Update และสรุปเหตุการ์ณดังกล่าว
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23/4/2019 ทางผู้ที่ค้นพบและสงสัยกรณี Huawei P30 Pro ได้มีการส่งข้อมูลไปยัง Server ประเทศจีน ได้แจ้งว่าเป็นการเข้าใจผิด เพราะได้มีการเข้าเว็ปไซต์ Baidu อยู่ด้วย อาจจะทำให้รายชื่อ DNS ที่โผล่มานั้นมาจาก Baudu แทนครับ ..
_____________________________________________
แบรนด์ Huawei นี่ก็ถือว่าเป็นแบรนด์ที่มีการเติบโตได้เร็วมากๆ ในรอบไม่กี่ปีครอบครองส่วนแบ่งการตลาดไปหลายประเภทเลย ล่าสุดนี้กระแสออนไลน์ก็ถือว่ามาแรงมากๆเกี่ยวกับ Huawei P30 Pro สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุดของแบรนด์ เพราะประสิทธิภาพของกล้องมันที่จัดอยู่ในระดับโคตรเทพ จนมีคนพูดถึงบนโลกออนไลน์อย่างแพร่หลาย บางคนถึงขั้นเอาไปทำเป็น Memes เลยก็มี
แต่ก็ต้องยอมรับตรงๆว่าชื่อเสียงด้าน User Privacy ของ Huawei นี้ก็ไม่ค่อยจะดีซักเท่าไหร่ อย่างแรกเลยก็คือประเด็นที่รัฐบาลสหรัฐได้มีการแบนอุปกรณ์จากทาง Huawei ไม่ให้เข้าไปวางจำหน่ายในประเทศ หลังจากนั้นก็มีประเด็นอื่นๆที่คล้ายๆกันตามมามากมาย ซึ่งตรงนี้แอดมินก็ไม่ขอฟันธงนะครับ ว่าเป็นเรื่องจริงหรือว่าเป็นแผนการเกี่ยวเนื่องจากสงครามการค้าที่กำลังร้อนระอุ ระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันนี้ที่ Huawei P30 Pro ได้มีการวางจำหน่ายแล้ว นอกจากข้อดีเรื่องกล้องเทพ ที่คนบนโลกโซเชี่ยลไล่ป้ายยากัน ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง อย่างเช่นเรื่องไอน้ำเกาะในเลนส์กล้อง จนมาถึงประเด็นล่าสุดก็คือเรื่องเกี่ยวกับ User Privacy เหมือนเดิม โดยครั้งนี้ Facebook Page : ExploitWareLabs ได้มีการโพสท์เมื่อช่วงเย็นของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาในโพสท์ก็จะเป็นรายชื่อ DNS ที่ Huawei P30 Pro ได้ทำการขอ Resolve ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นของ Server ในประเทศจีน หลายๆอันก็เป็นลงท้าย .cn และมีบางอันที่เห็นว่าเป็น beian.gov.cn ซึ่งก็เป็นหน่วยงานความปลอดภัยของประเทศจีน
ทางด้าน beian.gov.cn นั้นก็ถูกลงทะเบียนไว้กับ Alibaba Cloud และควบคุมดูแลโดย China's Ministry of Public Security .. และอีก DNS ก็คือ china.com.cn ที่ถูกลงทะเบียนโดย EJEE Group และควบคุมดูแลโดย China Internet Information Center .. ทั้งสองอันที่ยกตัวอย่างมานี้คือเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตรงนี้ก็หมายความว่า Smartphone เครื่องนั้นอาจจะกำลังมีการส่งข้อมูลบางอย่างกลับไปยัง Cloud Server ที่ดูแลโดยรัฐบาลของจีน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ Smartphone เครื่องนั้นด้วย .. มากไปกว่านั้นก็คือ เจ้าของเครื่องที่เจอประเด็นนี้ ไม่ได้ลงทะเบียนการใช้งาน Service อะไรของ Huawei เลยด้วยซ้ำ ไม่ได้ใส่แม้กระทั่ง Huawei ID
อย่างไรก็ตาม หลังจากพยายามสืบข้อมูลและลองตรวจ Smartphone รุ่นอื่นๆของ Huawei อย่างเช่น Nova 3i ที่เปิดตัวไปในช่วงสิงหาคมปีที่แล้ว ก็ไม่ได้มีการเจอการส่งข้อมูลออกไปแต่อย่างใด
พอมีข่าวนี้ออกมาก็มีกระแสโต้ตอบอย่างรุนแรงจากประชาชนชาวเน็ต .. บางคนก็เอาไปล้อกันอย่างสนุกสนานหรือเขียนคอมเมนท์แนวประชดประชัน
สุดท้ายแล้วก็ต้องตัดสินใจเองแล้วหล่ะครับ สำหรับผู้ใช้งานว่าจะเชื่อใจโปรดักส์จาก Huawei หรือแบรนด์จีนอื่นๆ หรือเปล่า.. เพราะเรื่องประเภทนี้ก็เป็นเรื่องปกติในประเทศจีนที่การเข้าออก Internet นั้นถูก Monitor โดยรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ เพราะเช่นนั้นการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานในประเทศจีนก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่แปลกประหลาดอะไรมากมาย แต่สำหรับประเทศอื่นๆที่เชื่อว่าโลกอินเตอร์เน็ตเป็นโลกเสรีแล้วหล่ะก็ อาจจะรับไม่ได้กันบ้างแหล่ะครับ .. อันนี้สาเหตุที่ตรวจพบกับ Smartphone ของแบรนด์ Huawei อาจจะเป็นเพราะว่า Huawei มีประเด็นตรงนี้อยู่แล้วหรือเปล่า จริงๆเราก็ไม่รู้เลยนะครับ ว่า Smartphone หรือ Product ของยี่ห้ออื่นนั้น อาจจะทำแบบเดียวกัน แต่ยังไม่มีใครตรวจสอบก็เป็นได้
ที่มาของข้อมูล : TaiwanNews