สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา โดย มอก.2432-2555 หรือ มอก. ปลั๊กพ่วง ได้มีการบังคับใช้กันอย่างเรียบร้อยแล้ว ที่ตามกฎหมายพวกปลั๊กแบบไม่มี มอก. ยังสามารถขายต่อได้จนหมด แต่นี่ปี 2567 ตามหลักการพวกปลั๊กแบบไร้ มอก.2432-2555 ไม่ควรจะมีขายตามท้องตลาด แต่ตราบใดที่ยังมีความต้องการของราคาถูก หรือ ตั้งใจแสร้งว่า มอก.2432-2555 ในราคาจับต้องง่าย มันก็ไม่จบไม่สิ้นหรอกเรื่องปลั๊กพ่วง ทั้งที่ปลั๊กพ่วงที่ได้รับ มอก.2432-2555 ในกลุ่มราคาประหยัดเริ่มต้นที่ร้อยกว่าบาทก็ซื้อได้แล้ว แถมถ้ากดส่วนลดทางออนไลน์เผลอๆราคาพอๆกันกับข้าวจานนึงเลยด้วยซ้ำ ที่วันนี้เราจะสั่งตัวอย่างของปลั๊กพ่วง แสร้งว่ามี มอก.2432-2555 ที่ผมก็สั่งมาลองดูตามตัวอย่างที่เค้าป้ายยามากัน ว่าของเค้าดีมีคุณภาพแค่ไหนครับ
เนื่องจากผมเป็นคนที่หลอนกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านมาก จนถึงขั้นที่เดินไฟเองภายในบ้านเองได้ เนื่องจากสมัยมัธยม ยุคนั้นอินเตอร์เน็ต 36.6 Kbps ราคาต่อชั่วโมงที่แสนแพงมาก แต่ที่บ้านยังใช้ Fax-Modem US Robotics 28.8 Kbps ที่หม้อแปลง US Robotics (ในสมัยนั้นเป็นแบบขดลวดพันที่มีความร้อนสูง น้ำหนักมาก ไม่ได้เป็นสวิทชิ่งน้ำหนักเบาแบบสมัยนี้) มันเกิดอาการซ๊อตยังไงก็จำไม่ได้ เอาเป็นว่าทางซ้ายของภาพ ที่เต้าเสียบ คือร่องรอยการต่อสู้ในวันนั้น ที่เห็นพลาสติกของหม้อแปลงละลายติดมาด้วย ด้วยความผมเป็นเด็กใช้เทปกาวผ้าปิดร่องรอยเอาไว้ ไม่น่าเชื่อที่ปลั๊กพ่วงในสมัยนั้นมีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเดิน แบบ Thermal ด้วย เอาเป็นว่าในสมัยผมเด็ก ยังไม่ทราบว่า Thermal มันคือปุ่มทำหน้าที่อะไร
ปลั๊กพ่วงในยุคนั้นที่โครงสร้างใช้วัสดุที่ไม่สามารถติดไฟ ถ้ามันติดไฟได้ไม่รู้ว่าผมไปอยู่ที่ไหนแล้ว ที่ทุกวันนี้ผมยังเก็บปลั๊กพ่วงตัวนี้ไว้ดูเตือนใจตัวเอง ตอนย้ายบ้านมายัดมันใส่ลังไว้ด้วย

หยิบมือถือแฟนมาดูในยามเช้า เห็นจากกลุ่มป้ายยา ที่เราจะเห็นราคาหลังจากกดสูตรแล้ว เพียง 30 บาท รวมส่ง จากราคาเต็ม 75 บาท ซึ่งเทียบกับปลั๊กพ่วง มอก.2532-2555 แท้ๆ ราคานี้ไม่มีทางซื้อได้ ยิ่งมีเต้าเสียบจำนวนมาก และ USB Charger ผมยอมให้เค้าหลอกละกัน

ในโฆษณาขายที่มีการระบุเอาไว้อย่างเด่นชัด ที่มาตรฐานมี มอก. 2432-2555 ถ้าเป็นคนที่รู้เรื่องก็บอกเลย นี่มัน มอก. ปลอมชัดๆ แต่สำหรับคนไม่รู้เรื่อง ก็คิดว่ามัน มอก. แท้ได้ หรือ กลุ่มแบบไฮบริดถ้าใช้งานไม่หนักพอได้

รายละเอียดการเสนอขายอย่างชัดเจน ยิ่งเจอบางผู้ขาย ใช้ภาษาไทยแบบการจกเงาสะท้อนยังมี

หลังจากได้รับของแล้ว จับมาเป็นนายแบบกันก่อน ที่จากภาพเราไม่เห็น มอก. 2432-2555 ซักที่

จุดเด่นที่มันมีติดเอาไว้ที่ถุงของมัน

เต้ารับตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 เต้ารับแบบ Hybrid ที่รองรับปลั๊กแบบ Type O ,Type A ,Type B และ Type C แต่นี่มันระดับโลกที่รองรับหมด แม้กระมั้งปลั๊กจีนก็ใช้งานได้

ความแตกต่าง ที่รูปเสนอขายมีไฟสถานะการใช้งาน แต่ของที่ได้รับมาไม่มี ซึ่งมี 7 เต้ารับ และ USB Type A อีกสองพอร์ต แต่ลดต้นทุนแบบฝุดๆ ขนาดไฟแสดงสถานะยังเอาออก แต่ในภาพตอนซื้อยังมีอยู่

ทางด้านสายเสียบไม่มี G จับดูแล้วปลอกหนา และ นิ่มดี

ของมันไม่มี มอก. จะให้มันมีรายละเอียดตามมาตรฐานได้อย่างไร ยังดีที่มัเจาะรูแขวนให้ด้วย

พวกบาร์ดูทรงแล้วไม่ได้เป็นทองเหลืองหรือทองแดงอย่างแน่นอน การใช้สายไฟเดินไฟในภาพที่เป็นสายเส้นเล็กนิดเดียว

ถ้าคนผมหนาๆ เส้นผมมันใหญ่กว่าสายไฟ ไปต่อกับกระทะไฟฟ้า หม้ออบลมร้อน หม้อชาบู ขอให้โชคดีครับ ไม่มีอะไรจะพูดให้ดีกว่านี้แล้ว

สายไฟขาเข้าที่เป็นแบบฝอยที่ไม่แน่ใจขนาด คิดว่า 0.75 ละกัน แต่คิดว่าเป็นอลูมิเนียมชุบทองแดงแน่นอน การออกแบบที่ L-N ใช้ปลอกสีเดียวกับ และ สาย G ที่มีแต่ฉนวน สงสัยใส่มาให้ดูสายมันหนา

วงจร USB Charger เมื่อมันใช้งานปกติดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ามีปัญหา ไฟฟ้าความต่างศักย์ 220-230 V มีโอกาสไปถึงมือแน่นอน ที่เคยเห็นกันตามข่าวมาหลายเคส

ตัวบาร์หน้าสัมผัสที่คิดว่าเป็นโลหะชนิดหนึ่งเป็นอลูมิเนียม ไม่ใช่ทองเหลือ และ ทองแดง ไม่หนามาก แล้วมาชุบโครมเมียม ให้ดูดีเหมือนแบบโรเดียม ใช้มือซ้ายบิดเล่นได้
ลองเอาปลั๊กพ่วงแบบแสร้งมี มอก. 2432-2555 มาลองเผาดู

ดูจากการเชื่อมต่อต่างๆ คิดว่ามันไร้คุณภาพมาก แต่มีอีกสิ่งที่สามารถทดสอบให้เห็นชัด คือการเผาครับ ขอเอาสายไฟออกนะครับ เพื่อความสะดวกในการดับไฟ ถ้ามันเกิดการลามไฟขึ้น

ค่อยๆ เอาไฟแช็คมาลน เผามันในหลายๆจุด

พยามจุดจนก๊าซเกือบหมด ต้องหามุมให้ชัดเจนของการโครงสร้างไฟลุกลามได้

ไม่มีวี่แววของการไหม้ คิดว่าอย่างน้อยโครงสร้างมันผสมสารป้องกันไฟลุกลามได้

ลองต่อ กับการใช้เทียนรนเผา ที่จะได้การเผาแบบต่อเนื่องมากขึ้น เนื่องจากก๊าซไฟแช็คผมจะหมดแล้ว

การเผาไหม้ที่เกิดอย่างต่อเนื่อง ตามแรงเทียนที่ยังคงติดอยู่

พอความร้อนถึงระดับ พลาสติกละลายจนเทียนดับไปแล้ว แต่ไฟที่ปลั๊กพ่วงยังไม่มีท่าทีจะดับ แล้วไฟมันติดมากขึ้นด้วย คิดว่ามันผสมสารป้องกันไฟลุกลามน้อยเกินไป ฮ่าๆ
ปลั๊กพ่วงที่ได้รับ มอก.2432-2555 ต้องมี
1. โครงสร้างต้องใช้วัสดุที่ไม่สามารถติดไฟ หรือ ต้องมีสารป้องกันไฟลุกลาม
2. สายไฟที่ใช้ พื้นที่หน้าตัด และ ความยาว ต้องใช้ตามมาตรฐานของที่ สมอ. กำหนดไว้
3. การวางตำแหน่งของขา L G N ต้องเป็นไปตามกำหนดของมาตรฐานของเต้ารับประเทศไทย
4. อุปกรณ์ส่วนอื่นๆที่ใช้ภายใน ควรต้องใช้ที่ผ่าน มอก. ด้วยเช่นกัน
5. เต้ารับแบบ Hybrid ที่รองรับปลั๊กแบบ Type O ,Type A ,Type B และ Type C แล้วก็ต้องมีม่านป้องกัน มาตรฐาน มอก.166-2549
6. เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องเสียบได้พอดี ไม่แน่นและไม่หลวมเกินไป
7. ถ้า 3 เต้ารับขึ้นไปต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเดิน แบบ RCBO หรือ Thermal
Conclusion
เป็นการนำตัวอย่างของปลั๊กพ่วง แสร้งว่ามี มอก.2432-2555 ตามตัวอย่างที่เค้าป้ายยามา ซึ่งมันไม่ได้รับเครื่องหมาย มอก.2432-2555 จริง คุณภาพมันตามราคา อยากเอาชีวิตไปฝากกับปลั๊กพ่วงแบบนี้ ลองคิด วิเคราห๋ แยกแยะ ว่ามันคุ้มแค่ไหนกัน เพิ่มอีกไม่กี่บาทก็ได้ของที่ มอก. แท้ๆ แต่ถ้ามองกันที่ราคาอีกอาจไปต้องหลุมเข้าที่ปลั๊กพ่วง มอก.2432-2555 เหมือนแท้ จะซื้ออะไร ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วย สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ