สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากที่เราได้เห็นประสิทธิภาพความแรงของ 12th Gen Intel Core กันไปแล้ว แน่นอนว่าหลายคนนั้นอยากสัมผัสการใช้งานของ Mega-Tasking ที่เป็นการใช้งานของคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ คาดว่ามันคงจะเป็นมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ในยุคอนาคตเร็ววันนี้ เหมือนกับซีพียูบนสมาร์ทโฟน ซึ่งการออกเทคโนโลยี ที่ Intel ผลักดันการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใหม่ๆ นั้นต้องย้อนไปที่ Hyper Threading ที่ Intel ได้ผลักดันการใช้งานลักษณะ Mulit-Tasking เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกัน จำได้ว่าสมัยนั้นผมเรียนหนังสืออยู่ ทุบกระปุกและขายนาฬิกาเพื่อเปลี่ยนจาก Pentium 4 ธรรมดา มาเป็น Pentium 4 HT กันเลย เนื่องจากด้วยความอยากลองของใหม่เป็นนิสัย ยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่ Intel นั้นได้ทำการออกแบบซีพียูและเมนบอร์ดให้รองรับเมโมรี 2 ชนิดบนแพลตฟอร์มเดียวกัน อย่างในสมัย Pentium 4 ใหม่ๆ ที่เคยมีการรองรับ RD-RAM และ SD-RAM บนซีพียูเดียวกัน รวมไปถึงยุค 6th Gen Intel Core "Skylake" ที่รองรับแรม DDR3 และ DDR4 จากเมนบอร์ดที่รองรับการติดตั้งทั้งสอง DDR3 หรือ DDR4 และ DDR4 อย่างเดียว โดยในยุคของ 12th Gen Intel Core "Alder Lake" การเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์นั้นจะใช้เมโมรี DDR5 เป็นมาตรฐาน แต่ด้วยความเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ที่ยังคงรองรับแรม DDR4 กันด้วย ซึ่งเมนบอร์ด Intel 600 Series จะมีทางเลือกที่เป็นแรม DDR5 และ DDR4 โดยข้อมูลที่ผมได้จากทีมอินเทลประเทศไทยนั้น จะมีการออกเมนบอร์ดที่รองรับการติดตั้ง DDR5 หรือ DDR4 บนเมนบอร์ดตัวเดียวกัน แต่ได้ข้อมูลว่าเมนบอร์ดที่รองรับแรมทั้งสองชนิดบนเมนบอร์ดเดียวกัน ในการใช้งานร่วมกับ DDR5 ประสิทธิภาพอาจสู้เมนบอร์ดที่รองรับ DDR5 เพียวไม่ได้ โจทย์ในวันนี้ก็ยังคงอยู่กับการทดสอบประสิทธิภาพ 12th Gen Intel Core ในโมเดล Core i5-12600k ในการใช้งานร่วมกับเมโมรี DDR5 และ DDR4 เผื่อใครที่คิดกำลังอัพเกรดไปใช้ 12th Gen Intel Core ที่ต้องการประหยัดงบให้มากที่สุด ใช้งานแรม DDR4 ตัวแรงของเดิม ผมยังคงยึดที่ตั้งกับใครที่มีแรมซิ่ง สามารถใช้งานบัสสูงระดับ 24/7 ได้เสถียรๆ เผื่อจะเอาไปลากบัส 5000 Mhz + ขิงใส่คนใช้ DDR5 ได้
Intel Core i5-12600k
โดยตัวซีพียูในการทดสอบเป็นตัว Sample ที่ทาง Intel ได้ส่งมาให้เราได้ใช้ทดสอบ
Intel® Core™ i5-12600K Processor ที่รองรับการโอเวอร์คล็อก ความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่ 4.9 GHz ไม่มี Turbo Boost Max 3.0 เหมือน Core i9 และ Core i7 มีแกนประมวลผล 10 คอร์ (6 P-Core + 4 E-Core) / 16 เธรด พร้อมกับแคชระดับที่ 3 หรือ Intel Smart Cache ที่ 20MB
เมโมรี DDR5 และ DDR4 ขาสล็อตไม่เหมือนกัน ไม่สามารถติดตั้งร่วมสล็อตกันได้ ของใครของมันนะครับ เวลาซื้อเมนบอร์ดก็ตรวจสอบดีๆ ว่ามันรองรับ DDR4 หรือ DDR5 เลือกให้ถูกต้อง ไม่งั้นเสียเงินหลายต่อ ถึงคืนของได้ก็เสียเวลาครับ
การเลือก DDR4 นอกจากประหยัดค่าแรมแล้ว ถ้าเลือกเมนบอร์ดที่ถูกออกแบบให้สามารถติดต้้งชุดระบายความร้อน LGA1200/115X ได้ก็ประหยัดเงินไปได้อีก ซึ่งเท่าที่เห็นกับเมนบอร์ด ASUS และ ROG ก็ทำมารองรับส่วนนี้ครับ
intel Core i5-12600k ถ้ามองที่ราคา ก็เป็นตัวระดับเริ่มต้นของ 12th Gen Intel Core ถ้าเอาให้ถูกที่สุดคงต้องเป็น intel Core i5-12600KF ที่ไม่มีกราฟฟิกบนซีพียู
DDR4 System Setup
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 16GB DDR4 3600@4000Mhz
- VGA : ASUS Dual Radeon RX6600 XT
- CPU Cooler : ROG Ryujin II 240
- SSD : Kingston NV1 1TB
- PSU : ROG THOR 1200 Watt
- OS : Windows 11 Pro
DDR5 System Setup
- Memory : G.Skill Ripjaws S5 32GB DDR5 5200Mhz
- VGA : ASUS Dual Radeon RX6600 XT
- CPU Cooler : ROG Ryujin II 240
- SSD : Kingston NV1 1TB
- PSU : ROG THOR 1200 Watt
- OS : Windows 11 Pro
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion !
กับการทดสอบซีพียู 12th Gen Intel Core หรือ Alder Lake ในโมเดล Core i5-12600K เปรียบเทียบระหว่างการใช้เมโมรี DDR4 และ DDR5 ซึ่งบรรทัดฐาน DDR4 บ้านผมอาจจะสูงไปสำหรับหลายคน แต่ผมเอาค่าประมาณกลางๆ จากแรม DDR4 ที่ผมเคยได้ทดสอบไปและที่ใช้งานจริงในคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่บ้าน มันสามารถลากปรับเขี่ยๆไประดับ 4000Mhz ได้ไม่ยาก รวมไปถึงก่อนการมาของ DDR5 ที่แรม DDR4 บัสระดับ 4000+ ราคาไม่สูง จับต้องได้ง่าย ถ้าเอาแบบคอมเครื่องที่ผมใช้งานจริงแลัทำงาน ใช้งานที่บัส 4400+ ครับ มันอาจจะดูสูงเกินไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป แค่นี้ 4000 Mhz ก็สูงไปแล้ว แต่การทดสอบที่ใช้แรม DDR5 นั้นเปิดเพียงแค่ XMP 5200 Mhz เท่านั้น จากผลการทดสอบที่ออกมานั้น มันชวนให้ผมรู้สึกงงงวย นอนก็ฝันคิดว่าไม่น่ามีอารมณ์เขียนบทความนี้ขึ้นมาเลย สุดท้ายก็ตั้งสติมามองวิเคราห์กันดีๆ พลังประสิทธิการประมวลผลของซีพียู นั้นยังทำไม่ได้ต่างกัน เรียกได้ว่าแรงแซงปาดกันไปปาดกันมา โดยส่วนตัวถือว่าเสมอกัน แต่ในการใช้งานที่เมมโมรี่แบนวิทมีความสำคัญ ในการใช้งาน DDR5 ก็ยังคงมีความได้เปรียบกว่าพอสมควร ขนาดในการเล่นเกมที่ผมไม่คิดว่าเฟรมเรทเฉลี่ยที่ทำออกมาต่างกันสูงสุด 5 FPS ทั้งที่การ์ดจอและซีพียูตัวเดียวกันเลยนะ แถมทดสอบวันเดียวกัน ในสภาวะแวดล้อมเหมือนกันอีก แต่กลับกันในการใช้งานที่ความหน่วงเวลาในการใช้งานเมมโมรี่ได้ใช้ประโยชน์ DDR4 มีความได้เปรียบกว่า DDR5 นั้นทำออกมาได้ดีจนผมตกใจครับ ไม่คิดว่ามันจะต่างกันแบบนี้ แต่ขอย้ำอีกทีว่าการทดสอบนั้นทำบนพื้นฐานที่ DDR4 ได้รับการโอเวอร์คล็อกมาไกล ถ้าเปรียบเทียบค่ามาตรฐานของผู้ผลิตชิพแรมที่ 2666Mhz ลากมาสู่ 4000 Mhz ส่วนต่างในการเค้นถือว่าสูงอยู่ ใส่กันมาเกือบเต็มกราฟ แต่กลับกัน DDR5 มาตรฐานผู้ผลิตชิพแรมที่ 4800 Mhz ลากมาที่ 5200 Mhz ส่วนต่างนิดเดียวเอง ถ้าเกิดลาก DDR5 ไปที่ระดับ 6600Mhz + พร้อมกับกดทามมิ่งมาที่ CL30 หล่ะ ยังไงอนาคตของ DDR5 ยังไงไปได้ไกล เค้นประสิทธิภาพในการใช้งานจริงได้ดีกว่า DDR4 อย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนการเอาแรม DDR4 ไปขิงความรู้สึกใส่คนใช้ DDR5 คงเป็นอะไรที่ยากพอสมควร เพราะถ้าลากกันระดับบัส 5000+ กับ DDR4 ไปขิงใส่ DDR5 คงเหนื่อย แถมขิงได้กับ DDR5 เปิด XMP ที่บัส 5200 Mhz เท่านั้นแหละครับ ก็ลองตัดสินใจเปรียบเทียบกันดู ถ้ากำลังมองการอัพเกรดมาใช้ 12th Gen Intel Core ว่าจะอยู่ที่ DDR4 ตัวแรง หรือ เปลี่ยนไปใช้ DDR5 ที่ตอนนี้ยังมีทางเลือกของชิพแรมจำกัดอยู่ สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : INTEL (THAILAND)