สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน เรามาลองเล่นพัดลมจากค่าย noctua หรือ ภาษาเด็กแนวมักเรียกว่านกฮูก noctua โมเดล NF-A14x25 G2 PWM Sx2-PP เป็นชุด พัดลม noctua NF-A14x25 G2 PWM แบบโครงสี่เหลี่ยมขนาด 140 มม. จำนวน 2 ตัว ซึ่งความเร็วจะแตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำงานแบบผลัก-ดึง รวมถึงในสถานการณ์ที่พัดลมสองตัวทำงานเคียงข้างกัน เช่นในกรณีการใช้งานระบบทำความเย็นหรือหม้อน้ำระบายความร้อนด้วยน้ำขนาด 280 มม. เมื่อพัดลมสองตัวทำงานด้วยความเร็วเกือบเท่ากัน ความเร็วคงที่ในการกำหนดค่าแบบผลัก-ดึง หรือแม้ว่าจะทำงานเคียงข้างกันในระดับที่น้อยกว่า ปฏิสัมพันธ์ทางเสียงของพัดลมทั้งสองตัวอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ฮาร์มอนิกที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการสั่นสะเทือนเป็นระยะหรือเสียงฮัมเป็นระยะเนื่องจากสัญญาณรบกวน ซึ่งสามารถได้ยินเป็นความถี่จังหวะดังนั้น พัดลม NF-A14x25 G2 PWM สองตัวที่อยู่ในชุด Sx2-PP จึงมีความความเร็วที่ต่างกันเล็กน้อย (+/- ~25rpm) เพื่อหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ดังกล่าว การปรับแต่งอย่างละเอียด เป็นไปได้ด้วยมอเตอร์ etaPERF แบบใหม่ของพัดลม และไดรเวอร์ IC NE-FD6 ที่สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างแม่นยำอย่างยิ่ง และด้วย คุณสมบัติ SupraTorque จึงสามารถใช้เฮดรูมแรงบิดพิเศษเพื่อรักษาความเร็วที่ต้องการได้แม้จะต้องทำงานภายใต้แรงต้านทานการไหลที่รุนแรง เช่น บนหม้อน้ำระบายความร้อนด้วยน้ำและแผ่นระบายความร้อนก็ตาม ด้วยพัดลมตัวหนึ่งทำงานช้าลงประมาณ 25 รอบต่อนาที (PPA) และอีกตัวหนึ่งทำงานเร็วขึ้นประมาณ 25 รอบต่อนาที (PPB) ประสิทธิภาพการระบายความร้อนโดยรวมจึงคงเดิมได้ในขณะที่ป้องกันการสั่นสะเทือนเป็นระยะหรือเสียงฮัมเป็นระยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมด้วย PWM ได้ตั้งแต่ความเร็วสูงสุด 1,500 รอบต่อนาทีไปจนถึง 300 รอบต่อนาที ทำให้สามารถปรับพัดลมให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือทำงานเงียบสนิทได้โดยใช้การควบคุมความเร็วของเมนบอร์ดแบบอัตโนมัติตามอุณหภูมิหรือตัวควบคุมแบบแมนนวล เมื่อเมนบอร์ดหรือตัวควบคุมพัดลม PWM ตั้งค่าพัดลมเป็นรอบการทำงาน 0% พัดลมจะหยุดทำงาน ซึ่งทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างระบบระบายความร้อนแบบกึ่งพาสซีฟที่ปิดพัดลมโดยอัตโนมัติและทำงานเงียบสนิทเมื่อไม่ได้ใช้งานหากอุณหภูมิแวดล้อมที่กำหนด เอาเป็นว่าการออกแบบที่ไม่ธรรมดา ที่ราคาไม่ธรรมดา ส่วนประสิทธิภาพจะออกมาเช่นไรไปชมกันครับ
ตัวอย่างเครื่อง PC DIY ที่สาวกแฟนคลับ Noctua นั้นอยากทำแน่นอน
Package
แพคเกจที่มาแบบดูแพง ให้อารมณ์ความพรีเมี่ยมได้เป็นอย่างดี ใช้โทนสีน้ำตาล
เปิดกล่องมาเราจะเห็น จุดเด่นที่หาไม่ได้จากพัดลมทั่วไป
ของในชุดที่จะมีมาให้ใช้งาน
2x NA-RC16 Low-Noise Adaptor (L.N.A.)
1x NA-YC1 4-pin PWM splitter cable
2x NA-EC1 30cm extension cable
8x NA-AV2 anti-vibration mounts
2x NA-AVG2-LR anti-vibration gasket for water cooling radiators
8x NA-AVP1-LR load-relief anti-vibration pads
Fan screws
Fan Detail
พัดลมแบบโครงสีเนื้อตามสไตล์ noctua สี่เหลี่ยมขนาด 140 มม. ที่มาพร้อมยางลดเสียงจากการทำงานเป็นสีน้ำตาล มีการใช้ตลับลูกปืน SSO2 ที่แม่เหล็กด้านหลังจะถูกวางไว้ใกล้กับแกนมากขึ้นเพื่อให้มีเสถียรภาพ ความแม่นยำ และความทนทานที่ดียิ่งขึ้น พร้อมเปลือกลูกปืนโลหะ เพื่อรับประกันความแม่นยำในการผลิตในระดับสูงสุด ความคลาดเคลื่อนขั้นต่ำ และความเสถียรที่ยอดเยี่ยมในระยะยาว NF-A14x25 G2 จึงมีเปลือกลูกปืนที่ผ่านการกลึงด้วย CNC ซึ่งทำจากทองเหลืองทั้งหมด สำหรับสายแมวน้ำมีเทคโนโลยี SupraTorque ของ Noctua เปิดใช้งานด้วย IC ไดรเวอร์ NA-FD6 ใหม่ ช่วยให้พัดลมสามารถใช้พื้นที่แรงบิดเพิ่มเติมได้เมื่อจำเป็น เพื่อรักษาความเร็วรอบต่อนาทีให้อยู่ในระดับที่ต้องการ และ มอเตอร์ etaPERF พร้อม IC NE-FD6 PWM ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้แปลงอินพุตไฟฟ้าขั้นต่ำเป็นเอาต์พุตพลังงานสูงสุดโดยแทบไม่สูญเสีย แต่ยังทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยี Smooth Commutation Drive 2 ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วของ Noctua เพื่อทำให้มอเตอร์ etaPERF ทำงานแทบไม่ได้ยินเสียง โดยมี Airflow 155.6 m³/h ,Acoustical noise 24.8 dB(A) ,Static pressure 2.56 mm H₂O และ ใช้พลังงาน 2.28 W
สายที่ได้รับการหุ้มท่อกับความร้อนมา ความยาวที่ประมาณ 20 เซ็นติเมตร เมื่อรวมกับสายต่อ 30 เซ็นติเมตร รวมกันประมาณ 50 เซ็นติเมตร
การเชื่อมต่อแบบ 4 Pin PWM มาตรฐานคอมพิวเตอร์ยุคนี้
โลโก้ noctua หรือ นกฮูก ที่รู้จักกันดี
ทิศทางแอร์โฟล์ระบุชัดเจน
พอหันมาด้านหลังที่เราจะเห็นความพิเศษที่แตกต่างจากพัดลมทั่วไปได้พอสมควร
เป็นพัดลมคอมที่มีสีสันที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร แต่ Noctua ต้องมีความไม่ธรรมดาซ่อนเอา มองผ่านมันไม่มีอะไรมาก
การออกแบบใบพัด A-Series with Flow Acceleration Channels ที่เป็นลักษณะ Winglets หรือ ปีกนกเล็กแบบเครื่องบินพาณิชย์สมัยใหม่ ไอ้ปีกนกเล็กช่วยลดการหมุนเวียนของใบพัดที่เกิดจากความแตกต่างของแรงดันระหว่างด้านดูดและด้านแรงดันของใบพัด พร้อมด้วยโครงสร้างผิวขนาดเล็กที่ด้านในโดยที่ปลายใบพัดของพัดลม มีระยะห่างระหว่างปลายใบพัดกับด้านในของเฟรมเพียง 0.7 มม. เท่านั้น ช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อต้องเจอกับแรงดันย้อนกลับ เช่น หม้อน้ำ โดยลดการไหลของลมรั่วผ่านช่องว่างระหว่างใบพัดและเฟรม การแยกของการไหลจากด้านดูดของใบพัด ส่งผลให้เสียงใบพัดผ่านลดลง และการไหลของอากาศและประสิทธิภาพของแรงดันได้ยังคงออกมาดี
โครงสร้างเฟรม AAO (Advanced Acoustic Optimisation) พร้อมยางป้องกันเสีนงจากการใช้งาน พร้อมกับการใช้สารประกอบโพลิเมอร์ผลึกเหลว Sterrox รุ่นใหม่ (LCP) ของ Noctua ซึ่งมีความแข็งแรงสูง มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต่ำเป็นพิเศษ ที่มีคุณสมบัติกเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการการเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนในการใช้งาน
ยางกันสะเทือนพร้อมตัวรับแรงสั่นสะเทือน ทำจากซิลิโคนนุ่มพิเศษช่วยลดการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือน ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ โดย Noctua ได้มาขายแยกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ในการใช้งาน ที่ควรต้องใส่ใจกับการติดตั้งนะครับ เนื่องจากที่มันมีแรงกระทำ หรือ แรงถีบ ประมาณ 7.5 กิโลกรัมต่อจุด 4 จุด แค่ 30 โลเอง ในการวิ่งรอบการทำงานสูงสุด
![]() |
![]() |
ด้วยพัดลม ประมาณ 1475 รอบต่อนาที (PPA) และอีกตัวหนึ่ง 1525 รอบต่อนาที (PPB)
การออกแบบให้พัดลม PPA และ PPB มีรอบต่างกันเล็กน้อย ที่ทาง Noctua หวังผลทางด้านเสียงรบกวนที่เงียบลง โดยความร้อนที่ต่างกันเล็กน้อยครับ
System Setup
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- CPU : AMD Ryzen 7 9700X
- Memory : Kingston FURY Renegade DDR5 RGB 6800MHz 32GB
- VGA : AMD Radeon Graphics
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
![]() |
![]() |
ซ้าย-ดัน-Push | ขวา-ดึง-Pull |
Performance Test
การใช้งานร่วมกับชุดน้ำ การติดตั้งพัดลมที่คนส่วนใหญ่มักติดแแบบการดัน หรือ Push อุณหภูมิที่ไม่ได้ห่างจากพัดลมเดิมอะไร ที่เจ้านี้เทคโนโลยีที่มากันอย่างครบเครื่อง Noctua ใส่ Low Noise adaptor ไม่ได้ทำให้ความร้อนเพิ่มมากนัก แต่เสียงเงียบลง ถ้าคนชอบความเงียบคงถูกใจ
การใช้งานร่วมกับชุดน้ำ การติดตั้งพัดลมที่คนส่วนน้อยมักติดแแบบการดูดออก หรือ Pull เรื่องของอุณหภูมิไม่มีความต่างอย่างเห็นได้ชัด อารมณ์ Ferrari 360 ไปขับแข่งกับ BMW M5 E60 แต่เอา Noctua ใส่ Low Noise adaptor เริ่มมีความต่างบ้าง แต่เสียงเงียบลง ที่การดูดออก
เรื่องของเสียงรบกวน ถ้าเอาไปเทียบกับพัดลมเดิมของชุด AIO Cooling ที่ Noctua NF-A14x25 G2 PWM Sx2-PP ทำความต่างได้อย่างน่าประทับใจ ยิ่งมีการใช้ Low Noise adaptor เข้ามาเสริม เงียบมากขึ้น
Conclusion
Noctua NF-A14x25 G2 PWM Sx2-PP ถ้ามองในแง่ของพัดลมคอมขนาด 14 เซ็นติเมตร มันคงรู้สึกว่าค่าตัวของมันที่ราคาสูงมาก แต่ถ้ามองที่ความเงียบที่ทำออกมาได้ ถือว่ามันเงียบได้สะใจมาก แต่เรามามองที่แรงลมที่ออกมาจาก Noctua NF-A14x25 G2 PWM Sx2-PP ออกมาได้อย่างน่าประทับใจมาก ถ้าจับจุดให้ดี ลมที่ออกมาจากพัดลมเป็นทรงกระบอก พร้อมแรงถีบที่เยอะมาก ยิ่งเอาไปเทียบกับเสียงรบกวนที่ต่างกันของคู่เปรียบเทียบในการทดสอบ ที่ถือว่า Noctua NF-A14x25 G2 PWM Sx2-PP มันทำความต่างออกมาได้อย่างดีเยี่ยม แต่ในด้านความเย็นที่ไม่ต่างกันนัก เนื่องจากคู่เปรียบเทียบในวันนี้เป็นพัดลมที่ถือว่ามีลูกเล่นและเทคโนโลยีพอตัว เลยเห็นแต่เสียงเงียบในการทดสอบครับ ยิ่งเป็นพัดลมคอม 14 ซม. ในการใช้งานที่ต้องเป็นความตั้งใจ ยากแบบพัดลม 12 ซม. ที่เราจะซื้อเก็บไว้เผื่อใช้งานในวันข้างหน้า ในยุคของไฟ RGB ที่การตบแต่งเคสมันเป็นกระแส แต่ Noctua ยังคงยึดหลัก มาด้วยธีมสีของ Noctua เน้นการใช้วัสดุ โครงสร้าง แล้วส่วนประกอบเพื่อความเงียบแต่ได้แรงลมที่ดี สำหรับวันนี้ผมขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
ราคา 2,xxx บาท
Special Thanks : noctua.at