สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ในยุคของการมา AMD 3rd Gen Ryzen ที่วางแผงในตลาดก็ประมาณครึ่งปีได้แล้ว โดยล่าสุดที่ทาง AMD ได้มีการนำ Ryzen 5 3500 ในราคาสี่พันต้นๆมาทำตลาดในบ้านเรา ซึ่งประกอบกับกราฟฟิกการ์ด AMD Radeon RX 5600XT และ SSD NVMe ที่รองรับ PCIe 4.0 ราคาจับต้องได้ง่ายมากขึ้น การเลือกใช้เมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD X570 นั้นคงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า AMD B450 ถ้าต้องการความสดใหม่ และ การเชื่อมต่อ PCIe 4.0 นั้นเอง ที่วันนี้ผมก็มีโอกาสหยิบหยก ASUS TUF Gaming X570-PLUS เมนบอร์ดเกมมิ่งสายถึกทน ในราคาที่จับต้องกันง่ายกว่าตระกูล Crosshair แต่ด้วยการใช้งานที่ทาง ASUS ได้ใส่มากับ TUF Gaming X570-PLUS ที่ทำให้มันเป็นเมนบอร์ดเกมมิ่งที่เน้นกับการใช้งานตามยุคสมัย พร้อมกับความทนทาน, เสถียรภาพ และ ความน่าเชื่อถือ ตามแบบฉบับของเมนบอร์ดตระกูล TUF นั้นเอง
Package & Bundled
แพคเกจที่ดูดุดันตามสไตล์ของ TUF Gaming ด้วยสีดำตัดกับสีเหลือง ของในชุดที่จะมีคู่มือ, สาย SATA, น็อต M.2 ,ใบรับรองคุณภาพอุปกรณ์มาตรฐานของตระกูล TUF และ สติกเกอร์ตบแต่งเพื่อบ่งบอกความเป็น TUF
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตัดกับสีเทา แซมด้วยสีเหลืองอันบ่งบอกความเป็นตระกูล TUF Gaming พร้อมกับลวดลายบนเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มความสวยงาม การจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดที่โลางไปบ้างตามระดับราคาเมื่อเทียยบกับขนาดของ PCB ทางด้านอุปกรณ์ในจุดสำคัญที่ใช้บนเมนบอร์ด ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานความทนทาน, เสถียรภาพ และ ความน่าเชื่อถือ เพื่อทำให้เมนบอร์ดตัวนี้มีความทนทานได้เป็นอย่างดี
จาก PCB สีดำด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาดีตามสไตล์ของ ASUS
ซีพียูที่รองรับนั้น หลักๆถ้าพูดสั้นๆง่ายๆ Socket AM4 Ryzen ยุคที่ 3 และ 2 ส่วนทางด้าน Ryzen With Radeon Vega ในยุคที่ 2 และ 1 โดยทางด้านภาคจ่ายไฟที่มาจัดเต็มทั้งหมด 14 เฟส ภาคจ่ายไฟใช้อุปกรณ์คุณภาพตามแบบฉบับของ TUF Gaming ทางด้านการระบายความร้อนภาคจ่ายไฟที่มีฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำความร้อนของฮีทซิงค์ทั้งสองท่อน
สล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นแบบมาตรฐาน โดยเมโมรีที่รองรับนั้นเป็นชนิด DDR4 ตามมาตรฐานของ Socket AM4 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 128GB ความเร็วที่รองรับสูงสุด 4400+ Mhz ความเร็วสูงสุดที่รองรับจะแตกต่างกันตามหน่วยประมวลผลกลางที่ติดตั้งเข้าไป แต่มันยังรองรับการโอเวอร์คล็อกเพิ่มเติมไปได้อีก
สล๊อต PCI-Express x16 4.0 สองสล็อต ที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วย Safe Slot เฉพาะสล็อตแรก รองรับการติดตั้งกราฟฟิกการ์ด AMD Crossfire สุดท้ายกับ PCI Express 4.0 x1 สามสล็อต
M.2 จำนวน 2 สล๊อต ที่รองรับการติดตั้งสูงสุด 2280 และ 22110 รองรับ SSD PCI-e สูงสุด 4.0 x4 (ขึ้นกับซีพียูที่ติดตั้ง) และ SATA III 6Gb/s โดยจะมีฮีทซิงค์ระบายความร้อน SSD มา 1 สล็อต
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดแปดพอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพ X570 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0 1 และ 10 ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำรับหน้าที่ระบายความร้อนชิพ X570 ที่มากับฝาครอบลวดลายที่บ่งบอกความเป็น TUF GAMING พร้อมกับพัดลมระบายความร้อน 4 ซม. โดยจะมีจุดเชื่อมต่อ RGB 12 V มาบริเวณนี้ด้วย
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 3.0
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 3.2 Gen1, USB 2.0 และ Port Com
เมนบอร์ดระดับนี้ขาดไปไม่ได้แน่นอนกับ Q-Led ที่บริเวณนี้จะมีการเชื่อมต่อ LED RGB ทั้งสองแบบด้วย
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ด ด้วยชิพ S1220A เบอร์สั่งพิเศษจาก Reaktek พร้อมกับการใช้คาปาซิเตอร์ใช้ Nichicon Find Gold ที่ยังมีการออกแบบในจุดอื่นๆในด้าน Hardware และ Software เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีในการใช้งานและความบันเทิง
Back Panal I/O Ports
5 x audio jacks 7.1 Channel
< < < Specifications > > >
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดใช้ชิพ S1220A เบอร์สั่งพิเศษจาก Realtek ทางด้านเครือข่ายแบบด้วยการเชื่อมต่อด้วยสายแลน Gigabit ใช้ชิพ L8200A จาก Realtek
แสงสีที่สามารถปรับแต่งได้จากฟีเจอร์ AURA Sync ทั้งบอร์ดจะมีแสงสีอยู่จุดเดียวเท่านั้น
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 7 3700x
- VGA : AMD Radeon RX 5700
- Memory : G.Skill Trident-Z NEO 3600Mhz 32GB Kits
- CPU Cooler : Stock Cooler
- SSD : Intel SSD 600P 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen High Performance
การทดสอบเปิดใช้งาน D.O.C.P หรือ เท่ากับว่าแรมวิ่งตามโปรไฟล์ XMP เท่านั้นครับ
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
ASUS TUF Gaming X570-PLUS อีกหนึ่งความลงตัวของเมนบอร์ดเกมมิ่งในยุคชิพ AMD X570 ที่ไม่เน้นแสงสี ฟีเจอร์ที่มากเกินความจำเป็น ความทนทานตามแบบฉบับของตระกูล TUF Gaming ที่สำคัญราคาที่จับต้องได้ง่ายกว่าตระกูล ROG STRIX และ ROG เมื่อเทียบกับโมเดลที่ใช้ชิพเซ็ต AMD X570 เหมือนกัน ซึ่งจากการทดสอบที่ออกมาของ ASUS TUF Gaming X570-PLUS ประสิทธิภาพที่ทำออกมาได้ดี แต่ถ้าเทียบกับที่เคยทำสอบและเคยลองเมนบอร์ดในตระกูล CrossHair และ ROG STRIX นั้น ASUS TUF Gaming X570-PLUS ยังออกมาด้อยกว่าเล็กน้อย แตด้วยส่วนต่างของงบประมาณที่ทำให้เราสามารถเพิ่มเติมงบประมาณในส่วนอื่น เพื่อให้การใช้งานของคอมพิวเตอร์เรานั้นทำออกมาได้ดีขึ้นนั้นเอง ASUS TUF Gaming X570-PLUS ก็เหมาะกับคนที่เน้นเมนบอร์ดเพื่อการใช้งาน ไม่ได้เน้นความอลังงานของฟีเจอร์และแสงสี แต่เน้นที่ความคุ้มค่าอย่างลงตัวของเมนบอร์ดที่อยู่บน ASUS TUF Gaming X570-PLUS โดยมันก็สามารถประกอบคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานทั่วไป, การทำงาน และ การเล่นเกมได้เป็นอย่างดี ขึ้นกับอุปกรณ์ส่วนควบที่เราเลือกประกอบลงไป สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.