สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา โดย มอก. 2432-2555 หรือ มอก. ปลั๊กราง ได้มีการบังคับใช้กันอย่างเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าของที่ผ่านการใช้งานมา รวมไปถึงของใหม่แกะห่อย่อมเกิดความผิดผลาดกันได้ ซึ่งวันนี้อาจเป็นตอนสุดท้ายที่เขียนเกี่ยวกับปลั๊กรางที่มี มอก. 2432-2555 หรือ TIS. 2432-2555 แต่บางทีก็เกิดความผิดพลาดกันได้
ปลั๊กรางที่ได้รับ มอก. 2432-2555 ต้องมี
1. โครงสร้างต้องใช้วัสดุที่ไม่สามารถติดไฟ หรือ ต้องมีสารป้องกันไฟลุกลาม
2. สายไฟที่ใช้ พื้นที่หน้าตัด และ ความยาว ต้องใช้ตามมาตรฐานของที่ สมอ. กำหนดไว้
3. การวางตำแหน่งของขา L G N ต้องเป็นไปตามกำหนดของมาตรฐานของเต้ารับประเทศไทย
4. อุปกรณ์ส่วนอื่นๆที่ใช้ภายใน ควรต้องใช้ที่ผ่าน มอก. ด้วยเช่นกัน
5. เต้ารับแบบ Hybrid ที่รองรับปลั๊กแบบ Type O ,Type A ,Type B และ Type C แล้วก็ต้องมีม่านป้องกัน มาตรฐาน มอก.166-2549
6. เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องเสียบได้พอดี ไม่แน่นและไม่หลวมเกินไป
7. ถ้า 3 เต้ารับขึ้นไปต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเดิน แบบ RCBO หรือ Thermal

ดุูจากหน้าตาภายนอกของปลั๊กรางของแบรนด์ "อัศวิน" โดย Toshino ที่เรารู้จักกันดี ที่หน้าปลั๊กรางหน้าตาแบบนี้ได้รับการแต่งหน้าทาปากหลากหลายแบรนด์มาก

Toshino ที่เรารู้จักกับดี ที่มาตรฐานมี มอก. 2432-2555 อย่างชัดเจน

สมัยก่อน Toshino นี่ขึ้นชื่อเรื่องสวิทช์มาก แต่สมัยนี้ปัญหาแบบสมัยก่อนไม่มีแล้ว ที่เราดูผ่านๆ ไม่เห็นความผิดปกติอะไร ดูภายในที่มีการเดินวงจรที่ดูแข็งแรงดีมาก

เริ่มที่จะเห็นความผิดปกติของเต้ารับที่ 2 กันบ้าง ถ้าผมจำไม่ผิดเป็นตั้งแต่เดือนแรกแล้วที่ได้ปลั๊กรางอันนี้มาแล้ว ดูสภาพขาแทบไม่เคยใช้เลย

เต้ารับที่ 1 ที่เพิ่งมาเป็น ดูที่ตะกั่วยังมีหน้าสัมผัสสดใหม่ แสดงว่าเกิดอาการร่อนมาสดๆร้อนๆ
ก็เป็นการนำตัวอย่างของ ปลั๊กราง ปลั๊กพ่วง ที่มี มอก.2432-2555 ที่แท้ทรู แต่จากการใช้งานและความดวงไม่ค่อยดีนัก ก็ได้ปลั๊กรางคุณภาพที่หลุด QC มาได้ ทึ่ผมเคยหาข้อมูลได้แบรนด์มีการรับผิดชอบแม้เวลาผ่านไปหลายปี ไม่มีอะไรมาก แค่อยากให้ดูว่า ปลั๊กราง ปลั๊กพ่วง ที่มี มอก.2432-2555 ก็เกิดความผิดพลาดกันได้ แต่ยังไงเสียแล้วมาตรฐาน มอก. หรือ TIS 2342-2555 เกิดขึ้นมา เพื่อผู้ใช้งานที่ไม่ต้องไปเสี่ยงกับปลั๊กรางของไร้คุณภาพ และ ที่ทำเหมือนมี มอก.2342-2555 สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ