สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน สำหรับ Ryzen 9000 Series ได้มีเมนบอร์ดชิพเซ็ตตรงยุคอย่าง AMD X870 และ X870E ที่ Ryzen 9000 Series ในบ้านเราได้มีการวางขายไปบ้างแล้ว เนื่องจากด้วยของมาใหม่ที่ราคายังสูง ถ้าคิดว่าแพงต้องรอกันอีกซักพัก ที่ AMD เน้นเพิ่ม IPC (Instructions per cycle) มากกว่าการไปเพิ่มสัญญาณนาฬิกา ถ้าเทียบกับ Ryzen 7000 Series จะเห็นได้สเปกไม่ต่างกัน ความแรงมีมากขึ้น ซึ่งวันนี้เราได้มีโอกาสลอง AMD Ryzen 7 9700X ระดับกลางๆ ในราคายังคงน่ารัก ที่มาพร้อมกับค่า TDP 65W ตามสเปก โดย AMD Ryzen 7 9700X ใช้พื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 5 ในรหัสการพัฒนา Granite Ridge โดยจะที่ไม่มีชุดระบายความร้อนมาให้ แกนของซีพียูเป็นขนาดการผลิต 4 นาโนเมตร โดย TSMC ประมวลผลจำนวน 8 แกน 16 เธรด ความเร็วพื้นฐานที่ 3.8 Ghz บูสคล็อกสูงสุด 5.5 Ghz ถือว่าสูงมากแม้ไม่ได้ทำการโอเวอร์คล็อก ที่ยังรองรับการโอเวอร์คล็อกได้ตามความน่าจะเป็นของอุปกรณ์และดวง มีค่า TDP 65 Watt อีกทั้งยังมีกราฟฟิกในตัว ความประสิทธิภาพและการใช้งานเป็นยังไง ตามมาชมกัน
Name | AMD Ryzen 7 9700X |
Series | Ryzen 9000 Series |
AMD Pro Technologies | No |
Codename | Granite Ridge AM5 |
Architecture | Zen 5 |
CPU Cores / Threads | 8 Cores / 16 Threads |
Multithreading (SMT) | Yes |
Max Boost Clock | Up to 5.5 GHz |
Base Clock | 3.8 GHz |
L1 Cache | 640 KB |
L2 Cache | 8 MB |
L3 Cache | 32 MB |
Default TDP | 65 Watt |
Technology for CPU Cores | TSMC 4nm FinFET |
Technology for I/O Die | TSMC 6nm FinFET |
Package Die Count | 2 |
Unlocked for Overclocking | Yes |
AMD EXPO Memory Overclocking Technology | Yes |
Precision Boost Overdrive | Yes |
Curve Optimizer Voltage Offsets | Yes |
AMD Ryzen Master Support | Yes |
CPU Socket | AM5 |
CPU Boost Technology | Precision Boost 2 |
Graphics Model | AMD Radeon Graphics |
Graphics Core Count | 2 |
Graphics Frequency | 2200 Mhz |
Max. Operating Temperature (Tjmax) | 95°C |
AMD Ryzen 7 9700X มีพื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 5 ในรหัสการพัฒนา Granite Ridge โดยจะที่ไม่มีชุดระบายความร้อนมาให้ แกนของซีพียูเป็นขนาดการผลิต 4 นาโนเมตร และ ในส่วนของ I/O ที่การขนาดการผลิต 6 นาโนเมตร โดยมี Cache ระดับที่ 1 640 KB ระดับที่ 2 8 MB และ ระดับที่ 3 32 MB พร้อมกับค่า TDP 65 Watt โดยความเร็วพื้นฐานที่ 3.8 Ghz บูสคล็อกสูงสุด 5.5 Ghz
รูปตัวอย่างภาพในของ AMD Ryzen 7 9700X ภายใต้กระดอง มีพื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 5 ในรหัสการพัฒนา Granite Ridge แกนของซีพียูเป็นขนาดการผลิต 4 นาโนเมตร และ ในส่วนของ I/O ที่การขนาดการผลิต 6 นาโนเมตร ที่จะต่างกับรหัสการพัฒนา Raphael ขนาดขบวนการผลิต 5 nm ของ Ryzen 7000 Series แทบจะไม่ต่างจากเดิมมากนัก มีแค่แกนซีพียูประมวลผลที่ใหม่กว่าครับ ที่มาพร้อมกับกราฟฟิก AMD Radeon Graphics เป็นขนาดการผลิต 5 นาโนเมตร เหมือนกันทั้ง Ryzen 9000 และ 7000 Series
Package & Bundled
แพคเกจของ AMD Ryzen 9000 Series โดยภาพรวมจะเป็นธีมสีดำแซมด้วยสีเทา พร้อมกับการตัดขอบส้ม
ใบแสงความเป็น Red Team และ รายละเอียดการรับประกัน
สติกเกอร์ติดหน้าเครื่อง ธีมแบบ Ryzen 8000 Series
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่โดดเด่นที่สุดจะเป็นกระดองที่เป็น 8 มุม ไม่เหมือนใคร แต่ทาซิลิโคนต้องมีความระมัดระวัง ควรทาแต่พอดี กระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างตามแบบฉบับของ AMD ที่ประกอบมาเลเซีย แบบ Ryzen 5 9600X ที่รีวิวไป
แพ็คเกจ LGA 1718 หรือ Socket AM5 ที่มีการใช้ตั้งแต่ Ryzen 7000 มีการทำรอยบากที่ใหญ่ ติดตั้งได้ไม่ยาก ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน
AMD Ryzen 7 9700X มีความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่ 5.5 Ghz ลากต่อ โอเวอร์คล็อกที่แรงสะใจแน่นอนเท่านั้น ตามการระบายความร้อนที่ใช้อยู่ ที่ยังสามารถใช้ซอฟต์แวร์ AMD Ryzen Master ,เปิดใช้งาน Precision Boost Overdrive ในไบออส และ ปรับแต่งเองในไบออส เพิ่มประสิทธิภาพการประมวณผลได้ตามความน่าจะเป็นของระบบและดวง AMD Ryzen 7 9700X ใช้ SMT สองตัวประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสมัยนี้ ที่ AMD เริ่มมีการใช้ในสมัย Bulldozer
กราฟฟิกในตัวคือ AMD Radeon Graphics ที่พลังทำออกมาได้ไม่เลว ความเร็วแรมวิ่งตามแรมระบบ
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- Memory : Kingston FURY BEAST 7800Mhz 32GB
- VGA : GIGABYTE Radeon RX 7800 XT
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : FSP 1200W Watt
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
ราคาเปิดตัวของ Ryzen 9000 Series โดยภาพรวมที่จะต่ำกว่า Ryzen 7000 Series อยู่เล็กน้อย สี่โมเดลนี้เป็นกลุ่มแรกของ Ryzen 9000 Series เท่านั้น ยังมีอีกหลายโมเดลที่จะออกมา ไม่แน่ใจว่าจะมี Ryzen 3 ใน 9000 Series หรือไม่ ยังไม่นับรวม Ryzen 9000 X3D ราคา Ryzen 5 9600X อยู่ที่ 279 USD ราคาในบ้านเรา 11XXX บาท ,Ryzen 7 9700X ที่ 359 USD ราคาไทย 14XXX บาท ,Ryzen 9 9900X ที่ 499 USD ประมาณ 18XXX และ Ryzen 9 9950X ที่ 649 USD ประมาณ 26XXX
Conclusion
AMD Ryzen 7 9700X ในระดับระดับกลางในราคาที่จับต้องได้ง่าย ซึ่งการมี 8 คอร์ 16 เธรด ถือว่าลงตัวดีในการใช้เล่นเกม และ การทำงาน ที่ถือว่ามันมากกำลังดี แถมประหยัดพลังงานด้วยค่า TDP ที่ 65 Watt เท่านั้น โดยการพัฒนาของ Ryzen 7 9700X เทียบกับ Ryzen 7 7900X มันไม่ได้ต่างกันเลย ถ้ามอง Base Clock ที่ Ryzen 7 9700X มันด้อยกว่า Ryzen 7 7700X กว่าด้วยซ้ำ ที่งวดนี้ AMD ได้มีการเน้นเพิ่ม IPC (Instructions per cycle) มากกว่าการไปเพิ่มสัญญาณนาฬิกา ในเรื่องของความร้อนที่ Ryzen 7 9700X ทำได้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าไม่ได้มองเรื่องความสวยงามใช้ซิ้งธรรมดาไช้ได้แล้ว ลองโอเวอร์คล็อกเล่นๆ ดูมีอนาคตเลยครับ ถ้าอยากเอาไปชนกับ Threadripper ในยุคก่อนๆ Ryzen 7 9700X แรงแบบกินขาด แถมมีความวุ่นวายในระบบน้อยกว่า ถ้าเทียบกับความรู้สึกในการเล่นเกมเพียวๆ Ryzen 7 9700X ที่ไม่ต่างจาก Ryzen 5 9600X มากนัก ยกเว้นในบางเกมที่จะมีความแตกต่าง แต่การเล่นเกมในยุค 2024 ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมมิ่ง ,การอัดหน้าจอในการเล่นเกม และ อื่นๆ สมัยนี้มีการใช้งานมากกว่าเดิม ที่ Ryzen 7 9700X สามารถตอบสนองได้ดีกว่า Ryzen 5 9600X เปรียบเสมือน Ryzen 7 9700X เป็น Ryzen 7 7700X เวอร์ชั่นที่ออกใหม่ มีการปรับปรุงในดีขึ้น มีการลดขนาดขบวนการผลิต Ryzen 7000 Series จาก Raphael ขนาดขบวนการผลิต 5 nm มาเป็น Ryzen 9000 Series จาก Granite Ridge ขนาดขบวนการผลิต 4 nm โดยที่ I/O ยังคงขบวนการผลิต 6 nm และ กราฟฟิกขบวนการผลิต 5 nm เหมือนเดิมไม่ต่างกัน ในด้านการใช้งานที่ Ryzen 7 9700X ถือว่ามีการตอบสนองที่ดีกับสายเกมมิ่ง ทำงานหนัก เน้นการประมวลผลด้วยซีพียูที่มี 8 คอร์ / 16 เธรด ที่มี Cache L3 32MB ถ้าจะข้ามไปให้มี Cache ระดับ 3 64MB ต้องไปใช้ Ryzen 9 9900X ที่ต่าตัวจะกระโดดมากกว่านี้ ส่วนสายโหดในการโอเวอร์คล็อก ที่ AMD RYZEN 9000 Series สามารถตอบโจทย์ได้ตามการระบายความร้อนและดวงที่ได้ซีพียูไปไกลๆ เรื่องการโอเวอร์คล็อกเมโมรีที่ยังไม่มีเวลาได้ลองมาก ลองดูเล่นๆ วิ่งสู้ Ryzen 8000 Series ยังไม่ได้ ที่ลากแรม DDR5 ต้องยกให้ Ryzen 8000 แต่การจูนที่เน้นประสิทธิภาพต้องยกให้ Ryzen 9000 สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : AMD Far East | Thailand