สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากที่ AMD ได้มีการวางขาย Ryzen 9000 ไปแล้ว แต่การใช้งานที่ยังคงต้องอยู่กับเมนบอร์ดซิพเซ็ต 600 Series ซึ่งวันนี้ที่เราจะได้เห็นหน้าตาและการทดสอบของเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD 800 Series กับ ROG Crosshair X870E Hero ที่พร้อมรองรับ AI PC ตามยุคสมัย การออกแบบทางการตลาดของเมนบอร์ดตัวนี้ คงต้องบอกว่ามันคือเกมมิ่งเมนบอร์ด ที่ ASUS ตั้งให้สามารถออกมาสุดเท่าที่ Hardware ที่ใช้งานร่วมจะเค้นออกมาได้ในการใช้งานจริงโดยที่ระบบยังคงเสถียรภาพที่ดี โดยที่การใช้งานใส่เข้ามา WIFI 7, 5Gbps Ethernet, USB4 ,PCI Express 5.0 และ MiniSAS ที่การใช้งานมันเกินกว่ากลุ่มเกมมิ่งไปแล้ว แต่ถ้าลงรากลึกของ ROG ในตระกูล Crosshair มันคือเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับขาโหดชาว AMD มาเป็นสิบกว่าปี ที่ Crosshair แต่ละรุ่นสามารถทำออกมาได้ไม่ผิดหวัง ซึ่ง ROG Crosshair X870E Hero มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน ทาง ASUS ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์การใช้งานใส่เข้ามาในยุคนี้ ROG Crosshair X870E Hero มาด้วยโทนสีดำ ผิวสัมผัสโลหะคุณภาพเยี่ยม รูปทรงที่เพรียวบาง และเอฟเฟกต์ภาพสามมิติบนฮีตซิงก์ M.2 และ ชิปเซ็ตขนาดใหญ่ เมนบอร์ดนี้ยังมีเอฟเฟกต์ Polymo Lighting II ไฟส่องสว่าง ซึ่งติดตั้งไว้ใน ฝาครอบ I/O ช่วยให้แสง RGB แบบไดนามิกมากขึ้นสำหรับโลโก้ ROG ที่เป็นเอกลักษณ์
Package & Bundled
ตัวแพ็คเกจมาในธีมดำและแดงตามแบบฉบับ ROG มาอย่างยาวนาน ลายบนกล่องมาในธีมลายที่บ่งบอกความเป็น ROG Crosshair X870E Hero พร้อมจุดเด่นเบื้องต้น
อุปกรณ์ที่ให้มาในชุดมีความเป็น ROG อย่างเด่นชัดมี ROG stickers ,ROG thank you card ,Quick start guide

ในชุดมีมาเยอะตามการใช้งานของตัวบอร์ด ARGB RGB extension cable, SATA 6Gb/s cables 4 เส้น ,ASUS WiFi Q-Antenna, Q-connector, M.2 Q-Latch 2 ตัว, M.2 Q-Slide 3 ตัว, M.2 rubber 5 ตัว และ USB drive ที่มีโปรแกรมการใช้งาน
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตามความนิยมของยุคสมัย ที่มาพร้อมกับลวดลายสีเทาดูดุดันสวยงามมาก โดยฮีทซิงค์มีจุดบอกความเป็นเมนบอร์ดเกมมิ่ง ROG Crosshair X870E Hero อย่างชัดเจน พร้อมกับการระบายความร้อนที่มาอย่างจัดเต็มอย่างมีคุณภาพสมกับราคาต่าตัว โดยการใช้ขนาด ATX ที่หาเคสใส่ง่ายกว่า E-ATX เมนบอร์ดที่อัดแน่นมาก ที่เลือกใช้อุปกรณ์คุณภาพดี
ด้านหลังมีการติดตั้ง Backplate อลูมิเนียมสีดำ ลายบ่งบอกความเป็น ROG อย่างเด่นชัด PCB สีดำผิวด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาดีตามสไตล์ ASUS
ซีพียูที่รองรับนั้น Socket AM5 ที่เป็น AMD Ryzen 7000, 8000 และ 9000 Series ซึ่งในอนาคตมีออก AM5 มาอีก ซื้อวันนี้ วันหน้า AMD ออกซีพียูรุ่นใหม่ ก็ใช้งานได้ ตามที่ป้าลิซ่าเคยได้พูดเอาไว้เกินปี 2027 ยังมี CPU ออกมาในตลาดแน่นอน การรองรับ TDP ไม่ต้องใส่ใจมาก เมนบอร์ดตัวนี้รองรับการโอเวอร์คล็อกระดับสถิติครับ
ปลั๊ก ATX 8 Pin สำหรับไฟเลี้ยงซีพียูสองเต้ารับ ในนาม DUAL PROCOOL II ที่ออกแบบมาให้สามารถรับไฟได้มาก มีความแข็งแรงสูง
ภาคจ่ายไฟแบบ 18+2+2 เฟส ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานหนักเช่น 3D Workstation หรือ การโอเวอร์คล็อกได้อย่างดี พร้อมการใช้ฮีทซิงค์ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟสีดำ 2 ชิ้น ผสานการระบายความร้อนด้วยท่อฮีทไปท์ ใส่มาช่วยเพิ่มความดุดันได้น่าสนใจ เกรดคุณภาพอุปกรณ์พวกภาคจ่ายไฟต่างๆ ที่ทาง ASUS ได้มีความจัดเต็มในการเลือกใช้อุปกรณ์ทนทานต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานหนักต่อเนื่องกับเล่นเกมหรือการโอเวอร์คล็อกได้เป็นอย่างดี พร้อมการฝังเซ็นเชอร์วัดอุณหภูมิที่จุดสำคัญ เช่นซีพียู ภาคจ่ายไฟที่ทาง ASUS นั้นได้ใช้อุปกรณ์และการควบคุมภาคจ่ายไฟ พร้อมกับการใช้ 10K Black metallic capacitors และ MicroFine Alloy Choke ซึ่งจะทำให้การจ่ายพลังงานมีความต่อเนื่องทุกท่วงท่าในการใช้งาน โดยไฟที่จ่ายให้ซีพียูจะมีเสถียรภาพและมั่นคงในการจ่ายพลังงานได้ดี แม้ขณะการโอเวอร์คล็อกระดับสถิติโลก พร้อมการฝังเซ็นเชอร์วัดอุณหภูมิที่จุดสำคัญ เช่นซีพียู กับ ภาคจ่ายไฟ การโอเวอร์คล็อกที่สามารถใช้ Dynamic OC Switcher เพิ่มประสิทธิภาพของ CPU ให้สูงสุดโดยยึดอุณหภูมิเพื่อสลับระหว่างการโอเวอร์คล็อกด้วยตนเอง เพื่อการใช้งานเวิร์กโหลดมัลติเธรดหนักๆ, Precision Boost Overdrive สำหรับงานเธรดเดียวโดยอัตโนมัติ, Core Flex ช่วยให้ทำลายขีดจำกัด ไปได้ไกลกว่าเดิม โดยควบคุมสัญญาณนาฬิกา พลังงาน และอุณหภูมิ ,AMD Precision Boost Overdrive (PBO) ผลักดันกระแสและแรงดันไฟฟ้าของ CPU เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามโอกาส แล้วมี Overclocking Load Guard การป้องกันกระแสไฟฟ้าทันทีที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ประสบปัญหาขัดข้องระหว่างการโอเวอร์คล็อก
สล็อตติดตั้งแรมนั้นเป็นแบบ SafeDIMM รองรับชนิด DDR5 ตามมาตรฐานของ Socket AM5 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 192GB ความเร็วที่รองรับสูงสุด 8200+ Mhz ใน Ryzen 9000, ความเร็วที่รองรับสูงสุด 8600+ Mhz ใน Ryzen 8000 และ ความเร็วที่รองรับสูงสุด 8000+ Mhz ใน Ryzen 7000 สามารถโอเวอร์คล็อกเพิ่มเติมตามตามความเป็นไปได้ของอุปกรณ์ร่วมระบบ พร้อมรองรับโปรไฟล์ AMD EXPO, XMP, NitroPath และ ASUS Enhanced Memory Profile (AEMP) ในส่วนนี้มีการใช้งาน ปุ่ม Start, ปุ่ม FlexKey, ปุ่ม ReTry, Q-LED ,Q-CODE และ จุดเชื่อมต่อ RGB 5V หรือ Addressable RGB
จุดการเชื่อมต่อ USB 3.2 20 Gbps แบบ Type E รองรับ Quick Charge 4+ จ่ายไฟสูงสุด 60 วัตต์ แบบ PD3.0 ที่ยังมีการเชื่อมต่อไฟเลี้ยงสล็อตการ์ดจอ แบบ PCIe 8 Pin ถ้าไม่ต่อเครื่องเปิดติด แต่ไฟเตือนสีแดงที่จะติดสว่างครับ
พอร์ต SATA 6Gb/s จำนวน 4 พอร์ต รองรับ Raid 0/1/10 แต่ถ้าใส่กับ Ryzen 9000 ได้การใช้งาน Raid 5 เพิ่มมาด้วย ถัดมากับพอร์ตที่หน้าตาไม่ค่อยคุ้นกับ MiniSAS แบบ PCIe 4.0 x4 และ จุดเชื่อมต่อ USB 3.0 แบบ 19 Pin
สล๊อต PCI-Express x16 5.0 สองสล๊อตที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วย Safe Slot พร้อม Q-Release Slim ความเร็วแบบ x16+x0, x8+x8 และ x8+x4+x4 เป็นการสื่อสารผ่าน CPU ที่ความเร็ว ,การเลือกใช้ซีพียู ,การติดตั้ง SSD มีผลด้วยครับ ต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนนี้ ในการใช้งานทั่วไป SSD M.2 และ การ์ดจอ ใช้ได้เต็มที่แน่นอนครับ
จุดการติดตั้ง SSD PCI Express 5.0 รองรับขนาดใหญ่สุด 2280
ไม่ได้ M.2 Q-Release แต่มัน Q-SLIDE แล้วยึดแบบ M.2 Q-LATECH คือการถอดและใส่ไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ รองรับ SSD ขนาด 2242, 2260 และ 2280
ฮีทซิงค์ที่ ROG Crosshair X870E Hero จัดเต็มมาก จับแล้วรู้สึกถึงคุณภาพ
นอกจาก M.2 ที่อยู่ข้างซีพียู ยังมีอีกสี่สล๊อต โดยสองสล็อตแบบ SSD PCI Express 5.0 รองรับขนาด 2242, 2260 และ 2280 ปรับขนาดด้วย Q-SLIDE ยึดแบบ M.2 Q-LATECH อีกสองสล็อตแบบ SSD PCI Express 4.0 รองรับขนาด 2242, 2260 และ 2280 กับ 2280 ยึดแบบ M.2 Q-LATECH โดยตรงกลางที่มีตัวหนังสือ "HERO" เป็บส่วนของฮีทซิงค์ระบายความร้อนชิพเซ็ต AMD X870E
Q-Release Slim ที่มีมาให้กับสล็อตทั้งสอง ที่การใช้งานนับว่าสะดวกกับสายโอเวอร์คล็อกมาก ที่มีความแข็งแน่นหนาในการติดตั้งการ์ดจอและการ์ดที่เป็นแบบ x16
การเชื่อมต่อ USB ที่มาเยอะมาก USB 2.0 ในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สมัยนี้ USB 3.0 แบบ 5Gbps และ USB Type E แบบ 20Gbps รองรับ Quick Charge 4+ จ่ายไฟสูงสุด 60 วัตต์ แบบ PD3.0 ถัดมาด้วยสวิตช์ Alteration PCIe mode switch และ LN2 Mode Jumper
การเชื่อมต่อ Front Panel Audio, การเชื่อมต่อปั๊มชุดน้ำ, เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ และ Addressable RGB หรือ RGB 5v สองชุด
ระบบเสียง SupremeFX ออนบอร์ดที่จัดเต็มมาก ประมวณผลด้วย ALC4082 CODEC รองรับเสียงแบบ 32 Bit 384 kHz มีการใช้ DAC ESS ES9219 จำนวน 4 ตัว ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Dolby Atmos และ มีการใช้คาปาชิเตอร์ Nichicon Fine Gold ที่รองรับการใช้งานได้ถึง 7.1 ทิศทาง แต่ต้องใช้ Front panel audio ร่วมด้วย
Back Panal I/O Ports

เมนบอร์ดนี้ยังมีเอฟเฟกต์ Polymo Lighting II โมดูลไฟส่องสว่างช่วง I/O ช่วยให้แสง RGB แบบไดนามิกมากขึ้นสำหรับโลโก้ ROG ที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ถ้ายังไม่เปิดมันจะเหมือนกระจกส่อง

ในค่ามาตรฐานที่ ไฟจะเป็นเป็นสีขาว

การปรับแต่งผ่าน Armory Crate ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบแสง สี และ โหมดมืด
การเชื่อมต่อผ่านชิพเซ็ตที่ส่วนแรกจะมี USB 3.2 และ SATA
การเชื่อมต่อที่สองมี WiFi 7 + Bluetooth 5.3 ใช้ MT7927 ของ MediaTek ,แลน 5 Gbps ใช้ RTL8126 ของ Realtek และ แลน 2.5 Gbps ใช้ I226-V ของ Intel
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 9700X
- Memory : G.Skill TridentZ5 RGB 32GB F5-7200
- VGA : GIGABYTE Radeon RX 7800 XT
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
ลองดันแรมอีกนิด
ลากบัสแรมเพิ่มเหนือกว่าจุดที่ทำได้เมื่อ CPU ตัวนี้อยู่กับบอร์ดโมเดลอื่น ซึ่งแค่ลากบัสแรมเพิ่มไม่มาก แต่ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม
ในการเปิดตัวของชิพเซ็ต AMD X870 และ X870E ที่มีแค่ 5 โมเดลเท่านั้น ซึ่งคาดว่าโมเดลอื่นๆจะออกมาตามหลังจากนี้ครับ
Conclusion
ROG Crosshair X870E Hero ถือว่ามันเป็นที่สุดของเมนบอร์ด Socket AM5 ใช้ชิพเซ็ต AMD X870E ที่โหดเหี้ยมสำหรับชาว AMD ท็อปสุดของห่วงโซ่ AM5 (ในปี 2024-2025) การออกแบบที่ ROG Crosshair X870E Hero ออกแบบมาสำหรับสายเกมมิ่ง ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง การออกแบบมันสามารถเค้นประสิทธิภาพของระบบได้อย่างสนุกสนานมาก ทั้งการโอเวอร์คล็อกซีพียู สามารถปรับได้หลายระดับมาก ตั้งแต่เบสิกจนไปถึงระดับโลก ที่ ROG Crosshair X870E Hero สามารถตอบโจทย์ได้หมด แม้ซีพียูในตระกูล X3D ที่ไม่สามารถทำการโอเวอร์คล็อกได้ แต่ ROG Crosshair X870E Hero ยังมีฟีเจอร์ให้ปรับแต่งเพิ่มประสิทธิภาพได้ มาถึงทางลากแรม ROG Crosshair X670 สามารถทำได้ดี ROG Crosshair X870E Hero มาต่อยอดได้ดีขึ้น คิดว่าในการออกอัปเดทไบออสในอนาคต มันสามารถไปได้ไกลขึ้นแน่นอน เพราะการสอบไบออสติดตัวมาเทียบกับตัวที่ผมใช้ในการทดสอบ เทียบกันดีขึ้นพอสมควรครับ การปรับแต่งจูนแรมเป็นอีกจุดที่ CrossHair ทำได้เหนือมากกว่าเมื่อเทียบกับ Prime ,TUF Gaming และ ROG Strix มันคงต่อยอดจากตระกลู CrossHair X670E ด้วยฟีเจอร์คววามสามารถใหม่มาสู่ CrossHair X870E หันกลับมามองในการใช้งานตัวบอร์ดมี WIFI 7, 5Gbps Ethernet, USB4 ,PCI Express 5.0 และ MiniSAS ถือว่าเป็นเมนบอร์ดในระดับไฮเอนด์ ที่ MiniSAS การใช้งานมันไปอยู่ในระดับ Workstation ได้ด้วย สำหรับค่าตัวที่ราวสามหมื่นบาท ถือว่าราคาสูง ถ้าใช้งานได้ครบถ้วน ในกลุ่ม Hardcore เกมมิ่ง หรือ 3D Workstation และ โอเวอร์คล็อกระดับสถิติ ไม่ว่าลากแรมบน Ryzen 8000 หรือ ลากซีพียูและแรมบน Ryzen 9000 ถ้ามีงบมากพอ ROG Crosshair X870E Hero เป็นอีกทางเลือกที่ไม่ควรพลาด สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.