สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน DeepCool เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ผู้ผลิตระบบระบายความร้อนจากจีน ที่นับว่ามีความคุ้นเคนในบ้านเรามาอย่างยาวนาน นอกจากการพัฒนาในด้านวัสดุคุณภาพที่มีมากันต่อเนื่อง ในช่วงหลัง DeepCool ได้มีการเพิ่มฟีเจอร์ที่ช่วยในการใช้งานแลัความสวยงามแก่ผู้ใช้งานเข้ามาอีก วันนี้เราอยู่กับ DeepCool AK400 Digital Pro เป็นฮีทซิงค์ระบายความร้อนซีพียูแบบ Tower ใช้พัดลมขนาด 12 เซ็นติเมตร ที่ไม่ขัดขวางแรมสูงและสิ่งกีดขวางรอบๆซีพียู ที่โดนเด่นกับจอแสดงผลหน้าจอแบบ 7 Segment บอกค่าของซีพียูได้สามบรรทัด พร้อมด้วยความสวยงามจากไฟ ARGB ตามยุคสมัย โดยตัวที่เราได้รับมาทำการทดสอบเป็นสีดำ ยังมีเวอร์ชั่นสีขาวตามกระแสนิยมด้วย
Package & Bundled
ตัวแพ็คเกจกล่องกระดาษสีน้ำตาลพร้อมปลอกสีขาวลวดลายสื่อถึง DeepCool AK400 Digital Pro ในชุดที่จะมีอุปกรณ์ยึดมาครบถ้วน รองรับการใช้งานสูงสุด AM4 และ AM5 ในฝั่ง AMD และ LGA 115X/1200/1700 ในฝั่ง Intel ยังมีคลิปพัดลมในชุดที่สองมาให้
Design & Detail
DeepCool AK400 Digital Pro เป็นฮีทซิงค์ระบายความร้อนซีพียูแบบ Tower ใช้พัดลมขนาด 12 เซ็นติเมตร ที่แถบด้านบนของฮีทซิงค์จะมีหน้าจอ 7 segment สามแถวแสดงข้อมูลขนาดใหญ่ และ ไฟสัญญาลักษณ์ความร้อนอยู่ด้ายข้าง พร้อมมีไฟ ARGB ในช่วงด้านข้าง สัดส่วนรวมพัดลม 126×97×156 มม. และ แยกพัดลม 120×60×152 มม.
พัดลมที่ติดตัวมามีขนาด 12x2.5 ซม. ซิ่งตอนติดตั้งเข้ากับเมนนอร์ดต้องแกะพัดลมมาอยู่ดี
ฐานหน้าสัมผัสเป็นอลูมิเนียวผนวกกับท่อฮีปไปท์ทองแดงแบบ Direct Touch Heatpipe หลักการที่ได้รับความนิยิมของกลุ่มฮีทซิ้งค์กลุ่มราคานี้ มีการทาซิลิโดนมาให้จากโรงงาน แต่ฝาครอบที่หลุดง่ายมากซิลิโคนเลยไม่เนียนสายตาเท่าไรครับ
การเชื่อมต่อไฟ RGB ไม่ยุ่งยากแบบ 3 Pin หรือ ARGB 5V ทั่วไป
USB 2.0 ในการต่อลงบอร์ด
สายเชื่อมต่อพัดลมแบบ 4 Pin PWM แนะนำให้ต่อช่อง CPU_FAN
การออกแบบเป็นในแบบ Matrix fin ที่ดูสวยงามดี ช่วยลดเสียงรบกวน แต่การใช้งานที่ยังสามารถเพิ่มพัดลมตัวที่สองได้ครับ
ในการซ่อนสายไฟที่การออกแบบเป็นในลักษณะซ่อนเอาไว้ที่แกนกลางของฮีทซิงค์
พัดลมแบบไม่มีไฟใด เป็นแบบ Fluid Dynamic Bearing เน้นเสียงรบกวนต่ำแต่ได้แรงลมออกมาดี รอบการทำงาน 500~1850 RPM±10% ขนาด 120×120×25 มม. แรงอัดลม 68.99 CFM ในพัดมีทั้งหมด 9 แฉก
พัดลมของ DeepCool ที่คาดว่า DeepCool ผลิตเอง
พัดลมเป็นแบบมุมปิด ที่มียางสลายแรงสั่นสะเทือนในการให้งานทั่ง 4 มุม
Software
ตัวโปรแกรมที่มีการแสดงผลการทำงานของซีพียู แรม พื้นที่จัดเก็บข้อมูล การ์ดจอ และ เครือข่าย ตอนแรกที่ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม DeepCool หน้าจอจะไม่ติดนะครับ รวมไปถึงต้องปรับตั้งค่าให้ตัวโปรแกรมทำงานเองเมื่อเปิดเตรื่อง
เราจะเห็นชัดเจน AK400 Digital Pro
เมื่อเราทำการติดตั้งโปรแกรม หน้าจอจะแสดงผล 1.การใช้พลังงานซีพียู 2.ความร้อนซีพียู 3.เปอร์เซ็นต์การทำงานของซีพียู ที่ไม่สามารถปรับตั้งค่าได้อะไรได้ ไม่สามารถหมุนหน้าจอได้
เมื่อเราได้ลองทำการใช้งาน ที่หน้าจอสามารถแสดงการใช้พลังงานซีพียู ,ความร้อนซีพียู และ เปอร์เซ็นต์การทำงานของซีพียู ยังมีโลโก้ Deepcool สีเขียว และ เครื่องหมายปรอดสีเขียว เมื่อความร้อนซีพียูระดับ 80-90 องศา ปรอดจะเป็นสีส้ม แล้วสูงกว่า 90 องศา จะเป็นสีแดง
บรรยากาศขณะการทดสอบ
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : Intel Core i5-14600K
- M/B : ROG Strix Z790-E Gaming WIFI
- Memory : G.Skill TridentZ5 RGB 32GB F5-7200J3445G16GX2-TZ5RS
- VGA : Gigabyte Radeon RX 7800 XT
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : FSP 1200W Watt
- OS : Windows 11 Pro 23H2
การทดสอบในห้องร้อน ไม่ได้ทดสอบในห้องแอร์ถือว่าเย็นดี
Conclusion
DeepCool AK400 Digital Pro ถ้ามองที่ในด้านการระบายความร้อน ดูจากฮีทซิงค์ไม่ได้มีความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพอะไรนัก เป็นฮีทซิงค์ระบายความร้อนซีพียูแบบ Tower ใช้พัดลมขนาด 12 เซ็นติเมตร ที่ไม่ขัดขวางแรมสูงและสิ่งกีดขวางรอบๆซีพียู ที่เป็นแต่จุดที่สุด ในการพัฒนาที่สุดกับการใส่จอแสดงผลหน้าจอแบบ 7 Segment บอกการใช้พลังงานซีพียู ,ความร้อนซีพียู และ เปอร์เซ็นต์การทำงานของซีพียู ด้วนข้อจำกัดของฮีทซิงค์ที่ไม่สามารถหมุนการแสดงผลอะไรได้ แต่ยังมีสีปรอดที่บอกความขีดสุดของความร้อน พร้อมแสงสี ARGB ที่ดูสวยงามตามสมัยนนิยม ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนตามสเปก TDP 220 Watt คิดว่ามันสูงเกินความเป็นจริงกับการใช้งานในอากาศบ้านเรา ยกเว้นเล่นในห้องแอร์เย็นใช้งานได้สบายไม่มีปัญหา เอาเป็นว่าสิ่งที่โดดเด่นที่สุดหน้าจอแสดงผล 7 Segment บอกการใช้พลังงานซีพียู ,ความร้อนซีพียู และ เปอร์เซ็นต์การทำงานของซีพียู ช่วยเพิ่มความสะดวกในการดูใช้งานคอมพิวเตอร์ ข้อสังเกตุซิลิโคนที่ติดมาเหมือนมันเย็นไม่สุดในตอนแรก ต้องผ่านการ Burn-In หลายชั่วโมง ถึงจะออกมาเย็นแบบการทดสอบ ตอนแรกความร้อนขึ้นไปน่าตกใจมาก ในระดับราคาไม่ถึงพันปลาย ได้ฮีทซิงค์ระบายความร้อนซีพียูแบบ Tower ที่เด่นด้วยหน้าจอแสดงการทำงานของซีพียูแบบไม่ต้องติดตั้ง Hardware อย่างอื่นเพิ่มเติม ที่บอกการใช้พลังงานซีพียู ,ความร้อนซีพียู และ เปอร์เซ็นต์การทำงานของซีพียู ถือว่าเป็นจุดลงตัวที่ดีของทางด้านค่าตัว ,ประสิทธิภาพในการระบายความร้อน และ ลูกเล่นที่ได้มากกว่าฮีทซิงค์ตัวอื่นในตลาด สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : DeepCool Industries Co., Ltd.