สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ถ้าเราพูดถึงเมโมรี DDR5 มันก็คืออีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ถ้าเทียบกับสมัยเด็กน้อย ที่ผมได้มีโอกาสรื้อคอมพิวเตอร์เองก็คงสมัย DRAM บัส 33 Mhz (ไม่แน่ใจเหมือนกัน) จนมาถึงแรม DDR5 4800Mhz มันก็มีการพัฒนาไปตามยุคสมัยของเทคโนโลยี CPU ถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ผมได้จับเป็นหน้าจอสีเขียว ถ้ามองย้อนหันกลับไปจนถึงทุกวันนี้มันได้ถูกพัฒนากันมาอย่างก้าวกระโดด หลังจากที่ทางอินเทลได้เปิดศักราชใหม่ ด้วย 12th Gen Intel Core เทคโนโลยีซีพียูในยุคถัดไป กับเทคโนโลยี Hybrid Core เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์แบบส่วนบุคคล แน่นอนว่าทางอินเทลได้มีการเปลี่ยนใช้เมโมรี DDR5 ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานออกไป โดยสมัยก่อนแรมหรือเมโมรีโมดูลการคุมไฟจะอยู่ที่เมนบอร์ด แต่ในยุค DDR5 จะมีการย้าย IC คุมไฟเข้ามาอยู่ที่ตัวแรมเอง ซึ่งเราจะมีรีวิว G.Skill Ripjaws S5 DDR5 32GB 5200Mhz โดยแรมคู่นี้เป็น Hardware ที่เกี่ยวข้องกับ 12th Gen Intel Core ที่ถูกส่งมาล่วงหน้า ก่อนที่ได้รับซีพียูเสียอีก เอาเป็นว่ามันถูกวางไว้ที่ออฟฟิศของเราจนฝุ่นเกาะ โดย G.Skill Ripjaws S5 จะเป็นเมโมรี DDR5 ประสิทธิภาพสูง ที่ออกแบบมาให้ฮีทซิงค์เตี้ย ไม่มีปัญหาติดขัดกับฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ คาดว่าในกลุ่มฮีทซิงค์ประสิทธิภาพสูงขนาดมันต้องใหญ่โตแน่นอน G.Skill Ripjaws S5 ความเร็วที่เราได้รับมานั้นจะเป็น 5200Mhz ที่ค่าทามมิ่ง CL40 โดยใช้ไฟเลี้ยง VDD และ VDDQ ที่ 1.1 V ความจุในชุดสองแผงที่ 32GB
ในส่วนของเมโมรี DDR5 นอกจากหลักการแล้วถ้าพูดง่ายมันเป็น Dual Channels ภายในแผงเดียวกัน ที่จะมีเทคโนโลยี XMP 3.0 ดูจากชื่อมันก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมเท่าไร แต่แค่ปรับไฟเพื่อการโอเวอร์คล็อก แรมไฟเลี้ยงมีจุดที่ต้องปรับมากขึ้น เปรียบเทียบจุดของความแตกต่างระหว่าง XMP1.0 – 3.0 สิ่งที่ผมถูกใจคือ เขียนโปรไฟล์เองได้เนี่ยแหละครับ ถูกใจสุดแล้ว
Package & Bundled
แพคเกจในแบบพลาสติกขึ้นรูปพร้อมกระดาษแข็งสอด เช่นเดียวกับแรมในตระกูล Ripjaws จาก G.Skill ในยุคที่ผ่านมา
ชัดๆกับสเป็คของตัว G.Skill Ripjaws S5 ที่เราจะมาทำการทดสอบในวันนี้
Design & Detail
มาดูหน้าตาของ G.Skill Ripjaws S5 ภายนอกจะเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุด คงหนีไม่พ้น Heatspeader ที่เน้นความเรียบง่าย แต่แอบซ่อนความซิ่งด้วยลวดลายสีขาว เทาและแดง วัสดุอลูมิเนียมสีดำที่มีการขึ้นรูปมาทำได้ไม่เสียชื่อ G.Skill ผิวคล้ายกับการยิงทรายแบบด้าน ใส่จุดเป็นลักษณะของตระแกรงระบายความร้อนเข้าไป ความสูงของ Heatspeader ที่สูงกว่า PCB เพียงเล็กน้อย หมดปัญหากับฮีทซิงค์ขนาดใหญ่แน่นอน
มาถึงในส่วนด้านหลังกันบ้าง Heatspeader ที่จะเป็นรูปแบบเดียวกันด้านหน้า พร้อมกับฉลากบ่งบอกข้อมูลประจำตัวของ G.Skill Ripjaws S5 โดยถ้าจะส่องชิพแรม G.Skill ต้องส่งจาก P/N เอา
ความแตกต่างของแรม DDR5 และ DDR4 ที่แน่นอนว่าใส่สลับกันไม่ได้แน่นอน
การยึดติดกับระหว่างเมโมรีโมชิพและ Heatspeader จะเป็นการใช้แผ่นระบายความร้อนแบบการในถ่ายเทความร้อน ที่การออกแบบของ Heatspeader ถือว่าทำออกดี ที่ความนาบเกือบในฝั่งเมโมรีชิพ แต่ในฝั่งที่ไม่มีเม็ดแรมจะมีความโก่งเล็กน้อย คาดว่าปัญหาน่าจะมาจากแผ่นโฟมกาวข้างใน ใครใช้แรม G.Skill ถ้าไม่มีความจำเป็นอย่าไปงัดฮีทซิงค์เล่นนะครับ เพราะถ้าเวลาส่งเครมแล้วเก็บหน้าศพไม่เนียนจะมีปัญหาในการรับประกัน เอาเป็นว่าถ้าทำให้เค้าไม่รู้ว่าแกะมาจะดีที่สุด
ชุด Dual Channels 32GB เท่ากับว่า 1 แผง = 16GB ครับ ตามหลักการของ Intel หรือ ผู้ผลิตแรมจะเรียกว่า Dual Channels หรือ Kit of 2 ถึงแม้หลักการทำงานภายในเมโมรีโมดูล 1 แผง จะทำงานแบบ Dual Channels ก็ตาม
พร้อมโปรไฟล์ JEDEC ที่มีมา 7 ชุด รองรับความเร็วที่หลากหลาย ถ้าเป็นการใช้งานแรม 4 แผง ความเร็วมาตรฐานจาก 4800 จะถูกลดลงมาที่ 3600
เม็ดแรมที่ใช้เป็น Micron/Spectek ในช่วงแรกของ DDR5 เราจะเห็นแรมที่ใช้ IC จาก Micron/Spectek เป็นส่วนใหญ่ โดย G.Skill Ripjaws S5 รองรับค่าโปรไฟล์ XMP 3 ชุดตามมาตรฐาน พร้อมโปรไฟล์ JEDEC ที่ 4800 Mhz ตามสเป็คพื้นฐานของอินเทลเอง
การโอเวอร์คล็อกแรม DDR5 ถึงแม้ส่วนต่างอาจไม่ได้เพิ่มสูงมาก การปรับไฟ VDD และ VDDEQ สองอย่างนั้นยังไม่พอ แค่จาก 5200 ไป 5600 ยังต้องปรับหลายจุดครับ คงต้องมาเรียนรู้กันเพิ่มเติมในการโอเวอร์คล็อก
System Setup
- CPU : Intel Core i9 12900k
- VGA : ASUS TUF Gaming GeForce RTX3060
- CPU Cooler : ROG Ryujin II 240
- SSD : Kingston NV1 1TB
- PSU : ROG THOR 1200 Watt
- OS : Windows 11 Pro
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Overclocked @ 5200Mhz CL38-38-38-76 (VDD+VDDQ 1.25V)
หลังจากทดลองกด CL ลงมาที่ 38 เราจะเห็นว่าประสิทธิภาพของเมโมรีทำออกมาได้สูงมากขึ้น แม้จะไม่ได้ขยับบัสแรม
Overclocked @ 5400Mhz CL40-40-40-76 (VDD+VDDQ 1.25V)
ขยับมาที่ 5400 Mhz ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบทำออกมาได้ดีขึ้น แม้จะไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับซีพียู
Overclocked @ 5600Mhz CL40-40-40-76 (VDD+VDDQ 1.35V)
ในความเร็วระดับ 5600 Mhz ก็เป็นความเร็วที่ทาง G.Skill ได้แจ้งเอาไว้เป็นจุดที่ปลอดภัยและไม่ได้ใช้ไฟสูงมากนัก ซึ่งโดยส่วนตัวถือว่าออกมาดีขึ้นกว่า 5200 Mhz แต่ยังรู้สึกคาใจอยู่
ความความที่ผมชอบโอเวอร์คล็อกซีพียูแบบลาก BCLK สูงๆในสมัยก่อน เลยลองลากดูโดยยึดที่บัสแรมเท่าเดิม ความถี่สัญญาณนาฬิกาใกล้เคียงกัน จาการทดสอบจะเห็นได้ว่า Memory ประสิทธฺภาพทำได้ดีขึ้น อีกทั้ง Cache L1-L3 ก็รวดเร็วมากขึ้น
Overclocked @ 5616Mhz CL40-40-40-76 (VDD+VDDQ 1.35V)
หลังจากจูนไฟอีกเล็กน้อย ก็เลยมาทำการทดสอบเพิ่มเติม เรียกได้ว่าความเร็วระดับ 5600 Mhz สามารถใช้งานได้จริงอย่างมีเสถียรภาพ เห็นแบนด์วิดท์ ผมก็นอนหลับได้แล้ว พร้อมกับค่า Latency ที่ลดลงได้น่าสนใจ
Overclocked @ 5800Mhz CL42-42-42-76 (VDD 1.35V + VDDQ 1.45V)
อันนี้ดื้อเพิ่มเติม ลากมาที่บัส 5800Mhz กับการเพิ่ม VDDQ มาอีกเล็กน้อย ก็ใช้งานไม่ได้ครับ ได้แค่เข้า Windows และ ทดสอบเล็กน้อย คาดว่าอาจต้องมาจูนกันเพิ่มเติมอีก
Conclusion
G.Skill Ripjaws S5 ก็เป็นแรม DDR5 คู่แรกที่ได้ลงรีวิวในโอเวอร์คล็อกโซน ซึ่งถ้ามองในแง่ประสิทธิค่าตามสเป็ค มันก็จะเป็นแรมประสิทธิภาพสูงสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน และ การเล่นเกมอย่างแน่นอน ใน DDR5 ยุคแรก โดยความสามารถในการโอเวอร์คล็อกที่อยู่ได้ในระดับ 5600Mhz จาก 5200Mhz อาจดูไม่สูงมากขึ้น แต่มันก็สามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกการทดสอบ โดยไม่ได้ไปยุงกับความถี่สัญญาณนาฬิกาของ CPU และ Cache ลากแค่นี่ผมยังต้องนั่งไล่ปล้ำหาจุดปรับกันพอสมควร ถึงจะทดสอบแล้วใช้งานได้จริง ถึงเวลาวางขายจริงของเมนบอร์ด ไบออสสมบูรณ์คิดว่าค่าไฟ Auto เมนบอร์ดมันต้องรู้ได้ว่าต้องปรับเพิ่มให้ใช้งานกับการโอเวอร์คล็อกเบื้องต้นได้ สำหรับเมโมรี DDR5 จากทาง G.Skill ก็ต้องรอติดตามชมอาวุธชิ้นต่อไปในการยกระดับประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ ว่า G.Skill จะมีไม้เด็ดอะไรปล่อยออกมาไหม เพราะ Ripjaws S5 ตัวที่เราได้่รับมาทำการทดสอบมันใช้ชิพ Micron/Spectek ยังเป็นอุปสรรคในการโอเวอร์คล็อกโหดๆมากกว่าที่เราได้เห็นกันไป สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : G.SKILL International Enterprise Co., Ltd