สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ทาง AMD ได้มีการเปิดตัวชิพเซ็ต AMD A520 ในยุคของ 3rd GEN AMD Ryzen ที่การมาของ AMD A520 จะเข้ามาแทนเมนบอร์ดชิพเซ็ตตัวเริ่มต้นอย่าง AMD A320 ซึ่งวันนี้เราจะได้นำ ASUS PRIME A520M-K มาทดสอบให้ได้ชมกัน ซึ่งในฟีเจอร์การใช้งานของเมนบอร์ดตัวนี้จะมากันแบบพื้นฐานการใช้งานของยุค 2020 ที่ AMD A520 นั้นจะไม่มีการรองรับ PCIe 4.0 ในส่วนกราฟฟิกการ์ดและทาง AMD ได้มีการเปิดตัวชิพเซ็ต AMD A520 ในยุคของ 3rd GEN AMD Ryzen ที่การมาของ AMD A520 จะเข้ามาแทนเมนบอร์ดชิพเซ็ตตัวเริ่มต้นอย่าง AMD A320 ซึ่งวันนี้เราจะได้นำ ASUS PRIME A520M-K มาทดสอบให้ได้ชมกัน ซึ่งในฟีเจอร์การใช้งานของเมนบอร์ดตัวนี้จะมากันแบบพื้นฐานการใช้งานของยุค 2020 ที่ AMD A520 นั้นจะไม่มีการรองรับ PCIe 4.0 ในส่วนกราฟฟิกการ์ดและสตอเรจ แน่นอนว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ระดับเริ่มต้นคงไม่มีใครมาสนใจ PCIe 4.0 เท่าไรนัก เพราะเพียงแค่ถ้ามีงบๆไปซื้อ SSD M.2 PCIe 4.0 x 4 คงไม่มีใครมามองเมนบอร์ดระดับเริ่มต้นอย่าง AMD A520 แน่นอน
Model Name |
Support PCIe 4.0 with 3rd Gen AMD Ryzen™ processors |
PCIe 3.0 only |
TUF GAMING A520M-PLUS |
BIOS 0305 (ver.1.0) |
BIOS 0805 (ver.2.0) |
PRIME A520M-A |
BIOS 0305 (ver.1.0) |
BIOS 0805 (ver.2.0) |
PRIME A520M-E |
BIOS 0403 (ver.1.0) |
BIOS 0805 (ver.2.0) |
PRIME A520M-K |
BIOS 0403 (ver.1.0) |
BIOS 0805 (ver.2.0) |
แต่ทาง ASUS ก็ใจดีครับ ที่ปล่อยให้เมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD A520 รองรับการใช้งาน PCIe 4.0 เมื่อใช้งานร่วมกับ AMD Ryzen 3000 Series กันเมนบอร์ดไบออสในเวอร์ชั่นเริ่มต้น ถือว่าเป็นกำไรของผู้ใช้งานกันไป คือห้ามอัพเดท Bios เกินเลยจากเวอร์ชั่นที่ระบุเอาไว้ ถ้าอัพเดทไบออสเวอร์ชั่นใหม่แล้ว อาจะจะไม่สามารถ Flash Bios ที่รองรับ PCIe 4.0 ในเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD A520 ได้ สำหรับรายละเอียดของโมเดล และ เวอร์ชั่นของไบออสที่รองรับ PCIe 4.0 ผมได้ทำการคัดลอกข้อมูลมาจากไฟล์ที่ทาง ASUS ประเทศไทยนั้นส่งมาให้ แบบไม่มีการพิมพ์อะไรเพิ่ม เพื่อป้องกันความผิดพลาดของข้อมูล
Package & Bundled
แพคเกจสีสันดูโดดเด่นสะดุดตาด้วยสีดำในแบบฉบับของ Prime Series ของในชุดที่จะมีคู่มือ, สาย SATA และ น็อต M.2
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตัดกับลายสีขาวบน PCB การจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดที่โล่งไปบ้างตามระดับการทำตลาด คุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ก็อยู่ในมาตรฐานของ ASUS Prime Series
จาก PCB สีดำผิวเงา เป็นขนาด Micro ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาดีตามสไตล์ของ ASUS
ซีพียูที่รองรับนั้น Socket AM4 Ryzen 4000G Series กับ 3rd GEN AMD Ryzen ยกเว้น 3200G และ 3400G ที่จะไม่รองรับ ภาคจ่ายไฟมาแบบ 6 หรือ 4+1+1 เฟส ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกับสายโหดนักโอเวอร์คล็อกอะไร ด้วยภาคจ่ายไฟไม่มีฮีทซิงค์ระบายความร้อนอะไร เนื่องจากมันคือเมนบอร์ดระดับเริ่มต้น
สล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นแบบมาตรฐาน โดยเมโมรีที่รองรับนั้นเป็นชนิด DDR4 ตามมาตรฐานของ Socket AM4 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 64GB ความเร็วที่รองรับสูงสุด 4600+ Mhz รองรับการโอเวอร์คล็อกเพียงแค่เมโมรี ไม่ได้รองรับการโอเวอร์คล็อกซีพียูแต่อย่างใด โดยส่วนตัวมองว่ามันลงตัวดีเหมือนกัน
สล๊อต PCI-Express x16 3.0 หนึ่งสล็อต สุดท้ายกับ PCI Express 3.0 x1 สองสล็อต ในส่วน M.2 จำนวน 1 สล๊อต ที่รองรับการติดตั้งสูงสุด 2280 รองรับ SSD PCI-e สูงสุด 3.0 x4 SATA III 6Gb/s ไม่มีฮีทซิงค์ระบายความร้อน SSD มาให้
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดสี่พอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพเซ็ต AMD A520 ไม่รองรับการเชื่อมต่อ RAID ใดๆ ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีเทาขนาดน่ารัก ทำรับหน้าที่ระบายความร้อนชิพเซ็ต AMD A520
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 3.2 Gen 1
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ USB 2.0 และ Com Port
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดด้วยชิพ ALC887 จาก Reaktek พร้อมกับการใช้คาปาซิเตอร์ใช้เกรดเครื่องเสียง ที่ยังมีการออกแบบในจุดอื่นๆในด้านเพื่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
Back Panal I/O Ports
< < < Specifications > > >
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดใช้ชิพ ALC887 จาก Realtek ทางด้านเครือข่ายแบบด้วยการเชื่อมต่อด้วยสายแลน Gigabit ใช้ชิพ RTL8111H จาก Realtek
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 7 PRO 4750G
- VGA : ASUS GeForce RTX 2060 Turbo
- Memory : G.Skill Trident Z Royal F4-4000C17D-16GTRSB
- CPU Cooler : Wraith Prism with RGB LED
- SSD : Intel SSD 600P 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
ASUS PRIME A520M-K เมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD A520 ระดับเริ่มต้นในยุคของ 3rd GEN AMD Ryzen ด้วยความเป็นเมนบอร์ดระดับเริ่มต้น ที่เราคงจะได้เห็นกันแล้วว่าการใช้งานของตัวเมนบอร์ดที่จะมาแบบพื้นฐานในยุค 2020 ไม่ได้เน้นกับความอลังการของฟีเจอร์และอุปกรณ์บนตัวเมนบอร์ด ซึ่งด้วยชิพเซ็ต AMD A520 ที่เข้ามาทำตลาดแทน AMD A320 ในระดับเริ่มต้น ที่ทางด้านของตัวฟีเจอร์นั้นไม่ได้แตกต่างกันมากนัก รวมไปถึงการไม่รองรับการโอเวอร์คล็อกซีพียู แต่ก็ยังดีที่ชิพเซ็ต AMD A520 นั้นรองรับการโอเวอร์คล็อกเมโมรีหรือแรม ถ้าเป็นการใช้งานพื้นฐานนั้นถือว่าลงตัวกำลังดี ในแง่มุมของประสิทธิภาพที่จากการทดสอบร่วมกับ AMD Ryzen 7 Pro 4750G ด้วยไบออสยังไม่มี Micro Code รองรับ เพราะในไบออสและ CPU-z ยังแสดงผลโมเดลไม่ตรง แต่ประสิทธิภาพที่ออกมาได้จากการทดสอบโดยส่วนตัวถือว่ามันทำได้อย่างน่าพอใจ เพราะจากที่ผมได้ทดสอบวันเดียวกับเมนบอร์ด AMD B550 แต่กลับกลายเป็นว่า ASUS PRIME A520M-K นั้นมีผลการการทดสอบคะแนนออกมาดีกว่ากันเสียอีก เรียกได้ว่าเมนบอร์ดตัวนี้เป็นอีกความน่าสนใจของการเลือกใช้งานร่วมกับ 3rd GEN AMD Ryzen ในงบประมาณไม่สูงมาก ไม่ได้เน้นการเค้นประสิทธิภาพของซีพียู ลงตัวทุกการใช้งานของคอมพิวเตอร์ราคาระดับเริ่มต้น แล้วทาง ASUS ก็ใจดีปล่อยให้เมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD A520 รองรับเทคโนโลยี PCIe 4.0 เมื่อใช้งาน AMD Ryzen 3000 Series ในไบออสเวอร์ชั่นเริ่มต้น สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.