สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ช่วงนี้ก็คงจะทราบกับกระแสความร้อนแรงไม่พอ แล้วยังหาซื้อได้ไม่ง่ายนักกับซีพียู Intel's Generation 9 Intel Core ซีพียูอันทรงพลังในยุคปี 2019 ก็มีมีทางเลือกของเมนบอร์ดชิพ Intel Z390 มากมายหลากหลายเทางเลือก ที่วันนี้ผมจะพามาพบกับเมนบอร์ดที่เป็นส่วนผสมกับเกมมิ่ง รวมไปถึงสายโหดนักโอเวอร์คล็อก กับ ROG MAXIMUS XI APEX หรือ M11A เป็นเกมมิ่งเมนบอร์ดหรือเมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ที่เพิ่งจะมีวางตลาดในบ้านเราเมื่อไม่นานมานี้ โดยส่วนตัวผมนั้น M11A มันเป็นความรู้สึกที่ลงตัว เพราะความอัดแน่นของฟีเจอร์ในการใช้งานถือว่าเต็มที่ โดยยังมาพร้อมกับความโหดในตัวเดียวกัน
Package & Bundled
แพคเกจที่ดูดุดันเป็นธีมหลักด้วยสีดำแดงตามสไตล์ของเมนบอร์ด ROG ภายใต้ร่มเงาของ ASUS โดยของในชุดจะมีมีรายการตามด้านล่าง
- User's manual
1 x ROG logo plate sticker
4 x SATA 6Gb/s cable(s)
1 x M.2 Screw Package
1 x Supporting DVD
1 x ASUS 2T2R dual band Wi-Fi moving antennas (Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac compliant)
1 x Q-Connector
2 x ROG weave SATA 6G cable
1 x ROG Thank you card
1 x ROG DIMM.2
1 x SLI HB Bridge
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตัดเทาในสไตล์ของเมนบอร์ด MAXIMUS ยุค 2018-2019 การจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดถือว่าลงตัวกับการใช้งานจริงและการโอเวอร์คล็อก ทางด้านอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้บนเมนบอร์ดคุณภาพดีมากกับเมนบอร์ดระดับนี้
จาก PCB สีดำผิวด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำได้ดี เราจะเห็นได้ว่ามีการวางอุปกรณ์ในใต้เมนบอร์ดเพิ่มเติม
ซีพียูที่รองรับนั้น หลักๆถ้าพูดสั้นๆง่ายๆ Socket LGA1151 V2 กับ 8th Gen หรือ 9th Gen แต่ด้วยความสุดก็คงต้องเป็น CPU "K" Model เพื่อความสุดในการเค้นประสิทธิภาพ ภาคจ่ายไฟที่มาจัดเต็มทั้งหมด 16 เฟส ด้วยการใช้อุปกรณ์คุณภาพดูดีคุณภาพสูง พร้อมกับการพกพาฮีทซิงค์ผนวกท่อฮีทไปท์ เพื่อการระบายความร้อนภาคจ่ายไฟให้มีเสถียรภาพในการใช้งาน แม้จะลากซีพียูกันอย่างโหดร้าย
I/O Cover ที่บ่งบอกความเป็นเกมมิ่งเมนบอร์ด ที่ช่วยเพิ่มความสวยงาม และ บ่งบอกความเป็น MAXIMUS IX APEX อย่างชัดเจน
สล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นชนิด DDR4 ตามมาตรฐานของ LGA1151 V2 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 64GB ด้วยการใช้เมโมรีแบบ Double Capcity ที่จะมีแบรนด์ G.Skill และ ZDARK แต่การใช้แรมแบบปกติจะได้ความจุสูงสุด 32 GB ทางด้านความเร็วที่รองรับสูงสุด 4800 Mhz ทางด้านสล็อต DIMM.2 ที่จะรองรับการติดตั้ง SSD M.2 NVME ได้อีก 2 สล็อต
จากในภาพเป็น G.Skill TridentZ RGB DC ที่ความจุ 64GB ในชุด 2 แผง
ROG DIMM.2 ที่รองรับการติดตั้ง SSD M.2 PCI-e x4 / SATA III ได้ 1 ตัว และ PCI-e x4 1 ตัว ที่จะวิ่งผ่าน Z390 พร้อมกับฮีทซิงค์ระบายความร้อน SSD อีกด้วย ซึ่งเมนบอร์ดตัวนี้จะไม่มีพื้นที่ติดตั้ง SSD บนเมนบอร์ด จะต้องติดตั้งบน ROG DIMM.2 เท่านั้น
ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีเทาดำรับหน้าที่ระบายความร้อนชิพ Z390 รูปทรงดูสวยงาม พร้อมโลโก้บ่งบอกความเป็น ROG ที่ยังมาพร้อมกับลวดลายอันสวยงาม
ในจุดนี้ใส่มาเพื่อความสวยงาม แต่ยังสามารถตบแต่งลวดลายเพิ่มเติมเพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตนของเจ้าของเครื่อง
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดหกพอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพ z390 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0 ,1 ,5 และ 10
สล๊อต PCI-Express x16 3.0 สองสล็อตแบบ Safe Slot ที่ออกแบบมารองรับกับการติดตั้งกราฟฟิกการ์ดที่มีน้ำหนักได้ วิ่งกันแบบ x16 หรือ x8+x8 นอกจากนั้นก็จะมี PCI-e x16 วิ่งที่ x4 รองรับการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด NVIDIA SLI 2-Way หรือ AMD CrossFireX 3-Way แล้วก็ยังมี PCI-e x1 มาให้ได้ใช้งานอีก 1
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 2.0 , USB 3.1 Gen 1 และ LED RGB ส่วนฟีเจอร์การใช้งานแบบ ROG กับ NODE รองรับการเชื่อมต่อกับเคสที่รองรับฟีเจอร์นี้ ส่วนในการใช้งานสายโหด ที่จะมาพร้อมรองรับการป้อนไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายสู่ PCI-e ใครเล่นน้ำ โมไฟ แล้วเอาไปเครม ก็น่าจะถูกใจ
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ USB 3.0 หรือ USB 3.1 Gen1 และ USB 3.1 หรือ USB 3.1 Gen2
ในการใช้งานส่วนนี้ที่มากันอย่างจัดเต็มด้วย Safe Boot, Retry Button ,Reset ,Power ,จุดวัดไฟเลี้ยง ,LN2 Mode ,Q-LED ,Bebug Code ,MemOK! II และ จุดเชื่อมต่อ LED RGB
M11A มาพร้อมกับ Dual Bios ในส่วนการใช้งาน RSVD Mode ,LN2 Mode และ Slow Mode จะมาอยู่ในส่วนนี้ ใครจะเล่นชุดระบายความร้อนชุดใหญ่นั้นก็รองรับอย่างจัดเต็ม เพราะรองรับการเชื่อมต่อพัดลม ปั๊มน้ำ จุดวัดความร้อนน้ำ และ อัตราการไหลเวียนของน้ำ จบที่จุดนี้
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ด SupremeFX ด้วยชิพ S1220A เบอร์สั่งผลิตพิเศษจาก Realtek รองรับระบบเสียงรอบทิศทางแบบอนาล็อก แล้วมีการใช้คาปาซิเตอร์ Nichicon ในเกรดเครื่องเสียง พร้อมกับฟีเจอร์ระบบเสียงช่วยเสริมการเล่นเกมให้ดีขึ้น
Back Panal I/O Ports
1 X PS/2 Mouse
1 X PS/2 Keyboard
1 x Clear CMOS Button
1 X ฺBIOS Flash Back
1 X HDMI
2 x Antenna Ports
1 x LAN (RJ45) Gigabit Ethernet
6 x Type-A USB 3.1 Gen1 - USB 3.0
3 x Type-A USB 3.1 Gen2 - USB 3.1
1 x Type-C USB 3.1 Gen2 - USB 3.1
1 x 7.1-channel Audio
1 x Optical SPDIF
< < < Specifications > > >
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดใช้ชิพ S1220A สเปคสั่งผลิตพิเศษจาก Reaktek ทางด้านเครือข่ายแบบด้วยการเชื่อมต่อสายแลนใช้ชิพ Intel i219
การเชื่อมต่อไร้สายก็ไม่ธรรมดา ด้วยมาตรฐาน Wireless AC 1733 และ Bluetooth 5.0 ครบเครื่องมาก
System Setup
ในการทดสอบนั้นมีการปรับเพียงความเร็วของแรมมาที่ 4100 Mhz ส่วนไฟเลี้ยงและปรับคอนฟิกแรมพอหอมปากหอมคอ
การโอเวอร์คล็อกที่เหมือนไม่ได้โอเวอร์คล็อก เพียงแค่จับขึงความเร็วที่ 5 Ghz ก็เหนื่อยแล้วกับ 9900k
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : Intel Core i9 9900k
- VGA : NVIDIA GeForce RTX2080Ti FE
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 3600 Mhz 16GB Dual Channles Kits
- CPU Cooler : Gamer Storm CAPTAIN 240EX
- SSD : OCZ Trion 150 240GB
- PSU : FSP 1000 Watt
- OS : Windows 10 Pro
บรรยากาศขณะการทดสอบ
แสงสี ที่สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้
รองรับการปรับแต่งได้จากฟีเจอร์ AURA SYNC
การปรับแต่งแสงสี สามารถรวบปรับได้จากอุปกรณ์ที่รองรับ AURA SYNC ได้พร้อมกัน
Performance Test
Conclusion !
ROG MAXIMUS XI APEX หรือ M11A กับเกมมิ่งเมนบอร์ดชิพเซ็ต Intel z390 ที่จัดได้ว่าไม่เป็นสองรองใครกับสายเค้นประสิทธิภาพ เพราะตั้งแต่เปิดตัวเป็นวันแรกที่ M11A ก็สามารถกวาดรางวัลสถิติโลกกันมาอย่างนับไม่ถ้วน ที่มันได้ยัดเยียดความโหดในระดับ Extreme ในราคาที่จับต้องได้ง่ายมากขึ้นเมื่อเทียบกับ ROG MAXIMUS XI EXTREME ส่วนทางด้านประสิทธิภาพนั้นที่ ROG MAXIMUS XI APEX ที่จัดได้ประสิทธิภาพที่ทำออกมาได้ จัดได้ว่าทำออกมาได้ดี รองรับการเค้นประสิทธิภาพของระบบได้เป็นอย่างดี ถ้าจะเค้นประสิทธิภาพ ลากเอาแบบที่สุดในซอย ก็ต้องอาศัยการปรับแต่งที่ละเอียดมากขึ้น ซึ่งในการทดสอบของผมใช้เวลาจูนประมาณ 1 นาทีเท่านั้น ปรับแต่ค่าสำคัญเพื่อให้ทดสอบออกมาได้ ถ้าปรับกันดีๆ ประสิทธิภาพที่ย่อมออกมาได้ดีกว่านี้ ROG MAXIMUS XI APEX ที่อัดแน่นมาพร้อมกับฟีเจอร์และการเชื่อมต่อที่ทำออกมาได้อย่างครบเครื่อง ด้วยหน้าตาและฟีเจอร์ในแบบฉบับของ ROG ในระดับราคาหมื่นต้นๆ โดยส่วนตัวที่ผมไม่ค่อยถูกใจนักกับ ROG MAXIMUS XI APEX เพราะมันไม่มีการตัด PCB เพื่อให้มีความแตกต่างเหมือนกับ APEX ในยุคก่อนหน้า ROG MAXIMUS XI APEX สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.