง Hi-Res Audio
เทคโนโลยี Ai noise canceling ที่มีความจำเป็นในยุคสมัยนี้ในการประชุมพูดคุยงาน ระดับการตัดเสียงรบกวนมีระดับเพื่อความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม
ISV-Certified เป็นเครื่องหมายรับรองว่าคำพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ สามารถใช้งานร่วมกับ Software ค่าย Autodesk ,Adobe ,Dassault Systemes และ ptc ว่ามันสามารถทำงานได้ดีและราบลื่น ที่ ASUS ProArt Studiobook ได้รับรอง ISV-Certified
การทดสอบระดับ military-grade เชื่อมั่นได้กับความทนทานในการใช้งาน เพราะได้รับการสอบตามเงื่อนไข military-grade MIL-STD 810H
การปรับประกัน 3 ปี ทั้งในบ้านเราและ 57 ประเทศทั่วโลก แล้วยังมี Perfect Warranty อีก 1 ปี ด้วย ในชื่อ ASUS Exclusive Care เอาเป็นว่าส่วนตัวที่เคยใช้ Perfect Warranty ดุ่มๆเคลมเครื่องโดยที่ไม่ได้บอกว่าเป็นใครมาจากไหน ถือว่าประทับใจครับ
ASUS ProArt Studiobook นั้นจะมาพร้อมกับ Adobe Creative Cloud ถึงสามเดือน นับมูลค่าของการใช้งานสามเดือนถือว่าไม่น้อยนะครับ
ในวันงานเปิดตัวที่ ASUS ยังไม่ได้แจ้งราคาใดๆ ก็เข้าไปดูราคาได้จาก Facebook ของ ASUS ประเทศไทยได้
ถ้าคิดว่าราคา ProArt Studiobook นั้นสูงเกินงบประมาณไป ก็ยังมี Vivobook Pro 15 OLED ในราคาที่จับต้องได้ง่ายมากขึ้น ได้รับรองมาตรฐาน NVIDIA Studio เช่นเดียวกับ ProArt Studiobook
สำหรับเครื่อง ProArt Studio 16 OLED ที่เราได้ทดลองเล่นในวันงาน จะเป็นตัวพื้นฐาน ตัวเครื่องการออกแบบที่ดูเรียบง่าย ด้วยโทนสีดำ จับแล้ววัสดุดูดี พร้อมกับความหนาของเครื่องที่ไม่สูงมาก แต่ถ้าพกพานั้นยังสู่เครื่องในกลุ่ม Thin&Light ไม่ได้
สำหรับการใช้งาน ASUS Dial ที่เรียกได้ว่าสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ถ้าเป็น Software ในกลุ่ม Adobe ที่จะมีคำสั่งลัดมาให้พร้อม แต่ก็ยังสามารถปรับรูปแบบคำสั่งลัดได้ตามความต้องการ
การใช้งาน Stylus เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความสะดวกในการใช้งานได้สายครีเอทีฟได้น่าสนใจ การลงน้ำหนัก แรงกดต่างๆ สามารถตอบสนองการใช้งานได้จริง
ส่วตัวผม ถนัดข้างซ้าย จริงๆก็ใช้ได้ทั้งสองข้าง ซึ่งการใช้งาน ASUS Dial รู้สึกไม่ขัดมือ ถ้าไม่ได้เป็นคนถนัดซ้าย ให้น้องที่ไปด้วยกันอาจต้องใช้ความคุ้นชินกันเล็กน้อย ก็ควบคุมได้สะดวกดี
สำหรับ ProArt Studiobook เป็นอีกหนึ่งที่ได้รับมาตรฐาน NVIDIA Studio Laptop ที่ทาง ASUS นั้นได้มีการพัฒนาการใช้งานตัวเครื่อง พร้อมกับฟีเจอร์ต่างๆ ให้ตอบโจทย์สายสร้างสรรค์ผลงาน ได้ตรงตามจ้อกำหนดของ NVIDIA แต่มีการใช้งานที่เหนือชั้นมากขึ้น