สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ในกลุ่มของ PC Desktop หรือ DIY ในส่วนของ Expenion Slot ที่เป็นอีกหนึ่งจุดที่มีความสำคัญมาอย่างนาน สำหรับการอัพเกรดอุปกรณ์เดิมในเครื่อง หรือ การ์ดเพิ่มความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่า Expenion Slot นั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก เอาที่ผมเคยคุ้นเคยมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ ก็คือ ISA (Industry Standard Architecture) โตมาหน่อยก็จะเป็น PCI (Peripheral Component Interconnect) ,AGP (Accelerated Graphics Port) นี่ยังไม่นับ PCI-X และ AGP Pro โดยในยุค 2019-2020 ในการออกแบบเมนบอร์ดที่เราจะเห็นกันได้ว่า PCI จะเริ่มห่างหายไปในการออกแบบไปแล้ว ที่วันนี้ผมจะมาพูดถึง PCIe หรือ PCI Express เป็นหลัก ว่ามันจะมีรูปแบบความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
สล็อตการเชื่อมต่อการ์ด ที่เราจะเห็นว่าเพียงแค่ PCIe X16 เหมือนๆกัน แต่มันยังมีความแตกต่างกันเลย เดี๋ยวเราจะมาพูดถึงวิธีการดูความแตกต่าง
PCI Express x16 อันบนสุดในภาพที่เราเห็นนั้น ก็จะเป็น PCIe x16 เต็ม สังเกตุดูจากขาสัมผัสข้างใน ที่มีมาเต็มสล็อต
PCI Express x16 อันที่สองของภาพ ที่ดูจากขาหน้าสัมผัสที่มีเพียงครึ่งเดียว เท่ากับว่ามันวิ่งได้สูงสุดที่ x8 เท่านั้น
PCI Expresss x4 ในภาพก็ไม่มีอะไรมาก ดูจากขนาดและจำนวนขาสัมผัสที่น้อยลง ประมาณในการรับส่งข้อมูลที่ทำได้ต่ำว่า x16 และ x8 ในภาพเป็นสล็อตท้ายเปิด
PCI Expresss x1 ในภาพเราจะเห็นว่าตัวเล็กที่สุด ดูจากขนาดและจำนวนขาสัมผัสที่น้อยที่สุดในกลุ่ม PCI Express ประมาณในการรับส่งข้อมูลที่ทำได้ต่ำที่สุด ในภาพเป็นสล็อตท้ายเปิด
PCI Express x16 ล่างสุดของภาพนี้ ที่ดูจากขาหน้าสัมผัสที่เพิ่มมากกว่า PCIe x1 เล็กน้อย คือมันวิ่งได้สูงสุดที่ x4 ที่ใช้สล็อต x16 เท่านั้น
มาถึงในส่วนของการ์ดอุปกรณ์ ที่เป็นการเชื่อมต่อ PCI Express x16 ซึ่งในภาพก็คือการ์ดจอ ที่เราจะเห็นได้มากที่สุด แต่ในกลุ่ม M.2 SSD Raid Card ที่มีใช้การเชื่อมต่อ PCIe x16 ออกมาให้เห็นในตลาด
PCI Express x8 เราคงอาจไม่ค่อยเห็นได้มากนัก ในภาพก็จะเป็นการ์ดจอในรุ่นระดับกลางๆ ที่ไม่ได้จำเป็นต้องรับส่งประมาณข้อมูลสูงมาก ด้วยการออกแบบของกราฟฟิกชิพที่เป็น PCIe x8 ตั้งแต่เกิด โดยบางผู้ผลิตก็ทำขามาเป็น x8 เพื่อลดต้นทุนไปเลย นอกจากนั้นก็ยังมีการใช้งานกับ SSD PCI-e และ Network Adpater ด้วย
PCI Expess x4 ที่ในเราจะเห็นได้กับ SSD PCIe หรือ Ethernet Adapter ในระดับ 5-10 Gigabit ถ้าเป็น PCIe x2 ขาจะสั้นว่า PCIe x4 แต่จะยาวกว่า PCIe x1 ในภาพด้านล่าง ซึ่งตั้งแต่มี PCIe3.0 ออกมา ก็ไม่ค่อยเห็น PCIe x2 เท่าไรแล้ว
PCI Express x1 เราก็จะเห็นกับอุปกรณ์เสริมเพิ่้มการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก เช่น Network Adapter, Sound Card และ อื่นๆ
PCI Express version | Transferrate Rate | Throughput x1 | Throughput x2 | Throughput x4 | Throughput x8 | Throughput x16 |
1.0 (2003) | 2.5 GT/s | 250 MB/s | 0.500 GB/s | 1.00 GB/s | 2.0 GB/s | 4.0 GB/s |
2.0 (2007) | 5.0 GT/s | 500 MB/s | 1.000 GB/s | 2.0 GB/s | 4.0 GB/s | 8.0 GB/s |
3.0 (2010) | 8.0 GT/s | 984.6 MB/s | 1.969 GB/s | 3.94 GB/s | 7.88 GB/s | 15.75 GB/s |
4.0 (2017) | 16 GT/s | 1969 MB/s | 3.938 GB/s | 7.88 GB/s | 15.75 GB/s | 31.51 GB/s |
5.0 (2019) | 32 GT/s | 3938 MB/s | 7.877 GB/s | 15.75 GB/s | 31.51 GB/s | 63.02 GB/s |
6.0 (2021) | 64 GT/s | 7877 MB/s | 15.754 GB/s | 31.51 GB/s | 63.02 GB/s | 126.03 GB/s |
ในส่วนของเวอร์ชั่น PCI Express ที่ล่าสุดที่มีซื้อหาได้จะเป็น 4.0 แน่นอนว่าแบนด์วิดท์ในการรับส่งข้อมูลที่ทำได้สูงขึ้นกว่ามาตรฐานยุคก่อนอย่าง PCIe 3.0 โดยอุปกรณ์ที่รองรับ PCIe 4.0 จะมีเพียงเมนบอร์ด AMD X570 และ TRX40 ทางด้านอุปกรณ์เชื่อมต่อจะมีกราฟฟิกการ์ด AMD Radeon RX5500, 5600 ,5700 และ SSD PCIe 4.0 มาตรฐานในอนาคตที่มีแผนมารอถึง PCIe 6.0 ซึ่ง PCIe 5.0 คงต้องรอแฟลตฟอร์มใหม่ๆในอนาคต
Conclusion
วันนี้เราคงได้เห็นการสังเกตุของสล็อต PCI Express ที่ใช้งานกันกับยุค 2020 ในแบบที่เราจะได้เห็นกับเมนบอร์ดสำหรับ Desktop Computer ทั้งแบบแบรนด์เนมและประกอบเอง ที่จะได้เป็นแนวทางได้ไม่น้อย แน่นอนว่าว่านอกจาก PCI Express x1 - x16 แล้วก็ยังมีในเรื่องของเวอร์ชั่นที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานได้ อย่างเช่นการอัพเกรดการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ในเครื่องยุคเก่า ถ้าเทียบจากตรางกันดีๆ ก็จะเห็นได้ในเรื่องของคอขวดตามมาตรฐาน แต่ในความเป็นจริงมันก็อาจไม่ได้ส่งผลกันขนาดนั้น สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ