สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน อย่างที่ทราบกัน วันนี้เป็นวันที่สามารถลงผลการทดสอบของ Intel Core Ultra (Series 2) แบบ Desktop เป็นสถาปัตยกรรม Arrow Lake-S สามารถซื้อหากันทางออนไลน์(ถ้าใจร้อน) หรือ หน้าร้านในวันถัดไป ที่ Arrow Lake จะมีการเปลี่ยนแปลงจาก Intel มาอย่างยาวนาน ที่ปกติซีพียูของอินเทล จะถูกผลิตจาก intel founder แต่ใน Arrow Lake ใช้บริการของ TSMC โดยใช้ขบวนการผลิต TSMC N3B (3nm) ซึ่ง Node การผลิตของแต่ละชิปบนนั้นก็จะไม่เหมือนกัน มาต่อกันในลักษณะโมดูล่า เป็นลักษณะที่ใช้ในชิพกลุ่มโมบาย สิ่งที่ Intel ได้มีการตัดเทคโนโลยี Hyper-Threading ส่วนนึงคงมากจากความร้อน ถ้าเทียบการเปลี่ยนแปลงที่ Intel มีมาอย่างยาวนานประมาณ 20 ปีที่แล้ว ที่ Intel ได้มีการผลักดันเทคโนโลยี Hyper-Threading เอาเป็นว่า Arrow Lake พอไม่มี Hyper-Threading ให้ความรู้สึกติดอยู่ใจผู้ใช้งาน และ การออฟติไมซ์โปรแกรมการใช้งานในช่วงแรก เหมือนตอนมาของ Hyper-Threading ใหม่ๆ ที่บางโปรแกรมอาจยังไม่เห็นผลความต่างได้ชัดเจน ที่คราวนี้เราจะมาลอง Intel Core 5 245K มากับแพ็คเกจ LGA1851 สามารถยึดกับชุดระบายความร้อน LGA1700 ได้ Intel Core Ultra (Series 2) เป็นซีพียูแบบ Hybrid Core มีหมด 14 คอร์ 14 เธรด Performance core (P-core) 6 คอร์ 6 เธรด และ Efficiency core (E-Core) 8 คอร์ 8 เธรด ที่มีค่า TDP มาตรฐาน 125 Watt สูงสุด 159 Watt รองรับการโอเวอร์คล็อก เอาแค่ค่า TDP สูงสุด ก็ต่ำกว่า Core i5-14600K ดูจากสเปกที่เห็นได้ว่าการปล่อยความร้อนของ Intel Core 5 245K ต่ำกว่าแน่นอน
Core 5 245K | Core 7 265K | Core 9 285K | |
Code Name | Arrow Lake | Arrow Lake | Arrow Lake |
Lithography | TSMC N3B (3nm) | TSMC N3B (3nm) | TSMC N3B (3nm) |
Sockets | LGA1851 | LGA1851 | LGA1851 |
Total Cores | 14 | 20 | 24 |
P-Cores / E-Core | 6 / 8 | 8 / 12 | 8 / 16 |
Total Threads | 14 | 20 | 24 |
Max Turbo Freq | 5.2 GHz | 5.5 GHz | 5.7 GHz |
Thermal Velocity Boost | - | - | 5.7 GHz |
Turbo Boost Max 3.0 Freq | - | 5.5 GHz | 5.6 GHz |
P-Core Max Freq | 5.2 GHz | 5.4 GHz | 5.5 GHz |
E-Core Max Freq | 4.6 GHz | 4.6 GHz | 4.6 GHz |
Base P-Core Freq | 4.2 GHz | 3.9 GHz | 3.7 GHz |
Base E-Core Freq | 3.6 GHz | 3.3 GHz | 3.2 GHz |
Cache / L2 | 24 MB / 26 MB | 30 MB / 36 MB | 36 MB / 40 MB |
Base Power | 125 Watt | 125 Watt | 125 Watt |
Max Power | 159 Watt | 250 Watt | 250 Watt |
Processor Graphics | Intel Xe-LPG | Intel Xe-LPG | Intel Xe-LPG |
Max / Base GPU Freq | 1.9 GHz / 300 MHz | 2 GHz / 300 MHz | 2 GHz / 300 MHz |
NPU | Intel AI Boost | Intel AI Boost | Intel AI Boost |
NPU TOPS | 13 | 13 | 13 |
Memory Types | DDR5 6400 MT/s | DDR5 6400 MT/s | DDR5 6400 MT/s |
รหัส KF ไม่มีกราฟฟิก ผมขอไม่เอารวมในตรางเทียบ ที่ Intel Core Ultra (Series 2) รองรับหน่วยความจำ DDR5 ความเร็ว JEDEC ที่ DDR5 6400 MT/s โดย CPU ทำงานมีค่า Thermal Design Power (TDP) 125 W (PL1) และ สูงสุด 250 W (PL2) ยกเว้น Core 5 Ultra จะมีค่า PL2 ที่ 159 W นอกจากนี้ Core Ultra 200 ยังใช้ซ็อกเก็ต LGA 1851 ใหม่และเข้ากันได้กับเมนบอร์ดซีรีส์ 800 ของ Intel การออกแบบซ็อกเก็ตใหม่นี้เพื่อรองรับ CPU Intel รุ่นอนาคต
ด้วย Arrow Lake ที่ Intel จึงได้พัฒนาคอร์ใหม่ 2 คอร์ โดยคอร์หนึ่งสำหรับประสิทธิภาพ Lion Cove และ คอร์หนึ่งสำหรับประหยัดพลังงาน Skymont สถาปัตยกรรมเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการการประมวลผลที่หลากหลายโดยนำเสนอประสิทธิภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น Lion Cove ทำหน้าสำหรับคอร์ประสิทธิภาพสูงของ Intel โดยเน้นที่การมอบประสิทธิภาพการทำงานแบบเธรดเดียวที่รวดเร็ว
ทำได้ด้วยการปรับปรุงคำสั่งต่อรอบ (IPC) และรวมตัวควบคุมการปรับจูนอัตโนมัติ ด้วย AI ควบคุมนี้จะปรับแบบไดนามิกตามสภาพการทำงานแบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการความร้อน คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ Lion Cove เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องใช้ทรัพยากรหนัก เช่น การเล่นเกม การสร้างเนื้อหา และงานคำนวณที่ซับซ้อน
การออกแบบ E-core นาม Skymont ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพสูงต่อวัตต์ โดยมุ่งสภาพแวดล้อมการประมวลผลที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปรับปรุงความสามารถในการจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพ Intel ได้มีการเพิ่มแคช P-Core แต่ละคอร์มีแคชระดับ 2 ขนาด 3MB ต่อคอร์ จากเดิม 2MB ใน Gen 13-14
กราฟฟิกภายใน สถาปัตยกรรม Xe-LPG ของ Intel มีแกนกราฟิก Xe สี่แกน ซึ่งแต่ละแกนมีเอ็นจิ้นเวกเตอร์ 128 ตัว รวมเป็นเชเดอร์รวม 1,024 ตัว ช่วยให้สามารถจัดการกับงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับ Ray tracing 4 แกน และ พลัง 8 TOPS
การออกแบบโครงสร้างภายใน มาเป็นแบบ Tiles ก็คือมีการแบ่งส่วนของ CPU เป็นหลายๆตัว และ Node การผลิตของแต่ละชิปบนนั้นก็จะไม่เหมือนกัน มาต่อกันในลักษณะโมดูล่า
การทำตลาดของ Intel Core Ultra จะมี 9 ,7 และ 5 เป็นโมเดล K ที่สามารถทำการโอเวอร์คล็อกได้ทุกรุ่น และ KF ที่ตัดกราฟฟิกในตัว แต่มีแค่ Core Ultra จะมี 7 และ 5
Arrow Lake ในภาพรวมที่มีการออกแบบให้ความร้อนในการทำงานต่ำลงถ้าเทียบกับ Raptor Lake-R (14th Gen Intel Core)
นอกจากนี้ Xe-LPG แกนประมวลผลแปดตัวและมีเดียเอ็นจินสี่ตัว คุณสมบัติที่โดดเด่นของ Xe-LPG คือการรองรับหน่วย XMX สำหรับ AI ที่ให้ประสิทธิภาพปัญญาประดิษฐ์ 67 (TOPS) ทำให้เหมาะสำหรับงาน AI เช่น การจดจำภาพและการเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่ง Xe-LPG รองรับ DirectX 12 Ultimate เข้ากันได้กับคุณสมบัติกราฟิกขั้นสูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นมุมที่สำคัญของ Xe-LPG เนื่องจากมอบประสิทธิภาพต่อวัตต์สองเท่าเมื่อเทียบกราฟิกรุ่นก่อนหน้า การปรับปรุงให้กราฟิกมีประสิทธิภาพสูง(กว่า) รองรับการแสดงผลความละเอียดสูงได้เป็นอย่างดี รองรับการเข้ารหัส AV1 8K 120Hz แบบ 10 Bit และ สามารถถอดรหัส 8K 60Hz แบบ 10 Bit มีความลำหน้ามากสำหรับกราฟฟิกในซีพียู
การทำงานด้านสำนักงาน ที่ก่อนหน้านี้ Intel Thread Director มักจัดในงานพวกนี้เป็นหน้าที่ของ E-Core แต่เมื่องานด้านสำนักงาน ที่ต้องการประสิทธิภาพการประมวลผลที่ดีมากขึ้น จึงมีการย้ายการประมวลผลไปสู่ P-Core
Intel Thread Director ที่มีการพัฒนาความนึกคิด ให้เลือกประมวลผลระหว่าง P-Core กับ E-Core ได้ดีมากขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ แล้ว Intel ยังได้มีการพัฒนา E-Core ให้ดีมากขึ้น
ชิพเช็ตคู่บุญของ Arrow Lake นั้นก็คือ Intel ซึ่งรองรับทั้ง PCI Express 5.0 และ Thunderbolt 4 สามารถใช้หน่วยความจำ DDR5-6400 ชิปเซ็ตจะรองรับสูงสุด 48GB ต่อแถว รวม 192GB พร้อมรองรับ ECC ภายในชิปเซ็ต Intel 800 มีเลน PCIe 48 เลน (โดยมีเลน PCIe 4 24 เลนจากโปรเซสเซอร์) Wi-Fi 6E และ Bluetooth 5.3 นอกจากนี้ยังมีเลน USB 3.2 32 เลน รวมถึงเลนเฉพาะ 5 เลนสำหรับการเชื่อมต่อ 20Gbps
นักโอเวอร์คล็อกมีตัวเลือกมากมายภายใน Core Ultra นักโอเวอร์คล็อกไม่สนใจการประหยัดพลังงานอยู่แล้ว เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในถึงขีดสุด วิธีที่ง่ายที่สุดคือใช้ Extreme Tuning Utility (XTU) ของ Intel ซึ่งจะใช้ AI เพื่อเปิดใช้งานการโอเวอร์คล็อกระบบของผู้ใช้ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว แต่ยังมีการปรับแต่งอื่นๆ สำหรับการโอเวอร์คล็อกอีกด้วย ต่อด้วยการแบ่งแยกการโอเวอร์คล็อกในส่วนของ P-Core และ E-Core, Tile 2 tile รวมถึง Fabric Overclock ที่เพิ่มความหลากหลายในการปรับแต่งมากขึ้น ยังไม่นับรวมการรองรับเมโมรี CUDIMM และ CUDIMM ที่ข้ามขีดจำกัดได้มากกว่า Gen 14
โครงสร้างภายในของ Arrow Lake ที่เป็นภาพของ X:Madness727 และ การใส่รายละเอียดโดย HighYield พอผ่ากระดองออกมาก็จะเห็นดีไซน์การออกแบบที่แตกต่างไปจากรุ่นเดิม การออกแบบจะมาเป็นแบบ Tiles หลายๆตัวที่เชื่อมต่อกันอยู่ และถ้าดูดีๆจะเห็นว่ามีอยู่ 4 Tile ซึ่งประกอบไปด้วย Compute, GPU, SOC, และ I/O ส่วนอันที่ 5 กับ 6 นั้นจะเป็น Filler Tile ที่วางเอาไว้ เพื่อให้โครงสร้างเต็ม"
โดยภาพนี้มาจาก Asus.cn ภาพเปรียบเทียบ ที่ใช้กล้องในการถ่ายออกมา เราเห็นได้ว่าการวางกลุ่มของ P-Core และ E-Core เป็นรูปแบบ P-core ,E-Core ,P-Core ,P-Core , E-Core และ P-Core ต่างกับ Gen 13 หรือ Gen 14 ที่ P-Core หรือ E-Core จะเป็นเป็นก้อนเดียวกัน และ ฐานหน้าสัมผัสของชุดระบายความร้อนถ้าให้การระบายความร้อนที่ดีที่สุด จะต้องมีการวางมุมใหม่ เพราะส่วน Comput Tile มันไปอยู่มุมขวาบนตามภาพครับ แต่การกระจายคอร์ของ P และ E Core ทำให้ความร้อนไม่กระจุกตัวกัน
สิ่งที่ Intel ได้มีการตัดเทคโนโลยี Hyper-Threading ส่วนนึงคงมากจากความร้อน ถ้าเทียบการเปลี่ยนแปลงที่ Intel มีมาอย่างยาวนานประมาณ 20 ปีที่แล้ว ที่ Intel ได้มีการผลักดันเทคโนโลยี Hyper-Threading เอาเป็นว่า Arrow Lake ที่ไม่มี Hyper-Threading ให้ความรู้สึกติดอยู่ใจผู้ใช้งาน และ การออฟติไมซ์โปรแกรมการใช้งานในช่วงแรก เหมือนตอนมาของ Hyper-Threading ใหม่ๆ ที่บางโปรแกรมอาจยังไม่เห็นผลความต่างได้ชัดเจน
Intel Core Ultra (Series 2) - Arrow Lake
Intel Core Ultra (Series 2) ที่ทางอินเทลได้ส่งมาให้เราได้ทดสอบ ซึ่งจะมีใน Overclockzone.com และ Overclockzone TV ทาง YouTube
Intel Core 5 245k และ Intel Core 9 285k
Intel Core 5 245K
โดยรูปแบบของตัวซีพียูที่เป็นแผ่น PCB สีเขียว พร้อมกระดองโลหะ ด้านหน้ามีการยิงเลเซอร์อย่างชัด นี่คือ Intel Core 5 245k
รูปแบบแพ็คเกจ LGA1851 ขนาดที่ดูไม่ต่างกับ LGA1700 แต่จะมีความอัดแน่นของ Pin มากขึ้น กลายเป็น LGA1851
การทดสอบ ที่เราทำแยกกัน เนื่องจากปัจจัยการทดสอบที่ Core 5 และ Core 9 มีความรู้สึกที่แตกต่างกันในการเขียนออกมา
รูปแบบแพ็คเกจ LGA1851 ที่การติดตั้งไม่ต่างกับ LGA1700
ตัวคูณโหมดเทอร์โบสูงสุดที่ 52 รายละเอียดต่างๆของซีพียู ที่จะมีแคชระดับหนึ่ง 64 KB/48 KB ต่อคอร์ แคชระดับสอง 3 MB ต่อคอร์ รวมแคชระดับสามทั้งหมด 24 MB
การแยกกันการทำงานของ P-Core และ E-Core อย่างชัดเจน ที่มี Intel Thread Director รับหน้าที่ในส่วนนี้
ถ้าเทียบกับ Gen 13-14 Cache L2 ของ Arrow Lake ในส่วนของ P-Core มีมากกว่า Gen 13-14 ถึง 1MB
รายละเอียดต่างๆใน Intel Xe-LPG โดย GPU-z เวอร์ชั่นนี้ยังไม่สมบูรณ์สำหรับการ์ดนี้
System Setup
- VGA : Gigabyte Radeon RX 7800 XT
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
System Setup - Intel Xe
- VGA : Intel Xe-LPG
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 23H2
ข้อควรระวัง
การติดตั้ง Driver ในส่วน NPU ถือว่ามีความสำคัญมาก อันที่จริงควรติดตั้ง Driver ให้ครบ
Conclusion !
ถ้าพูดถึง Intel Core 5 245K มองในแง่การใช้พลังงานถือว่าทำออกมาได้ดีขึ้นมาก และ ความร้อนที่ปล่อยออกมา เทียบกับ Core i5-14600K ในชุดระบายความร้อนเดียวกับ ถือว่า Core 5 245K ทำออกมาได้ดีเยี่ยม เล่นฮีทซิงค์ประสิทธิภาพสูง หรือ Dual Tower ที่เล่นได้สบายครับ แต่ถ้าอยากจะโอเวอร์คล็อกแนะนำเป็นชุดน้ำ 3 ตอน จบสุด ในการโอเวอร์คล็อก Intel Core 5 245K นอกจากการโอเวอร์คล็อก CPU และ Memory ที่ยังน่าสนใจกับการโอเวอร์คล็อก NPU ที่ผมยังไม่ได้ลองอะไรมากในจุดนี้ ในการโอเวอร์คล็อกที่เมนบอร์ดทุกเจ้า ได้นำ AI มาช่วยคิดวิเคราะห์เข้ามากขึ้น แต่ถ้าระบายความร้อนไม่ดี และ แรมไม่ถึงดวงดาว AI ในฟีเจอร์การโอเวอร์คล็อกที่ไมมีประโยชน์มาก มาถึงทางด้านประสิทธิภาพกันบ้าง ถ้าว่ากันตามตรง Core 5 245K ในการเล่นเกมถ้าเทียบกับ Core i5-14600K ไม่ให้ความรู้สึกต่าง แล้วการที่ไม่มี Hyper-Threading ไม่ได้ทำให้มันด้อยประภาพลงมา ที่สำคัญ Core 5 245K มันใช้พลังงานที่ไม่ได้สูงและร้อนเท่า Core i5-14600K ในการใช้งานจริงควรต้อง Windows อัพเดท เป็นเวอร์ชั่น 24H2 แต่ในการทดสอบเป็น 23H2 เนื่องจากมีบางโปรแกรมการทดสอบไม่สามารถติดตั้งได้ คงต้องรอการออกอัพเดทจาก Microsoft ด้วยการไม่มี Hyper-Threading ที่ส่งผลในบางโปรแกรมนั้นสามารถทำประสิทธิภาพที่ออกมาต่ำกว่า Core i5-14600K แต่โดยภาพรวมที่ยังคงออกมาดูดี คงต้องรองการออกอัพเดทและการออฟติไมซ์ให้เหมาะสมกับซีพียูมากกว่านี้ ด้วยค่าตัวประมาณ 12,xxx บาท รวมกับเมนนอร์ดราคาเริ่มต้นประมาณ 7,xxx บาท ถ้าลงทุนทีเดียวอาจดูมากไปหน่อย แต่ถ้ามีแรม DDR5 อยู่แล้วถือว่าน่าสน รอดูตลาด Memory ก่อนได้ ว่า CUDIMM ราคาค่าตัวและการค้นหาตัวแรงจะเป็นไปทางไหน ถ้าไม่คิดอะไรมากรอดู UDIMM ราคาคุ้มค่าได้เช่นกัน ถือว่า Intel Core 5 245K ในตลาดระดับกลางยุค 2024 มันเป็นทางเลือกใหม่ ที่มีความสดของเทคโนโลยี เปลี่ยนไปใช้บริการ TSMC ที่ยังมี Intel Core 5 245KF ในราคาที่สบายกระเป๋าลงมาบ้าง ส่วนโมเดลอื่นของ Intel Core Ultra (Series 2) ที่ราคาถูกกว่านี้ หยอดกระปุกรอไปก่อน สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : INTEL (THAILAND)