สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน คราวที่แล้ว เราก็ได้รู้กัน SSD M.2 แบบต่างๆ แน่นอนว่ามันเกี่ยวข้องกับวันนี้ เพราะวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Enclosure หรือ กล่องใส่ SSD แบบ M.2 สำหรับการพกพา หรือ ใครจะเอาไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการเลือกซื้อ Enclosure ก็ต้องดูให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานด้วย
การนำไปใช้งานที่แหวกแนว นำ SSD M.2 SATA ไปแปลงใส่ Box SATA กัน
Enclosure ที่มีขาย ก็มีลูกเล่น ความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป ในภาพเป็นของ ROG แพงหน่อย แต่ลูกเล่นสวยงาม วัสดุดูทนทานดีมากครับ
External Storage แบบสำเร็จรูป ตัวนี้เป็นของทาง WD ที่มีความพิเศษเป็น USB 20 Gbps ด้วย แต่คอมที่ใช้ก็ต้องมีพอร์ต 20 Gbps ถึงจะแรง แต่ข้างในมันคือ M.2 NVMe to USB 20 Gbps
SATA หรือ NGFF
Enclosure แบบ SATA หรือ NGFF เท่านั้น ในยุคนี้ส่วนมากจะเป็นการเชื่อมต่อ Micro B จะมีช่วงหลังที่ออกมาเป็นการเชื่อมต่อ Type-C ความเร็วในการเชื่อมต่อ 5 Gbps หลายคนชอบซื้อผิดกันเพราะราคา หรือ ตัวเลือกเวลาตอนซื้อออนไลน์ ซึ่งราคาถ้าเทียบจะถูกที่สุด
รองรับ SSD M.2 แบบ SATA หรือ NGFF โดยจะมี B key (6 ขา) ในฝั่งซ้าย และ M key (5 ขา) ขนาด 2280 2260 2242 2230 รองรับหมด แต่ตรวจสอบก่อนซื้อด้วยว่ามันใช้ขนาดไหนได้บ้างก็ดี
NVMe ไม่ค่อยมีใครเรียก PCIe
ในแบบ NVMe ที่ไม่ค่อยจะมีใครเรียก PCIe กันแล้ว หน้าตา ลูกเล่น วัสดุ ที่ตามราคากันไป เริ่มต้นที่ USB 10 Gbps (ลองดูรีวิว ROG STRIX ARION เพิ่มเติม) แพงขึ้นมาอีกเท่าตัว USB 20 Gbps ศึกษาเพิ่มเติ่มเรื่องพอร์ต USB 20 Gbps กันได้ และ ข้ามไปกับ Thunderbolt 4 ที่ราคานั้นไม่ธรรมดามาก แต่แรงสะใจแน่นอน
รองรับ SSD M.2 แบบ NVMe PCIe โดยจะมี M key (5 ขา) หรือ B key (6 ขา) ในฝั่งซ้าย และ M key (5 ขา) ขนาด 2280 2260 2242 2230 รองรับหมด แต่ตรวจสอบก่อนซื้อด้วยว่ามันใช้ขนาดไหนบ้าง
NVMe และ NGFF
มาถึงแบบสุดท้ายกันแล้ว ภาพนำมาจาก Ugreen ที่ตัวนี้รองรับแบบ NVMe และ NGFF (SATA) ข้างในจะพบกับชิพ Realtek RTL9210B เท่าที่ทราบ ซึ่งจะเป็น USB 10 Gbps โดยราคาจะสูงกว่า NVMe ที่เป็นแบบ 10 Gbps อยู่ระดับนึง
รองรับ SSD M.2 แบบ NVMe PCIe SATA โดยจะมี M key (5 ขา) หรือ M key (5 ขา) และ B key (6 ขา) จะมีขนาด 2280 2260 2242 2230 รองรับหมด แต่ตรวจสอบก่อนซื้อด้วยว่ามันใช้ขนาดไหนครับ
Conclusion
วันนี้เราพามารู้จัก SSD M.2 Enclosure แบบต่างๆ ซึ่งจะมีแบบ SATA (NGFF) ,NVMe (PCIe) และ NVMe (PCIe) หรือ SATA (NGFF) ซึ่งนอกจากทำ Storage เชื่อมต่อภายนอก พกพาสะดวก เอา SSD เก่ามาทำได้แล้ว การมี SSD M.2 Enclosure ยังเอามาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่นการ Clone SSD ของ Desktop หรือ Notebook ที่มีพอร์ตเดียว หรือ ต้องรื้อเครื่องเยอะ ก็อยากจะให้เลือก M.2 Enclosure ตรงกับการใช้งาน เหมาะกับ SSD M.2 ที่มี สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ