สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน ถ้าเราพูดถึงกระแสอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ตอนนี้ที่ WIFI 7 แล้วในปี 2025 ที่ WiFi 7 มีราคาจับต้องได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงในโมเดลระดับไฮเอนด์ที่มีความสามารถมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อาจจะเป็นเพราะการใช้งาน WiFi 7 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่ในยุค Windows 11 ก่อนหน้านี้ที่ต้องไปใช้เวอร์ชั่น Insider ที่วันนี้เราจะมาลอง ASUS ZenWiFi BT10 ระบบ WiFi 7 แบบ Tri-band (802.11be) ความเร็ว BE18000 (802.11be) Mesh รองรับ SSID ของ Smart Home Master สำหรับ IoT แยกออกมา พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดย ASUS ZenWiFi BT10 ที่เรามารีวิวในวันนี้เป็น แพ็ค 2 ชิ้น ครอบคลุมพื้นที่สูงสุด 6,000 ตารางฟุต ที่มี AiMesh ขั้นสูงสุดที่ขับเคลื่อนโดย AI รองรับเชื่อมต่อแบ็คฮอลที่แข็งแกร่ง ทำให้การเชื่อมต่อที่ราบรื่นสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมด และเครือข่ายทั้งบ้าน ที่มีคุณสมบัติครบครัน รองรับ ซึ่งสามารถขยายขนาดเครือข่ายได้อย่างง่ายดายด้วยเราเตอร์ ASUS ทุกตัวที่รองรับ AiMesh ซึ่ง ASUS ZenWiFi BT10 มีการเชื่อมต่ออีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิต พร้อมพอร์ต WAN และ LAN 10 G คู่ และ Multi-WAN รวมถึงการเชื่อมต่อผ่านมือถือ 4G LTE และ 5G ผ่าน USB ในการใช้งานด้วย
Package & Bundled
แพ็คเกจที่มาในสไตล์ยุคใหม่ของด้วยกล่องโทนน้ำเงิน ในสไตล์ ASUS ด้านหน้ามีการบอกรายระเอียดของ ASUS ZenWiFi BT10 อย่างเด่นชัด
ในชุดจะมีคู่มือการใช้งาน ,สายแลน ,พาวเวอร์ซัพพลาย และ สาย AC ปลั๊กรูปแบบต่างๆ
Design & Detail
อย่างที่เราทราบ ASUS ZenWiFi BT10 วันนี้เป็นแบบแพ็คคู่ จะมีสองตัว
ASUS ZenWiFi BT10 เป็นบอดีสีขาว การออกแบบที่เป็นการวางในแนวตั้ง มีโลโก้ ASUS อยู่ด้านล่าง พร้อมจุดแถบไฟสถานะ 1 จุด ซึ่งภายในมีเสาอากาศภายใน 8 เสาและโมดูลฟรอนต์เอนด์กำลังสูง 10 ตัว การออกแบบช่วยลดจุดอับสัญญาณ WiFi ให้การกระจายสัญญาณได้ครอบคลุมที่สม่ำเสมอในทุกทิศทาง การกระจายความร้อนที่มีประสิทธิภาพยังช่วยรักษาการทำงานที่เย็นและเงียบเพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นและความน่าเชื่อ ด้วยฮีทซิงค์และนาโนคาร์บอน มี RAM 2 GB รองรับการสตรีม 8K และ การเล่นเกม HDR ที่ ASUS ZenWiFi BT10 ใช้ Ai เข้ามาปรับปรุงประสบการณ์ในการใช้งานครับ อีกทั้ง ZenWiFi BT10 ปกป้องบ้านอัจฉริยะและเชื่อมต่อครบวงจรด้วยการผสมผสานอันทรงพลังของโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์และศูนย์ข้อมูล AI/ML บนคลาวด์แบบเรียลไทม์โดย Trend Micro ที่ยังมี AiProtection Pro มาพร้อมเครื่องมือสำหรับการวินิจฉัยสถานะของเครือข่าย ปรับแต่งการตั้งค่า และรับการแจ้งเตือนขณะเดินทาง คอยระวังและปลอดภัยแม้ว่าจะไม่อยู่บ้านก็ตาม
ด้านข้างของตัวเครื่องมีช่องระบายความร้อนรอบตัว รายบละเอียดการเชื่อมต่อ รวมไปถึงด้านล่างก็จะมาพร้อมกับช่องระบายอากาศอย่างเต็มที่ มีปุ่มรีเซ็ตและ WPS มาให้ใช้งาน
จุดเชื่อมต่อพาวเวอร์ซัพพลาย ,ปุ่มพาวเวอร์ ,พอร์ต USB Super Speed ,RJ45 Gigabit Ethernet Wan/LAN , RJ45 10GB Ethernet Wan/LAN และ RJ45 10GB Ethernet LAN สามารถทำทีมมิ่งรวมอินเตอร์เน็ตสองเส้นได้
ด้วยบนมีช่องระบายอากาศพร้อมกับโลโก้ ASUS ZenWiFi
สันด้านหน้าที่จะมีโลโก้ ASUS ในยุคใหม่ ที่คล้ายรูปดาว
Setup
การออกแบบมีรูปทรงสูง เนื่องจากการออกแบบภายในเพื่อการระบายความร้อนภายในขณะการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไฟ LED สีที่แสดงถึงสถานะของระบบ
การเซ็ตนั้นสามารถทำผ่าน App หรือ Web Browser ได้ตามความสะดวก หลังจากทำผ่าน Web Browser มานาน ลองเปลี่ยนมาใช้มือถือดูบ้าง ทำการติดตั้ง ASUS Router ได้เลย
เลือกตระกูลของเราเตอร์ให้ถูกต้อง หลังจากนั้นทำการเชื่อมต่อ SSID ของเราเตอร์
สร้างเครือข่ายของเรา ซึ่งสามารถรวบ SSID เดียวกัน ถ้าต้องการใช้งานฟีเจอร์ MLO หรือ แยก SSID เป็น 3 ความถี่ 2.4 ,5 และ 6 GHz ได้ ซึ่งใครที่มองไม่เห็น 6 GHz ไม่ต้องแปลกใจ เพราะลูกข่ายไม่รองรับนั้นเอง
การเช็ตอัพที่ทำได้ง่ายมาก ถ้าเทียบกับเราเตอร์ในหลายปีที่ผ่านมา
ให้เราเตรียมพร้อมกับการเชื่อต่อกับ SSID ใหม่
หน้าจากที่เราได้เชื่อมต่อ SSID ใหม่ ระบบได้ทำได้จัดเตรียมตามความเหมาะสม
เข้ามาที่หน้าหลังของตัวแอแ ASUS ZenWiFi BT10 ตัวที่สอง เราไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงแค่เสียบปลั๊กตอนเซตอัพ มันจะทำการเชื่อมต่อให้พร้อมใช้งาน หน้าสถาะที่ระหว่าง ASUS ZenWiFi BT10 เชื่อมต่อกันในมาตรฐาน MLO ที่ครอบคลุม การทำงานแบบมัลติลิงก์ (MLO) ช่วยให้เชื่อมต่อได้โดยไม่มีบัฟเฟอร์โดยการรวมและสลับระหว่างแบนด์ 2.4 GHz, 5 GHz และ 6 GHz ที่เราสามารถคั้งค่าให้เหมาะกับการใช้งานของเรา
สถานะการทำงานของเครือข่าย
สถานะการทำงานของระบบ
การปรับโปรไฟล์ให้เหมาะสมตามรูปแบบการใช้งาน
Config
มาถึงการเข้าไปจัดการการทำงานของระบบกันต่อ ซึ่งควรที่จะต้องเข้าไปทำ เพราะการเซ็ตอัพเบื้องต้นมันยังไม่สามารถปลดปล่อยประสิทธิภาพ เข้าไปที่ url router.asus.com ถ้าต้องการ แต่ยุคนี้ที่รองรับการทำผ่านแอปกันแล้ว
ยังมีข้อดีที่ ASUS ในปี 2025 ยังไม่ทิ้งส่วนนี้ออกไป
การปรับแต่งต่างๆ ที่ยังสามารถทำได้เช่นเดิม
MLO ที่รองรับการใช้งานเต็มรูปแบบ
มาถึงการปรับแต่งจากแอป ที่สามารถทำได้ละเอียดดีมาก
ฟีเจอร์ AiProtection ที่สามรถป้องกันการใช้งาน
การตรวจสอบสถานะการทำงานของระบบ
การตรวจสถานะการทำงานที่ทำออกมาได้ละเอียดดีมาก
การจัดการบล๊อกลูกข่ายที่แปลกปลอม และการจะการความเร็วนเตอร์เน็ต
การจัดพอร์ต USB และ รูปแบบการใช้งานไวไฟ
การแชร์ไวไฟ และ การจัดการเครือข่าย
การเช็ตอัพ SSID ทั่งแบบชื่อเดียว หรือ แยกออกเป็น 3 ความถี่
การเปิดใช้งาน MLO รวมไปถึงการใช้งานทั้ง 3 ความถี่ การเชื่อต่อ WAN ที่รองรับ DUAL WAN ,DDNS , Port Forwarding แล้วยังสามารถใช้ USB 4G/5G ที่ต่อการมือได้ถือ
การใช้งาน Dual Wan ที่ไม่ใช่เรื่ิองยุ่งยาก
VPN ที่มีมาให้ใช้งานง่ายๆ รวมไปถึง VPN Fusion
การตรวจสอบสถานของเราเตอร์ ที่บอกมาได้ละเอียดดีมาก
การอัพเดท Firmware ที่สามรถแยกกันทำได้ ในการณีที่ใช้ต่างรุ่น ต่างโมเดลกัน ก็สามารถจัดได้ที่หน้านี้
การตรวจสอบสถานะการทำงาน ,การปรับโหมดรูปแบบต่างๆ และ การการแจ้งเตือบ ในการแอบใช้อินเตอร์เน็ตจะมีการแจ้งเตือนทันที ที่ตรวจเช็คได้สะดวกดี
การตรวจสอบสถานและการเชื่อมต่อในเครือข่าย ที่ตรวจเช็คได้สะดวกดี
คำอธิบายของสีไฟสถานะ และ การตั้งโลเคชั่นการใช้งาน
การตรวจสอบสถานและการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือในเครือข่าย ที่ตรวจเช็คได้สะดวกดี
ลองความแรงกัน
การลองความแรงในเครือข่าย ที่ในการทดสอบจะใช้ความถี่ 6Ghz
ในเป็นจุดที่ดีความถี่ 6Ghz สามารถทำความเร็วได้ดี แต่ในระยะไกลจะสู้ 5Ghz และ 2.4Ghz ไม่ได้ ซึ่งการใช้ ASUS ZenWiFi BT10 หรือ AiMesh เราสามารถหาในจุดที่เรายอมรับได้ ในระยะความห่าง 20 เมตร สำหรับผมถือว่ายอมรับได้ ถ้าตั้ง ASUS ZenWiFi BT10 ตัวที่สอง หรือ AiMesh เพิ่มก็อาจใช้ระยะนี้ครับ
ASUS ZenWiFi BT10 ตัวที่สอง ช่วยเพิ่มการใช้งานที่ดีมากขึ้น
อินเตอร์เน็ตสองสาย
การทดสอบ Dual Wan เราได้ใช้ 3BB แพ็คเกจ 1000/300 ทั้งสองเส้น โดยเส้นที่สองผมต่อสายแลนมาจากบ้านข้างกันครับ
การทดสอบ ต่อแบบ Dual Wan
Conclusion
ASUS ZenWiFi BT10 อีกหนึ่งความน่าสนใจของ Router ในมาตรฐานของ WIFI 7 แบบ Tri-band (802.11be) ด้วยความเร็วที่สูงถึง 18 Gbps (BE18000 หรือ 802.11be) ที่เป็น Mesh WiFi ครอบคลุมพื้นที่สูงสุด 6,000 ตารางฟุต รองรับ AiMesh สามารถขยายพื้นที่การใช้งานด้วย ASUS Router รุ่นอะไรก็ได้ ที่รองรับการใช้งาน AiMesh รองรับการเชื่อมต่อต่อแบ็คฮอลด้วยมาตรฐาน MLO ที่ครอบคลุมการทำงานแบบมัลติลิงก์ (MLO) ช่วยให้เชื่อมต่อได้โดยไม่มีบัฟเฟอร์ และสลับระหว่างแบนด์ 2.4 GHz, 5 GHz และ 6 GHz หรือ ถ้าไร้สายที่ติดขัดการใช้งาน ที่ยังสามารถต่อแบ็คฮอลด้วยสายแลนความเร็ว 10 Gbps ที่ ASUS ZenWiFi BT10 รองรับกับอุปกรณ์ WiFi 7 ทั้งหมด ไม่ว่าจะใช้โหมด MLO หรือ ดั่งเดิม ขึ้นอยู้กับการเซ็ตระบบ รวมถึงการใช้งานลูกข่ายมาตรฐาน WiFi 6e ,6 ,5 หรือ 4 ได้อย่างไม่มีปัญหา รองรับการใช้งาน SSID แยกออกมาสำหรับอุปกรณ์ IoT การใช้งานไร้สายที่มาตรฐานการเชื่อมต่อ 6Ghz ที่ ASUS ZenWiFi BT10 สามารถมอบการใช้งานที่ระดับ 3500 Mbps ถือว่ามันเป็นความเร็วที่แรงนรกแตกในยุค 2025 รวมถึงสามารถรวมการใช้งานอินเตอร์เน็ตสองเส้น ที่เพิ่มการใช้งานให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรวมพลัง หรือ การใช้ 2 ผู้ให้บริการ ที่ ASUS ZenWiFi BT10 ตัวเล็ก แต่การใช้งานใหญ่มาก โดย ASUS ZenWiFi BT10 ที่ 2 ตัว ครอบคลุมพื้นที่สูงสุด 6,000 ตร.ฟุต 6+ ห้อง และ 1 ตัว การครอบคลุมพื้นที่สูงสุด 3,000 ตร.ฟุต 4+ ห้อง ในงบประมาณ 2x,xxx บาท การเชื่อมต่อมากันครบ ในแง่การใช้งานต่างๆ ASUS นั้นได้ใส่ฟีเจอร์ครบเครื่องความปลอดภัย สำหรับประสิทธิภาพทางด้านเครือข่ายไร้สายกับการใช้งาน ASUS ZenWiFi BT10 โดยภาพรวมนั้นด้วยมาตรฐานของ WiFi 7 ที่ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตทางด้านการใช้งาน ,ทำงาน ,เล่นเกม และ สตรีมมิ่งระดับ 8K การใช้งานอินเตอร์เน็ตที่สามารถทำออกมาได้ขึ้นกับงบประมานที่จ่ายรายเดือนไหว การกระจายสัญญานไร้สายที่ ASUS ZenWiFi BT10 ทำออกมาได้ดีมาก ถึงไม่มีเสาภายนอก ในแง่พื้นที่การใช้งานเดียวกัน มีลูกข่ายจำนวนมากใช้งานพร้อมกัน ASUS ZenWiFi BT10 สามารถรับมือการใช้งานได้สบาย นับว่าเป็นอีกหนึ่งความลงของเราเตอร์ ฟีเจอร์ครบเครื่อง ในมาตรฐาน WiFi 7 สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.