สวัสดีคับ วันนี้ผม นายหูเหล็กกลับมาเจอกันอีกแล้ว แต่ไม่ได้มามือเปล่านะคับ แต่เอาของดีมาฝาก ผมจะมาทำ Computer For Audio หรือคอมพิวเตอร์สำหรับฟังเพลงนั่นเอง ขอเรียกสั้นๆว่า C4A ละกันนะคับ แต่ Concept ของเจ้า C4A ตัวนี้คือ อุปกรณ์ทุกชิ้น สามารหาซื้อได้ตามท้องตลาด และราคาไม่แพงเว่อร์คับและจุดเด่นหลักอีกจุดของเจ้า C4A ตัวนี้คือ เวลาเปิดเครื่อง มันเงียบกริบ ชักน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆแล้วใช่มั้ยคับ มาลองทำตามกันดูคับ
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบไปด้วย
เมนบอร์ด Mini-ITX จาก Biostar เป็นบอร์ดที่มี CPU Celeron J3160 ติดมาบนบอร์ดด้วย
เคส Silver Stone
หม้อแปลง Toroid ขนาด 9-0-9 VAC 1.11 A จำนวน 2 ลูก (เพราะพื้นที่ค่อนข้างจำกัดต้องแบ่งออกเป็น 2 ลูก)
แผ่นปริ๊นสำเร็จรูป 1 แผ่น
Diode 1N5401 จำนวน 4 ตัว
Capacitor Elna(Pioneer) ขนาด 3000uF/16V จำนวน 14 ตัว(เพราะพื้นที่ค่อนข้างจำกัดอีกเช่นกัน)
dc 12V To ATX Power Converter สั่งมาจากเมืองจีน
SSD WD Blue 250Gb
AC Switch 220V 1 ตัว
เต้ารับ IEC 1 ตัว
เขียง 1 อัน 555+
ผมใช้เขียงที่ซื้อมาจากร้าน Mr.DIY ในการทำเป็นแผ่นเพลทหลังคับ เนื่องจากสามารถตัด-เจาะได้ง่าย พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการตัดเจาะ
ก่อนลงมือ ต้องคำนวนให้ดีก่อนนะคับ ไม่งั้นอาจจะมีปัญหาเกี๋ยวกับไฟไม่พอตามมาแน่นอนคับ
ก่อนเจาะ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า วัดให้ดี ไม่งั้นมีสิทธิ์ติด ปิดฝาไม่ได้ อื่นๆตามมาอีกเพียบ เคสจะมีรูโบ๋เพิ่มขึ้นไม่รู้นะคับ ^^
ผมใส่ Switch เอาใว้ตัดไฟ 220V ด้วย เพื่อความปลอดภัย
CPU Celeron J3160 ตัวนี้ TDP อยู่ที่ 6 Watt ผมเผื่ออุปกรณ์ต่างๆบนบอร์ด SSD Ram ให้ทั้งหมด 15 Watt ละกันคับ เหลือๆในส่วนของช่อง USB ผมเผื่อไฟใว้ให้ อีก 20 Watt ในกรณีเอาไปใช้กับ DAC ที่กินไฟจากพอร์ท USB โดยตรง ผมจึงต้องทำภาคจ่ายไฟที่จ่ายไฟได้มากกว่า 15 + 20 = 35 Watt นั่นเองคับเหตุผลในการใช้หม้อแปลง Toroid ขนาดเล็ก 2 ลูก เนื่องจากพื้นที่ในเคสจำกัดสุดๆ แต่ละลูกมีขนาด 20W เมื่อใช้ 2 ลูก ทำให้มีกำลังวัตต์ถึง 40W ซื่งมากพอต่อการใช้งานการขนานหม้อแปลง ควรเลือกหม้อแปลงที่มีขนาดเท่ากัน เพื่อให้มีการสูญเสียน้อยที่สุดนะคับ

Cercuit Diagram ของวงจรที่วางแผนใว้ตามรูปเลยนะคับ เราเลือกใช้ psu แบบ Linear เพื่อคุณภาพที่เหมาะสำหรับเครื่องเสียงจริงๆ รายละเอียดของ linear psu ลองกลับไปดูบทความที่ผ่านมาแล้วนะครับ จะไม่ขออธิบายซ้ำแล้ว (พิเศษ มหากาพย์เรื่องยาว linear Power Supply)
รายละเอียดการเดินสายไฟ ให้ภาพบรรยายเอานะคับ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน แต่ห้ามต่อสายผิดนะคับ พังนะคับ
การจัดวางอุปกรณ์ เน้นความสวยงามเป็นหลักคับ
ในส่วนของไฟ 3.3V และ 5v เราใช้วงจรแปลงจากไฟ 12V ที่สั่งซื้อมาจากเวบจีนครับ ซึ่งออกแบบมาให้เสียบลงบนบอร์ดได้ทันที

เสียบลงบนบอร์ดได้ทันที
ความจุของ C Filter มีค่ามากถึง 42000 uF ใจจิงอยากจะใส่มากกว่านี้ แต่ด้วยพื้นที่ ที่จำกัดจำเขี่ยมากๆ เวลาตั้งดูขั้วให้ถูกต้องนะคับ เพราะ C Filter มีขั้วนะคับ การวางตำแหน่งขึ้นอยู่กับเคสแต่ละตัวที่ใช้ รายละเอียดการทำดูตามรูปเอานะคับ เพราะเพื่อนๆสมาชิก อาจจะไม่ได้ใช้เคสตัวนี้ การเดินสาย-ตัด-เจาะอาจจะแตกต่างกันไปตามหน้างานคับ

การจัดวาง สวยงามลงตัว
หลังจากประกอบ และเดินสายเสร็จ ก็มาถึงขั้นตอนการทดสอบ ผมใช้ dvd external ในการลง Window แทนการใช้ Flash Drive เพื่อให้มั่นใจว่า ไฟเลี้ยงจาก USB มีกระแสเพียงพอต่อการใช้งาน

ประกอบเสร็จก็นำมาวางเข้ากับชุดเครื่องเสียง เข้ากันได้พอดีไม่ขัดตาเลย

แต่สิ่งที่ไม่เคยเจอจาก PC ตัวอื่น คือ ความเงียบคับ เพราะไม่มีพัดลมซักตัว ต้องอาศัยดูที่หน้าจอกับไฟ Power บนเคส ไม่งั้นจะไม่รู้เลยว่าเครื่องเปิดอยู่ตอนลง Window ก็ไม่มีปัญหาใดๆนะคับ สามารถลง Window ได้ผ่านฉลุย
ในบทความต่อไป ผมจะทำการเปลี่ยนสายที่ใช้ wiring ภายในเครื่องทั้งหมด เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่า ว่าสายธรรมดา กับสายราคาแพงมันจะมีความต่างกันมากน้อยขนาดใหนหลายท่านอาจจะไม่เชื่อเรื่องพวกนี้ เพราะเครื่องมือวัดไม่ได้ แต่หูสามารถแยกแยะได้จิงๆคับ จึงมีคนนิยามความหมายของคำว่าเครื่องเสียงคือ "ศาสตร์ และ ศิลป์" คับ ^^ รอตอนหน้า แล้วเรามาทดลองฟังกันครับ