สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน เวลามันช่างเดินทางผ่านไปรวดเร็วมาก ปี 2024 เราคงเห็นและสัมผัสความแรงของ Intel Arrow Lake-S พัฒนาก้าวข้าม Gen 14 กันแล้ว ที่ได้มีการเปลี่นนชื่อใหม่เป็น Core Ultra 200 ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมีการเปลี่ยนซ็อกเก็ตและแพ็คเกจใหม่ แต่ Intel คาดว่ายังคงใจดีไม่มีการเปลี่ยนระบบการยึดของชุดระบายความร้อน อัพเกรดใหม่แต่ยังใช้การระบายความร้อนเดิมได้ แน่นอนว่ากว่าจะมี Gen 15 ก็ต้องมี Gen 1 ที่ยุคนั้นจะมีการแบ่งแยกในกลุ่ม ไฮเอนด์ และ เมนสตรีม อย่างชัดเจน ในระดับไฮเอนด์ทำตลาดก่อนด้วยสถาปัตยกรรม Nehalem ขนาดขบวนการผลิต 45nm แพ็คเกจ LGA1366 ที่โดนใจในยุคนั้นกับเมโมรี Triple Channels ในปี 2008 ส่วนของกลุ่มเมนสตรีมที่จะออกมาตามหลังในปี 2009 สถาปัตยกรรม Lynnfield ขนาดขบวนการผลิต 45nm แพ็คเกจ LGA1156 เมโมรี Dual Channels ที่ไม่ได้มาพูดถึงหรือทดสอบความแรงให้ได้ชม แต่จะมาพูดถึงเมนบอร์ดตัวแรงของยุคนั้นกับเมนบอร์ด ASUS ROG Maximus III Formula ที่ผมซื้อมาใช้ในเครื่องที่ผมใช้งานจริง
ASUS ROG Maximus III Formula Detail
ถ้าผมจำไม่ผิด ASUS ROG Maximus III Formula มันคือรุ่นแรกๆ ที่เป็นบอร์ดในธีมดำแดงจาก ROG โดยก่อนหน้านั้นมันจะใช้ Slot และ Socket สีน้ำเงินแทนสีแดง ภาพลักษณ์ของเมนบอร์ดที่ยังคงดูดุโหดแม้เวลาจะผ่านมาตั้งแต่ปี 2009 ที่โมเดล Formula ยังไม่มี CrossChill ภาคจ่ายไฟลูกครึ่งที่ได้ทั้งลมและชุดน้ำแบบสมัยนี้ ถ้าอยากอาบน้ำมีบล็อกขายสมัยนั้น ในภาพรวมที่มองผ่านๆยังไม่ต่างกับบอร์ดยุคนี้มากนัก อย่างว่ามันไม่ใช่ ASUS ในยุคบอร์ด PCB สีน้ำตาลโน้น
ภาคจ่ายไฟ 18+1 เฟส เรียกได้ว่าสุดตรางในยุคนั้น มีฮีทซิงค์ภาคจ่ายไฟที่มีฮีทไปท์เข้ามาผสานการระบายความร้อน ซีพียูแพ็คเกจ LGA1156 พร้อมรองรับเมโมรี DDR3 แบบ Dual Channels ถ้าดูภาพลักษณ์อาจดูไม่แพงแบบ Triple Channels สมัยนั้น ATX 8 Pin ที่ยังเป็นเรื่องใหม่มาก ถ้าพาวเวอร์เป็น ATX 4 Pin ใช้หัวแปลงก็ไม่ใช่เรื่องบาป
ปุ่มพาวเวอร์สีแดง และ ปุ่มรีเซ็ตสีดำ ที่ดูซิ่งและมีความเป็น ROG อย่างมาก อย่ามาหาหัวการเชื่อมต่อ USB 3.0 เพราะมันยังไม่ออกมาของมาตรฐาน ถ้าย้อนเวลาไปใช้ USB 2.0 ก็ใช้ได้แหละ อุปกรณ์บนบอร์ดที่ดูย้อนยุคตรงยุคแน่นอน ในด้านชิพและส่วนประกอบต่างๆไม่ดูเป็น SMD แบบสมัยนี้ ที่ยังพอใช้หัวแร้งในการถอดยกชิพได้ แต่การออกแบบที่ไม่มีความจำเป็นในการเล่นน้ำ โมไฟ แล้วเอาไปเคลมแบบสมัยก่อนที่มี DFI Lanparty ยุค DDR 1 ถ้าใครมีเม็ดแรม Winbond CH6 BH6 CH5 BH5 หรือ UTT อย่างน้อยเอาไฟ 3.3 V พาวเวอร์ซัพพลายต่อตรงกับภาคจ่ายไฟแรมของเมบอร์ด แล้วโมพาเวอร์ให้ไฟ 3.3 V จ่ายไฟไปถึง 4.X V เล่นจนบอร์ดตัด
สล๊อต PCI 32 Bit ที่มีความสูงมากกว่า PCI Express ที่แน่ๆยุคนั้นจะต้องมีการ์ดเสียง แต่คนส่วนใหญ่ออนบอร์ดครับ
ฟีเจอร์ของบอร์ดยุคนั้นที่ยังคงมาถึงในสมัยนี้ในระดับเดียวกับ อย่าง Q LED หรือ ProbeIt ซึ่งอย่างบางจุดเช่น Go Button หายไป แต่เปลี่ยนชื่อที่เพิ่มการใช้งานตามยุคสมัย
การเชื่อมต่อสตอเรจที่เป็น SATA II ยังไม่มี SATA III โดยเมนบอร์ดระดับนี้ใส่คอนโทรลเลอร์ JMicron ที่รองรับ E-sata เป็นทางออกที่ประสิทธิภาพสูง โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้มีอุปกรณ์เสริมเป็น E-SATA มาให้ด้วย
ในสมัยนั้น ROG ที่มีการพยายามออกแบบชิพควบคุมด้วย จะเห็นชัดกับการรีมาร์คความเป็น ROG ชัดเจนมาก ที่การเคลียร์ CMOS ใช้เป็นการโยกสลับจัมเปอร์
ชิพ Firewire IEEE และ Gigabit Lan ที่เป็นขาตะขาบ ยังไม่ตัวเล็กและเป็น SMD แบบสมัยนี้ ไม่ต้องหาชิพเสียงนะ รุ่นนี้เป็นการ์ดเหมือนแยก ซึ่งผมไม่เคยใช้เลย
การเก็บงานที่ด้านหลัง ASUS ยังคงทำได้ดีเสมอมา ถ้าผมจำไม่ผิด Intel Core Gen 1st ในเรื่อง Socket ยังไม่มีประเด็นอะไร ว่าต้อง Foxconn หรือ Lotes
มาถึง Back Panel I/O ที่มี Clear CMOS ในบอร์ดระดับนี้ ซึ่ง Firewire IEEE และ E-SATA มีการเชื่อมต่อมาตามยุค แต่สิ่งสุดยอดมากกับ ROG Connect ที่ใช้คอมอีกเครื่องมาควบคุมอีกที่ เช่นการโอเวอร์คล็อกที่ต้องปรับจูนตลอดเวลาผ่านสาย USB TYPE A สองฝั่ง ในภาพที่จะมีปุ่มเปิดปิดข้างพอร์ด USB แนวตั้ง
Conclusion
วันนี้เราได้เห็นภาพของของ ASUS ROG Maximus III Formula อีกหนึ่งตัวแรงของเมนบอร์ดในยุค Intel Core Gen 1st ของสายเมนสตรีม ถือว่าเป็นการตอนรับการกำลังมาของ Intel Core Gen 15th ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ Intel Core Gen 1st จนถึง Intel Core Gen 14th ที่มีการพัฒนาในด้านประสิทธิภาพ โดยในบางยุคอาจไม่ได้โดนใจสายโหดที่เน้นประสิทธิภาพมากนัก แต่ยังคงอยู่ในกรอบ Tick–tock ที่อาจมีการ Optimization แซมบ้างในบางจังหวะ วันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ