สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ในกลุ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมการใช้งานกับ SSD แบบ M.2 NVMe ที่มีประสิทธิภาพ และ ความจุต่อราคา คุ้มค่ากว่า SSD แบบ SATA 2.5 นิ้ว ไปแล้ว แน่นอนประสิทธิภาพของ SSD M.2 NVMe ที่มีความแรง ย่อมมีความร้อนออกมาสูงกว่าปกติ ที่บาแบรนด์ก็จะมีฮีทซิงค์ติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้ว โดยวันนี้เราก็จะมาลองให้ดูคร่าวกับ SSD M.2 NVMe ที่มีการฮีทซิงค์ของเมนบอร์ด เปรียบเทียบกับฮีทซิงค์อัพเกรดเพิ่มเติม เดี๋ยวเรามาลองดูเป็นแนวทางก็แล้วกันว่าความร้อนในการใช้งานนั้นมันจะออกมาแตกกต่างกันเช่นไรครับ
มาถึงกับ SSD ที่เป็นนายแบบในการทดสอบของโจทย์วันนี้คือ addlink S68 M.2 PCIe GEN3x4 ความจุ 1TB ที่การทดสอบแรกจะไม่มีการติดตั้งชุดระบายความร้อนใดๆ เรียกว่าเดิมๆก็คงไม่ผิดนัก
การทดสอบที่สอง เป็นฮีทซิงค์ระบายความร้อนที่มากับเมนบอร์ด ASUS TUF Gaming X570-PLUS ก็เป็นฮีทซิงค์อลูมิเนียมที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
การทดสอบที่สาม ด้วยการติดตั้งฮีทซิงค์ระบายความร้อน SSD แบบแยก ของแบรนด์ Thermalright ที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้ใหญ่มาก แต่ราคาไม่สูงเกินไปมากนัก เดี๋ยวเรามาดูการทดสอบก็แล้วกัน ผลจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 7 3700x
- VGA : AMD Radeon RX 5700
- RAM : G.Skill Trident-Z NEO 3600Mhz 32GB
- Mainboard : ASUS TUF Gaming X570-PLUS
- CPU Cooler : Stock Cooler
- SSD : addlink SSD M.2 NVMe PCIe Gen3 x4 1TB
- PSU : FSP 1200Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
ส่วนผลการทดสอบ ที่ออกมาตามที่คาดเอาไว้ว่าการติดตั้งฮีทซิงค์นั้นมีความร้อนที่ดีกว่าการไม่ติดตั้ง แต่ถ้าเทียบกับฮีทซิงค์เดิมของเมนบอร์ดกับฮีทซิงค์ที่ใส่เพิ่มเข้ามา ซึ่งในแง่ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของฮีทซิงค์ที่เราซื้อเพิ่มมานั้นมีการระบายความร้อนได้ดีกว่า โดยช่วงในระยะการลดความร้อนระหว่างสูงสุดและต่ำสุด ในตัวฮีทซิงค์แยกนั้นสามารถทำได้ดีกว่าฮีทซิงค์ที่ให้มากับเมนบอร์ดพอสมควร
Conclusion
วันนี้เราก็เป็นแนวทางจัดการความร้อนแรงของ SSD M.2 NVMe ซึ่งจริงๆมันก็ขาดไปสำหรับ SSD ที่มีฮีทซิงค์ติดตัวมาตั้งแต่โรงงานครับ โดยที่ผมทดสอบมาให้เห็นระหว่างการไม่ติดตั้งฮีทซิงค์, ใช้ฮีทซิงค์ของเมนบอร์ด และ ฮีทซิงค์แยก เราก็คงจะเห็นภาพได้ว่าการติดตั้งฮีทซิงค์มันช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าการที่ไม่ได้ติดตั้งฮีทซิงค์จริงๆ เราก็มาดูความเป็นไปได้ของเมนบอร์ดกับพื้นที่ในการติดตั้ง ว่าสามารถติดตั้งฮีทซิงค์ได้แบบไหน ที่บางเมนบอร์ดนั้นก็ออกแบบมาเพื่อความสวยงามโดยทำฝาครอบเป็นฮีทซิงค์ระบายความร้อนของ SSD M.2 NVMe ก็ต้องดูเป็นกรณีไป สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ