สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน NVIDIA พัฒนาประสิทธิภาพของ Blackwell ออกแนวเด็กซุ่ม ที่ต้องอาศัยความรู้ (AI) เข้ามาช่วยประมวลผลทางด้านการเล่นเกม และ การทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น หลังจากการเปิดตัว NVIDIA GeForce RTX 5070 Ti ที่ยังคงมีความยากในการซื่อหาเป็นของอยู่ ซึ่งใครที่กำลังตัดสินใจซื้อ แต่ไม่รีบมาก ก็ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกลของตลาดได้ครับ ซึ่ง ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition ที่เราได้มีโอกาสนำมาให้ชมกัน เป็นการ์ดที่ถูกออกแบบและผลิตโดย ASUS ที่มีจดเด่นทางด้านการออกแบบที่เป็นไปตามมาตรฐาน SFF รองรับการติดตั้งในเคสแบบกระทัดรัด หนาเพียง 2.5 สล็อต มีการใช้พัดลม Axial-tech เพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition ที่ราคาเป็นมิตรต่อประเป๋าเงิน รวมไปถึงการสิ้นเปลืองพลังงานกำลังดีกว่า RTX5080 และ RTX5090 ไม่ต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลายระดับโรงไฟฟ้า แค่ระดับ 750-850 วัตต์ สถาปัตยกรรม Blackwell มี CUDA Core 8960 คอร์ พร้อมหน่วยความจำ GDDR7 ความจุ 16GB แบบ 256 บิต มาด้วยเทคโนโลยี Tensor cores รุ่นที่ 5 ประสิทธิภาพ AI สูงสุดด้วย FP4 และ DLSS 4 ขับเคลื่อนด้วย AI ปรับให้เหมาะสมสำหรับ Ray Tracing Cores รุ่นที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเรขาคณิตขนาดใหญ่ ช่วยให้สามารถรันเกมที่ต้องการกราฟิกสูงสุดและครีเอทีฟแอปพลิเคชั่นด้วยความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดี ยังมี NVIDIA Studio สามารถสร้างสรรค์ครีเอทีฟโปรเจ็กต์ให้มีชีวิตขึ้นมาได้เร็วกว่าที่เคย สร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรม Blackwell ใช้ชิปรหัสว่า GB203 ที่ Blackwell เทคนิคใหม่ๆด้วย RTX Neural Shader ใช้ในการบีบอัดพื้นผิวในเกมได้ ใน RTX Neural Faces มุ่งหวังที่จะปรับปรุงคุณภาพใบหน้าโดยใช้ AI โดย DLSS 4 ประกอบด้วย Multi Frame Generation ซึ่งสร้างเฟรมเพิ่มเติมได้สูงสุดสามเฟรมต่อเฟรมดั้งเดิมและสามารถเพิ่มอัตราเฟรมได้มากถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับการเรนเดอร์ดั้งเดิม ซึ่งทำให้ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้แอนตี้ตัวช่วยการเล่นเกมที่ความละเอียด 4K สามารถทำได้ไม่มีปัญหาเลย ถ้าคุยที่พลังเพียว ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition ระดับความละะเอียด 2K สามารถตอบสนองได้ดี ที่ AI เข้ามาช่วยเสริมถึงระดับ 4K ถึง 5K ได้สบายๆ
GeForce RTX5070Ti | GeForce RTX4070Ti | GeForce RTX5080 | GeForce RTX4080 | |
Architecture |
Blackwell
|
Ada Lovelace | Blackwell | Ada Lovelace |
Process
|
TSMC 4N | TSMC 4N | TSMC 4N | TSMC 4N |
CUDA Core | 8960 | 7680 | 10752 | 9728 |
Tensor Core (AI) | 280 - Gen 5 | 240 - Gen 4 | 366 - Gen 5 | 304 - Gen 4 |
Ray Tracing Core | 70 - Gen 4 | 60 - Gen 3 | 84 - Gen 4 | 76 - Gen 3 |
GPU Boost Clock | 2452 Mhz | 2610 Mhz | 2617 Mhz | 2505 Mhz |
Memory | 16GB GDDR7 | 12GB GDDR6X | 16GB GDDR7 | 16GB GDDR6X |
Memory Interface | 256 Bit | 192 Bit | 256 Bit | 256 Bit |
Bandwidth
|
896 GB/s | 504 GB/s | 960 GB/s | 716.8 GB/s |
TDP | 300w | 285w | 360w | 320w |
Package & Bundled
แพคเกจบ่งบอกชัดเจน Prime ซึ่งเป็น GeForce RTX 5070 Ti ในธีมสีดำลายดำ ที่ดูแข็งแกร่ง ไร้แสงสี RGB
คู่มือการใช้งานเบื่องต้น ที่ค้ำการ์ดจอ สามารถปรับระดับความสูงได้ รวมไปถึงพาวเวอร์ใครที่ไม่มี 12V-2x6 หรือ 12VHPWR สามารถใช้หัวแปลง PCIe 8 Pin ที่ให้มาได้
Design & Detail
การ์ดจอซีรีส์ Prime การ์ดจอเพื่อการเล่นเกม หรือ ครีเอเตอร์ ไร้แสงสีกวนใจ ให้อารมณ์ที่ดูแข็งแรงด้วยธีมสีดำ พร้อมการเล่นลายที่ให้ความเป็น ASUS Prime ที่มีขอบมนและส่วนโค้งทางด้านบน ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งการวางการ์ดแนวตั้งและนอนแบบมาตรฐาน ขนาดการ์ดอยู่ที่ 304 x 126 x 50 มม. ความหนาโดยประมาณ 2.5 สล็อต รอบรับเคส SFF การผลิตที่ใช้เทคโนโลยี Auto−Extreme กระบวนการผลิตอัตโนมัติที่กำหนดมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมโดยให้บัดกรีได้ทั้งหมดในครั้งเดียว เทคโนโลยี ASUS Auto-Extreme ช่วยลดความร้อนบนส่วนประกอบและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทำความสะอาดที่รุนแรง ส่งผลให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลง และ MaxContact กระบวนการผลิตพิเศษของ ASUS ที่ช่วยขยายพื้นที่ผิว กระจายความร้อนที่อยู่ด้านบนของ GPU ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 5% เมื่อเทียบกับการออกแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยปรับปรุงอุณหภูมิได้ ร่วมกับชุดฮีตซิงค์ขนาดใหญ่ มีแผ่นระบายความร้อน GPU ด้วยการหลอมละลายเพื่อเติมช่องว่างระหว่าง GPU และโมดูลระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แผ่นระบายความร้อน GPU แบบระดับพรีเมียมจึงให้การนำความร้อนที่เหนือกว่าและการระบายความร้อนที่ดีขึ้น ช่วยให้การ์ดกราฟิกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น รองรับการทำงานหนัก
มุมมองจากทางด้านข้างของการ์ด ฝาครอบมีการบ่งบอกชัดเจนใน Prime Series เราจะเห็นว่าฮีทซิงค์ระบายความร้อนที่มันใหญ่อลังการมาก มีการเขียนอย่างชัดเจน นี่คือ GEFORCE RTX ในทางโค้ง มีคานเสริมความแข็งแรง ถ้ามองที่ขนาด PCB ตัวการจะเป็นไปตามสมัยที่ชุดระบายความร้อนใหญ่กว่ามาก
พาวเวอร์ใครที่ไม่มี 12V-2x6 หรือ 12VHPWR สามารถใช้หัวแปลง PCIe 8 Pin ที่มาในกล่อง
ชุดระบายความร้อน ที่มีการใช้พัดลม Axial-tech จำนวน 3 ใบพัดยาวขึ้นและวงแหวนกั้นเพื่อเพิ่มแรงดันอากาศลงเพื่อให้มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า เสียงรบกวนน้อยลง และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น พัดลมทั้งสามตัวจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิของ GPU ต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส ช่วยให้คุณเล่นเกมที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากหรือทำภารกิจเบาๆ ในความเงียบ พัดลมจะเริ่มทำงานอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส ขนาด 9 เซ็น ถึง 3 ตัว ที่มีตลับลูกปืนคู่มีความทนทานเป็นพิเศษและสามารถใช้งานได้นานกว่าตลับลูกปืนแบบปลอกถึงสองเท่า พร้อมท่อฮีทไปท์ถ่ายเทความร้อนจาก GPU และ VRAM ไปยังฮีทซิงค์ได้อย่างรวดเร็วเพื่อการกระจายความร้อนที่เหมาะสมที่สุด แผ่นโลหะด้านหลังเสริมความแข็งแรงพร้อมช่องระบายอากาศช่วยเพิ่มการระบายความร้อน ที่มีการใช้ฮีทไปท์ทองแดงเชื่อมกับฐานทองแดงชุบนิกเกิลเพื่อการระบายความร้อนที่ดี
Backplate อลูมิเนียมสีดำด้านหลังเสริมแรงพร้อมช่องระบายอากาศและแผ่นระบายความร้อนช่วยเพิ่มการระบายความร้อน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ อายุการใช้งาน และความเสถียรโดยป้องกันความร้อนสูงเกินไปและการลดความร้อน
การสลับ BIOS แบบคู่ ระหว่างโหมดประสิทธิภาพหรือโหมดเงียบ
พลิกมาดูที่ใต้การ์ด เราจะเห็นการเสริมความแข็งแรงในรูปแบบโครงสร้าง การ์ดหนา 2.5 สล็อต ไม่มีความรู้สึกยวบยาบ สล๊อต PCI-Express x16 5.0 ถ้าใช้งานจริงลดลงไปใช้งาน PCI-Express x16 4.0 ไม่ใช่ปัญหา ถ้ามีงบประมาณซื้อการ์ดพอ หรือ หาซื้อได้ครับ
ช่องระบายความร้อย ที่สามารถช่วยในการนำความร้อนลอยสู่ด้านบน
การเชื่อมต่อ DisplayPort 2.1a จำนวน 3 พอร์ต และ HDMI 2.1b Bracket หรือ ตัวยึดทำจากสแตนเลสเกรด 304 ซึ่งเลือกใช้เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทานต่อการกัดกร่อนสูง
ข้อมูลของการ์ดที่แจ้งผ่าน GPU-z ถือว่าเกือบครบถ้วนแล้ว สามารถดูในเรื่องการใช้พลังงาน ความร้อนในส่วนต่างได้อย่างครบ
รายละเอียดที่มาบน AIDA64 มากับครบ
รายละเอียดที่มาบน AIDA64 แจ้งระดับการทำงานมาครบ
System Setup
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- CPU : AMD Ryzen 7 9700X
- Memory : Kingston FURY Renegade DDR5 RGB 6800MHz 32GB
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : ROG THOR 1200W Platium III
- OS : Windows 11 Pro 24H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
การ์ดแบบไร้แสงสีใดๆ
Performance Test
ในเมื่อพลังเขียวที่บางเกมเปิดใช้ DLSS ที่มันยังไม่สามารถเปิดใช้ Frame Generation ได้ เราก็สามารถไปเปิดใช้ FSR ถ้าไม่กลัวเสียความเขียวในตัวเรา
เปิดการใช้งาน Frame Generation ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้
Conclusion
ถ้ามองที่ภาพลักษณ์ของการ์ด ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition มันคือการ์ดเล่นเกม ที่ลงตัวกับการใช้งานในกลุ่มครีเอเตอร์ หรือ ผู้ที่ชอบการแบบไร้แสงสี ซึ่งความแรงและประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่มองจากพลังดิบการเล่นในระดับ 2K มันวามารถเข้ามาตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเต็มสูบ ซึ่งมุนของพลังดิบที่ยังสามารถเข้าตอบได้ถึงในระดับ 4K ที่เกือบได้ แต่ด้วยยุคของ AI ที่ MFG (Multi Frame Generation) หรือ Frame Generation มีความสำคัญในการใช้งานของเหล่าเกมเมอร์เป็นอย่างยิ่ง ที่มันจะมีการพัฒนาการทำงานให้ดีมากขึ้น ถ้าเทียบในการทดสอบ ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition กับ GeForce RTX 5070 Ti ในตอนเปิดตัว (แต่ Driver ที่ใช้เป็นก่อนเปิดตัว) AI ในการทำงานที่พัฒนาให้ดีมากขึ้น จากแต่ก่อนเลื่อนแบบหลอนๆ หรือ อยู่ดีๆ MFG (Multi Frame Generation) ไม่ทำงาน ที่ตอนนี้ดีกว่าเดิมเยอะ ถือว่า ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition เป็นอีกหนึ่งหนึ่งการ์ดสถาปัตยกรรม Blackwell ที่มีความลงตัวในการใช้งาน เล่นเกมได้ความละเอียด 2K ถึง 4K ในงบที่ไม่ออกนอกโลก แต่ยังมีฟีเจอร์ DLSS และ MFG (Multi Frame Generation) ที่เป็นเครื่องชูโรงสำหรับ ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition มันอีกหนึ่งความซ่าในการเล่นเกมระดับ 4K 120FPS ยิ่งสายการทำงานที่ ASUS เค้ายังทำจอ ProArt 5K มาขาย ฟีเจอร์ DLSS และ MFG (Multi Frame Generation) คงได้เห็นประโยชน์มากกว่าความละเอียด 4K ในทุกวันนี้ มองประสิทธิภาพของ ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition สถาปัตยกรรม Blackwell ในแง่ของพลังดิบที่แรงกว่า RTX 4070 Ti ระดับนึง แต่มันไม่แรงชน RTX 4090 แน่นอน ซึ่งถ้ามองในยุค 2025 ที่เป็นการ์ดเล่นเกมในระดับ 2K ที่ยังได้ในระดับ 4K แทบทุกเกม เท่าที่ผมเจอมากับเกม Black Myth Wukong ก็ปรับเพื่อความลื่นได้ตามสบาย ถ้าอยากปั่นเฟรมเรมสูงๆบนความละเอียด 4K จุดตายที่มันมีแรม 16GB ที่ผมลองใช้งานในการเล่นเกมบนความละเอียด 4K มันรู้สึกสะดุดบ้าง ถ้าไปจับผิดมันมาก ไม่จับผิดอะไรมันลื่นในการเล่นเกมความละเอียด 4K ถ้าเปรียบเทียบเหมือนมีเด็กสองคน คนที่แรกเรียนเก่งพกกระดาษทดแผ่นเดียว(พลังเพียว) คนสองท่องเก่งพกเครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์พร้อมจดสูตรมาเต็มที่(พลัง AI) เข้าห้องสอบแข่งกัน ที่มุมของพลังดิบที่มันไม่ได้แรงกว่า RTX 4070 Ti จนขาดลอยอะไรนัก ถ้าเล่นเกมที่ไม่ได้เปิด หรือ แอนตี้ฟีเจอร์ DLSS และ MFG (Multi Frame Generation) ถ้าใช้ RTX 4070 Ti อยู่ ข้ามไปก่อนได้ โดยที่เงินคือปัญหาใหญ่ ถ้าเล่นเกมส่วนมากที่รองรับ DLSS และ MFG (Multi Frame Generation) ความละเอียด 2K เป็นหลัก แล้วคิดว่าซักวันจะอัพมอนิเตอร์เป็นความละเอียด 4K-5K ซึ่ง ASUS Prime GeForce RTX 5070 Ti OC Edition เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก รองรับการใช้งานในยุค 2026-2027 ทางด้านการเล่นเกมและสายครีเอเตอร์ ที่มีการออกแบบจาก ASUS ดีไซน์ 2.5 สล็อต รองรับเคสมาตรฐาน SFF ฟอร์มแฟกเตอร์ขนาดเล็ก ที่ยังมีการใช้พัดลม Axial-Tech ใบพัดที่ยาวขึ้นช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของอากาศ ที่เหมาะสมที่สุดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานของ GPU พร้อมการใช้ตลับลูกปืนพัดลมแบบ Dual-Ball อายุการใช้งานยาวนานกว่าตลับลูกปืนแบบปลอก ถ้าคิดว่างบสู้ไหว และ หาของได้ โอกาสอัพการ์ดจอมาแล้ว วันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.