สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา โดย มอก.2432-2555 หรือ มอก. ปลั๊กพ่วง ได้มีการบังคับใช้กันอย่างเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในการเลือกซื้อที่แต่ละคนมีกำลังไม่เท่ากัน นอกจากของแสร้งกว่ามี มอก.2432-2555 ในราคาหลักสิบยังมีให้เห็นได้ในตลาด ในราคาถูก แต่เสี่ยงไฟไหม้ แถมอาจได้ไฟดูดกับ USB Charger ในตัว นี่ไม่นับรวมพวกปลั๊กรางที่ไม่เข้าขั้น มอก.2432-2555 โดยพวกใช้ มอก. ของสายไฟหรืออื่นๆแทน วันนี้เราจะมาลองกับปลั๊กพ่วง ที่มีมอก.2432-2555 ในราคาไม่ถึง 100 บาท เราจะมาลองดูว่า ซื้อมาแล้วจะคาดหวังกับคุณภาพที่เราได้รับกันได้แค่ไหนครับ
การันตีโดยแพลตฟอร์ม ราคาโรงงาน ในงบไม่ถึง 100 บาท แต่ในรุ่นที่มี USB Charger ในราคาเกินร้อย แต่มันเกินงบที่ผมตั้งไว้ ราคาในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน พวกส่งฟรีถ้าผมจำไม่ผิดร้านค้าการันตีโดยแพลตฟอร์มส่งฟรีเลย ถ้าไม่ฟรีไปเก็บส่งฟรีได้ครับ
สั่งมาลองจริงๆนะ

ตัวแพ็คเกจมาในแบบซองพลาสติก ที่ลายบนแพ็คเกจ ผมเห็นตอนแรกที่ชวนในผมนึกถึง ปลั๊กพ่วงแบบมี มอก. 2432-2555 ปลอม(หรือเปล่า) และ เพื่อนพ้องของเขาในระดับราคาเดียวกัน แต่นี่มันการันตีโดยแพลตฟอร์ม ราคาโรงงาน คิดซะว่ามัน มอก.2432-2555 แท้ครับ

ดูจากหน้าตาโดยภาพรวม ยอมรับเลยที่ออกมาดูดีเกิดราคา ซึ่งสายไฟยาว 5 เมตร สามเต้ารับ ในราคาไม่ถึง 100 บาท เป็นความดึงดูดผู้ซื้อมาก ถ้าเพิ่มอีกนิด มี USB Charger A+C ด้วย

จากหน้าตาโดยรวมที่การออกแบบดูไม่ต่างจากกลุ่มของปลั๊กพ่วงราคา 200 บาท ที่การออกแบบมีการยึดติดได้สะดวกมาก

สายไฟที่ตามราคาไม่ต้องไปคาดหวังกับทองแดงแท้ คงเป็นสายอลูมิเนียมเคลือบทองแดง หรือ สายแบบ CCA ที่ลวดอะลูมิเนียมเคลือบทองแดง อาจย่อว่า CCAW ได้ครับ ที่ผ่าน มอก. 2432-2555 แบบนี้ น้ำหนักของสาย 5 เมตร น้ำหนัก เบามาก คาดว่าเป็น CCA แน่นอน ที่ 5 เมตร แต่เบากว่าสายทองแดง 1.8-3.0 เมตร อีก

ตัวบอดี้ที่การเก็บของต่างๆ อาจไม่เรียบร้อยมากนัก แต่มันดูแย่กว่าปลั๊กพ่วงระดับ 150 บาท โดยที่ตัวเต้ารับมีม่านซัตเตอร์ตาม มอก.2432-2555 ด้านหน้ามีการบ่งบอกชัดเจนนี่คือ มอก.2432-2555 ที่เต้ารับแบบ Hybrid ที่รองรับปลั๊กแบบ Type O ,Type A ,Type B และ Type C แล้วก็ต้องมีม่านป้องกัน

มีแค่บ่งบอกว่า 250v รองรับสูงสุด 10a โดยไม่มี มอก. 2432-2555 หรือ TIS. 2432-2555 ครับ ผลิตที่จีนไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างไร

เมื่อเราเปิดฝาออกมาให้เห็นภายใน ที่ดูแล้วไม่มีอะไรผิดปกติอะไร แต่เราลองมาดูดีๆ ที่เต้ารับขาหน้าสัมผัสคงเป็นวัสดุเป็นเหล็กหรืออลูมิเนียมซะมากกว่า ตามระดับราคาไม่ถึงร้อยบาท คงไม่ใช่ทองแดง หรือ ทองเหลือง มาชุบโรเดียม ,โครเมี่ยม หรือ ทองคำขาว แน่นอน ซึ่งปลั๊กรางที่ดีเต้ารับควรต้องแน่น ซึ่งตัวนี้ความแน่นพอกับ ปลั๊กพ่วงแบบมี มอก. 2432-2555 ปลอม(หรือเปล่า) คือไม่แน่นนั้นเอง กลไกเต้ารับทำได้ไม่ดี หลวม และล้าง่าย เวลาเสียบปลั๊กลงไป จุดที่สัมผัสน้อยนิด ไฟฟ้าสามารถกระโดด ทำให้เกิดความร้อนสูง จนเต้ารับละลายได้ครับ

ทางด้านสายไฟขาเข้า มี L N G จับดูแล้วสายที่ดูหนาใช้ได้ แบบฝอยที่ไม่แน่ใจขนาด คิดว่า 0.75 ละกัน มีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเดิน แบบ Thermal Circuit Breaker การเก็บงานที่ดูตามราคา

ดูจากภาพขนาดสายไฟที่เดินวงจรข้างในกับลองนึกภาพเทียบเส้นผม ถ้าคนผมหนาๆ เส้นผมมันใหญ่กว่าสายไฟ ไปต่อกับกระทะไฟฟ้า หม้ออบลมร้อน หม้อชาบู ใช้งานนานๆ ขอให้โชคดีครับ
ปลั๊กพ่วงที่ได้รับ มอก.2432-2555 ต้องมี
1. โครงสร้างต้องใช้วัสดุที่ไม่สามารถติดไฟ หรือ ต้องมีสารป้องกันไฟลุกลาม
2. สายไฟที่ใช้ พื้นที่หน้าตัด และ ความยาว ต้องใช้ตามมาตรฐานของที่ สมอ. กำหนดไว้
3. การวางตำแหน่งของขา L G N ต้องเป็นไปตามกำหนดของมาตรฐานของเต้ารับประเทศไทย
4. อุปกรณ์ส่วนอื่นๆที่ใช้ภายใน ควรต้องใช้ที่ผ่าน มอก. ด้วยเช่นกัน
5. เต้ารับแบบ Hybrid ที่รองรับปลั๊กแบบ Type O ,Type A ,Type B และ Type C แล้วก็ต้องมีม่านป้องกัน
6. เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องเสียบได้พอดี ไม่แน่นและไม่หลวมเกินไป
7. ถ้า 3 เต้ารับขึ้นไปต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเดิน แบบ RCBO หรือ Thermal
Conclusion
เป็นการนำตัวอย่างของปลั๊กพ่วงในระดับราคาไม่เกิน 100 บาท รวมส่งถึงประตูบ้าน ตามข้อกำหนด มอก.2432-2555 ตัวนี้ถือว่าไม่มีอะไรผิดปกติ แต่ในแง่ของการใช้งาน ที่เพิ่มงบประมาณอีกเล็กน้อย จะได้ความอุ่นใจต่อชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น ยิ่งไปอ่านเจอคอมเมนต์บ่นเรื่องความแน่นและเสียบลงยากของปลั๊กรางคุณภาพสูง เห็นแล้วเหนื่อยใจที่จะเขียนบทความในแนวนี้แล้ว ที่ต้องลองชั่งใจดูครับ คุณภาพมันตามราคา เพิ่มอีกไม่กี่บาทได้ของที่คุณภาพที่ดูดีและการใช้งานที่เหนือกว่าของต่ำกว่าร้อยบาท ซื้ออะไร ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วย สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ