สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ถ้าพูดถึงเกมมิ่งเกียร์ที่มีขายกันในท้องตลาด ถ้าเราพูดถึง HyperX ที่เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีสาวกผู้ใช้งานกันเป็นจำนวนมาก ยิ่งหูฟังเกมมิ่ง HyperX Cloud II อันโด่งดัง ที่ได้รับความนิยมมาต่อเนื่องหลายปี ที่ปีนี้ได้มีการออกมาของ HyperX Cloud III ต่อยอดจากเดิม ที่เน้นการใช้งานด้านการใช้งานที่สะดวกสบาย คุณภาพเสียง และความทนทาน ตามแบบฉบับ HyperX ซึ่ง Cloud III ที่รองรับการใช้งานร่วมกับ คอมพิวเตอร์, Playstation, Xbox, Nintendo Switch, Mac และ อุปกรณ์เคลื่อนที่ แบบมีสายผ่านพอร์ต USB-C ,USB-A และ 3.5 มม. ให้เสียงผ่านไดรเวอร์ขนาด 53 มม. พร้อมกับใช้เมมโมรี่โฟมที่แถบคาดและฟองน้ำรองหูฟัง ที่ไมโครโฟนขนาด 10 มม. สามารถบันทึกเสียงพูดคุยและการโทรในเกมได้คมชัด HyperX Cloud III มีทางเลือกด้ายสีดำล้วน และ สีดำตัดกับสีแดงที่เราได้รับมารีวิว
Package & Bundled
แพ็คเกจที่เป็นกล่องกระดาษสีแดงตัดสีขาว แซมด้วยสีดำ ที่มีการบ่งบอกไว้ว่านี่คือ HyperX Cloud III
ไม่มีคู่ทือการใช้งาน ใบรับประกันนอก สายต่อ USB A หรือ C และ ไมโครโฟน
Design & Detail
การออกแบบที่เน้นความสบาย ไม่บีบรัดศีรษะมากเกินไป แต่มีการใช้โครงที่แข็งแรงพอสมควรป้องกันความเสียหายจากการหัวร้อน และอื่นๆ
การออกแบบตู้ลำโพงที่ปรับมุมเข้ากับผู้ใช้งาน โครงสร้างที่เราเห็นในภาพสีแดงที่ทำมาจากอลูมิเนียม แล้วพลาสสติกสีดำผิวเรียบ
ในส่วนที่คาดศีรษะจะใช้เมมโมรี่โฟม ในส่วนนี้จะมีการหุ้มด้วยหนังสังเคราะห์ สายลำโพงที่เป็นสายหุ้มฉนวนดำตัดแดงอย่างชัดเจน การปรับระยะที่ทำได้ข้างละ 10 ระดับ
โลโก้ HyperX อย่างชัดเจน
ภายในใช้ไดรเวอร์ขนาด 53 มม. ที่สามารถปรับมุมได้ตามผู้ใช้งาน
จุดการเชื่อมต่อไมโครโฟน ที่จะอยู่หูทางด้านซ้าย
ลูกกลิ้งการปรับระดับความดังที่อยู่ทางด้านขวา
ปุ่มปิดเสียงไมโครโฟน ที่อยู่ด้านซ้ายทางด้านหลัง
ฟองน้ำรองหูฟัง ที่ใช้เมมโมรี่โฟม และ หุ้มด้วยหนังสังเคราะห์ ที่ตู้มีการออกแบบสามารถเก็บเสียงภาพใน ลดเสียงจากภายนอกได้ดี
ไมโครโฟนที่เป็นในรูปแบบก้าน ที่สามารถปรับมุมได้ตามการใช้งาน ภายในใช้ไมโครโฟนขนาด 10 มม. มีไฟแสดงสถานะการทำงาน
ตัวสายหูฟังที่เป็นสายหุ้มฉนวนดำตัดแดง เป็นการเชื่อมต่อ 3.5 มม. แบบ 4 Pole ที่รวมหูฟังและไมค์ที่สายเส้นเดียว ยาวประมาณ 1.2 เมตร
ในส่วน USB to 3.5 มม. ที่มีความยาวประมาณ 1.2 เมตร
ในการใช้งานที่ถอด USB-A ก็กลายเป็น USB-C ได้
ถ้าไม่อยากใช้ USB Adaptor ต้องใช้งานผ่านช่อง 3.5 มม. ที่รวมไมค์และลำโพงเข้าด้วยกัน
ทดลองฟัง
ถึงการเชื่อมต่อเข้ากันคอมพิวเตอร์ผ่าน USB ที่เป็นการ์ดเสียงแยกออกจากเดิม
การปรับระดับเสียงที่ทำได้จากทางซ้ายและขวา
ปรับได้ละเอียดสูงสุด 24 Bit ที่ความละเอียด 96 KHz ในสายเกมไม่ได้เน้นว่าต้องเป็น Hi-Res
มาลองเล่นเกม Far Cry 6 ดูหน่อย
เกมออกใหม่กับ Starfield กันบ้าง
เล่นประจำที่สุด Forza Horizon 5 เล่นมือเดียวได้ดีที่สุด
เล่นเกมมาหลายชั่วโมง พักสมองมาดูหนังบ้าง
Conclusion
HyperX Cloud III กับการต่อยอดความสำเร็จจาก HyperX Cloud II ที่ได้รับความนิยมและทำตลาดมาอย่างยาวนาน ที่การออกแบบของ HyperX Cloud III ที่เน้นความสบาย ใส่นานๆไม่รู้สึกว่ามันบีบศีรษะมากเกินไป น้ำหนักกำลังดี แม้จะใส่แว่นพร้อมการใส่หูฟังก็ตาม บอดี้ที่ให้ความรู้สึกแข็งแรงมั่นคงดี ซึ่งแถบคาดศีรษะและฟองน้ำรองหูฟังความรู้สึกที่สัมผัสนุ่ม ไม่ก่อให้เกิดความเหนอะหนะในการใช้งานระดับหลายชั่วโมง ถ้าเป็นการสตรีมเกมหรือเล่นต่อเนื่องห้องควรจะมีการระบายอากาศที่ดีหน่อย อีกสิ่งที่ดีงามกับ HyperX Cloud III คือเรื่องไมค์ที่เสียงมีความคมชัดเหมาะกับการสตรีมหรือการสื่อสาร มาถึงทางด้านสไตล์เสียง HyperX Cloud III ที่เน้นการเล่นเกมเป็นหลัก มากับเสียงพูด และ รายละเอียดเสียง ที่โดดเด่นมาก เสียงเบสมากันแบบพอมีเท่านั้น การเก็บเสียงจากภายนอกที่ HyperX Cloud III ทำออกมาดีมาก ถึงแม้จะไม่มีระบบตัดเสียงรบกวน แต่เสียงจากภายนอกที่เข้ามารบกวนน้อยมาก โดยส่วนตัวถือว่าถูกใจ HyperX Cloud III น้ำหนักเบา สวมใส่สบายไม่อึดอัด ใช้งานต่อเนื่องหลายชั่วโมงไม่ได้เกิดอาการล้าหูมาก ไม่มีระบบเสียงรอบทิศทางจำลองให้ชวนเวียนหัว ในราคาสามพันต้นๆ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : Ascenti Resources Co.,LTD.